Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Balance
•
ติดตาม
16 ก.พ. 2022 เวลา 15:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อรุณรุ่งแห่ง EV Car
เมื่อรัฐเริ่มกระตุ้นให้ใช้รถพลังไฟฟ้า สำรวจความพร้อม/รายละเอียดการสนับสนุน
หลังจากรอคอยมาระยะหนึ่ง ในที่สุด ครม.ก็อนุมัติหลักการสนับสนุนการผลิตและการใช้รถไม่ว่าจะเป็นรถยนต์,มอเตอร์ไซด์และรถกระบะ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่เป็นตัวขับเคลื่อน เรียกรวมๆว่า BEV (Battery Electric Vehicle) ซึ่งสร้างความพออกพอใจกับอุตสาหกรรมทั้งระบบ จะเรียกว่าเป็น “อรุณรุ่ง ของอนาคต” ก็คงไม่ผิดนัก
1) แพคเกจสนับสนุนตลาดรถไฟฟ้า
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาในการส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า 3 กลุ่ม(รถยนต์,มอเตอร์ไซด์และรถกระบะ โดยในปี2565-2568 เป็นแนวทางส่งเสริมให้เกิดการใช้ที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอร์รี่ไฟฟ้า กล่าวคือ
1. เงินอุดหนุนรถยนต์และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาทต่อคัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาทต่อคัน
2. ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8% เป็น 2% และรถกระบะเป็น 0%
3. ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศและนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40% สำหรับรถยนต์จนถึงปี 2566
4. ยกเว้นอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ
อย่างไรก็ตาม รถกระบะ ต้องผลิตในประเทศเท่านั้น จึงได้สิทธินี้ รถยนต์และรถจักรยานยนต์นำเข้าได้ แต่ปีที่ 3 ต้องผลิตในประเทศ และค่ายรถที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องรับเงื่อนไข ดังนี้
1. ต้องผลิตชดเชยให้เท่ากับจำนวนที่นำเข้า CBU ช่วงปี 2565-2566 ในปี 2567 แต่สามารถขยายเวลาได้ถึงปี 2568 และจะต้องผลิตในอัตราส่วน 1:1.5เท่า(นำเข้า 1 คัน ผลิตในประเทศ 1.5คัน)
2. ค่ายรถยนต์ใช้สิทธิ์ผลิตรถ BEV รุ่นใดก็ได้เพื่อชดเชย ยกเว้นรถที่มีราคาขายปลีกคันละ 2-7 ล้านบาท ต้องผลิตรุ่นเดียวกับการนำเข้า
เมื่อดูแพ็กเกจที่สนับสนุนตามประเภทรถแล้ว มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า
- เงินอุดหนุนจะจ่ายให้ผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมแพคเกจนี้ต้องได้รับการส่งเสริมจาก BOI.
- รถยนต์ที่จะได้รับเงินอุดหนุน 1.5 แสนบาท ต้องใช้กับแบตเตอร์รี่เกิน 30kWh และเงินอุดหนุน 7 หมื่นบาท ใช้กับแบตเตอร์รี่ต่ำกว่า 30kWh
- หากผิดเงื่อนไขต้องถูกริบเงินคืนพร้อมค่าปรับ
2) รับกระแสอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า
จากกรณีที่รัฐบาลส่งเสริมการใช้รถ ซึ่งกระบวนการผลิตและประกอบจะเปลี่ยนแปลงไปจากรถที่ใช้พลังสันดาปจากน้ำมัน/แก๊ส ชิ้นส่วนสำคัญคือ แบตเตอร์รี่ที่เก็บและให้พลังงานไฟฟ้าและมอเตอร์ขับเคลื่อน ทำให้กลุ่มธุรกิจแรกที่ขยับอย่างเห็นได้ชัด คือ โรงงงานแบตเตอรี่ เนื่องจากมีผู้ประกอบการไม่กี่ราย คู่แข่งมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับซัพพรายเชนอุปกรณ์ยานยนต์ไฟฟ้าที่มีหลายเจ้า และไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีขั้นต้น (Tier1)
ปัจจุบันหุ้นแถวหน้าที่เข้าสู่การเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่อย่างชัดเจนในไทยมีเพียง 3 ราย เริ่มจาก บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ภายใต้กำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัดกำลังการผลิตเฟสแรก 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี (GWh)พร้อมตั้งเป้าหมายระยะยาวจะมีกำลังการผลิตสูงถึง 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี เน้นป้อนเข้าสู่กลุ่มรถเชิงพาณิชย์ที่จดทะเบียนอยู่ราว 1.3 ล้านคัน ซึ่งธุรกิจที่เข้ามารองรับต่อจาก EA ผลิตแบตเตอรี่แล้ว บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX
ยักษ์ใหญ่ต่อมาบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC (บริษัทลูกในกลุ่มปตท.)สตาร์ทโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน ด้วยเทคโนโลยี Semi-solid ด้วยการร่วมลงทุนตั้งแต่ก.พ. 2563 งบลงทุนโครงการดังกล่าวมีประมาณ 1,100 ล้านบาท
ปัจจุบัน GPSC มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในไทย 30 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) ซึ่งเริ่มเดินเครื่องผลิตจากการร่วมลงทุนพันธมิตรที่ประเทศจีนกำลังการผลิตแบตเตอรี่ 1GWh ซึ่งGPSC ถือหุ้น 11.1% คาดเริ่มเดินเครื่องผลิตในปี 2566
สอดคล้องกับบริษัทแม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT พลังงานเบอร์ 1 ของไทย เร่งเสริมธุรกิจดังกล่าวลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ Foxconn ด้วยการจัดตั้ง บริษัทร่วมทุน 3,220 ล้านบาทเพื่อดำเนินธุรกิจผลิต ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทย ทั้งแบตเตอรี่และPlatform Drivetrain หรือ Motor ในช่วง 5-6 ปีมีเป้าหมายการผลิตในระยะแรก 50,000 คัน/ปี และขยายเป็น 150,000 คัน/ปี ในอนาคต
อีกรายที่ว่าทุ่มเงินครั้งใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG (บริษัทในกลุ่มบางจาก) ลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นกู้แปลงสภาพบริษัท วีอาร์บี เอนเนอร์ยี่ (VRB Energy) ประเทศจีน วงเงิน 24 ล้านดอลลาร์ หรือ 772 ล้านบาท ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในการผลิตนวัตกรรมด้านแบตเตอรี่วานาเดียมระดับโลก
โดยเงินลงทุนจะใช้ในโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตและประกอบแบตเตอรี่กำลังการผลิต 1,000 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะนี้ VRB อยู่ระหว่างดำเนินการผลิตแบตเตอรี่เฟสแรกขนาด 40 เมกะวัตต์/200 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) และสร้างโรงงานผลิตและประกอบแบตเตอรี่ขนาด 50 เมกะวัตต์ต่อปี
BCPG มีแผนในไทยนำแบตเตอรี่มาใช้บริหารจัดการการจำกัดการรับซื้อไฟ (Curtailment) ของโรงไฟฟ้า รวมทั้งได้ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างโรงงานแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ในประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีบริษัทชั้นนำไม่ต่ำกว่า 30 บริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่รัฐมีเป้าหมายให้ถึง 15 ล้านคันในปี 2578 ทั้งธุรกิจโดยตรงและเกี่ยวเนื่อง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงรัฐวิสาหกิจผู้ผลิตและให้บริการไฟฟ้าของรัฐทั้งสามแห่ง ก็ลงมาร่วมใน”อรุณรุ่งแห่งอนาคตในครั้งนี้” จึงเชื่อได้แน่ว่าภายใน1-2 ปีจากนี้ จะได้เห็นสถานีชาร์จแบตเตอร์รี่ ตามปั๊มน้ำมันเดิมไปจนถึงพื้นที่หน้าร้านสะดวกซื้อ ที่หลายแห่งเคลียร์ที่ว่างกันแล้ว
3) ค่ายรถเปิดศึกชิงตลาด
จากนโยบายใหม่ที่ออกมานี้ เมื่อสำรวจค่ายรถต่าง ๆ โดยเฉพาะค่ายรถญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเจ้าตลาดรถยนต์ในไทยปรากฏว่ารถยนต์ไฟฟ้าค่ายญี่ปุ่น-เกาหลีเหลือ 0% เนื่องจากปัจจุบัน ค่ายรถญี่ปุ่น เสียภาษีนำเข้าอัตรา 20% จะเหลือ 0% ค่ายรถเกาหลี ปัจจุบันเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 40% ก็จะได้รับการลดภาษี เหลือ 0% ขณะที่ค่ายรถยุโรป ปัจจุบันเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 80% ก็จะได้รับการลดภาษีเหลือ 60%
ขณะที่ค่ายน้องใหม่ อย่างเกรทวอลล์จากจีน ที่ได้ลองชิมลางนำเข้ารถมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ก็ได้รับความนิยมไม่น้อย เนื่องจากรูปลักษณ์ที่ถูกตาต้องใจผู้ใช้รถหนุ่มสาวอยู่ไม่ใช่น้อย ก็ประเมินประเมินว่า ตลาดรถยนต์ปี 2565 จะมีปริมาณ 820,000-850,000 คัน โตประมาณ 8-12%
แบ่งเป็นรถยนต์ xEV 94,000 คัน และในจำนวนนี้จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% จำนวน 18,800 คัน มีส่วนแบ่ง 20% ในตลาดรถ xEV เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ผ่านมาที่มียอดขายรถยนต์โดยรวมอยู่ที่ 760,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์ xEV จำนวน 43,317 คัน และในจำนวนนี้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% จำนวน 1,935 คัน มีส่วนแบ่ง 4.5% ในตลาดรถ xEV
และต้องไม่ลืมรถจากเกาหลีที่ผลุบๆโผล่ๆในบ้านเราพักใหญ่ ๆ ก็คงจะโดดร่วมตลาดรถยนต์พลังแบตเตอรี่อย่างแน่นอน งานมอเตอร์โชว์ปีนี้ คงได้เห็นรถรุ่นใหม่ ๆ พร้อมราคากันสนุกแน่
#TheBalance #รถยนต์พลังไฟฟ้า #แพคเกจสนับสนุนการผลิตการใช้รถไฟฟ้า #แบตอร์รี่
ev
รถไฟฟ้า
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย