17 ก.พ. 2022 เวลา 01:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Web 3 และ Metaverse: ความเหมือนที่แตกต่าง
ในระยะหลัง คำว่า "Metaverse" และ "Web 3.0" ถูกใช้แทนกันอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าทั้งสองอย่างนี้จะชี้ให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และการใช้งานของอินเทอร์เน็ตในอนาคตที่เพิ่มประสบการณ์ที่ดีกว่าให้กับผู้ใช้งาน Metaverse
4
ซึ่งได้ชื่อมาจากนวนิยายไซไฟเรื่อง “Snow Crash” ในปี 1992 เป็นแค่วิสัยทัศน์มากกว่าความเป็นจริงที่เป็นรูปธรรม หลายคนจินตนาการว่ามันคือโลกเสมือนจริง 3 มิติ ซึ่งเป็นสถานที่ทางดิจิทัลที่เราจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงาน เรียนรู้ เล่น และให้ความบันเทิง
3
Metaverse ยังดูคลุมเครือและคนส่วนใหญ่ถือไว้เพียงเพื่อการเก็งกำไรหรือตามกระแส เนื่องจากการพัฒนายังไม่เป็นรูปเป็นร่างจริงๆ ในขณะที่นักเทคโนโลยีบางคนต้องการเน้นย้ำวิสัยทัศน์ตามแนวทางการนำเสนอประเด็นสำคัญ แต่ความจริงก็คือ metaverse จะต้องมีการป้อนข้อมูลและการมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนเพื่อให้เกิดรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานอย่างแท้จริง
2
ในทางกลับกันสำหรับ Web 3 นั้นเป็นกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งได้ถูกพัฒนาให้ออกมาแก้ปัญหาและข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นสำหรับการใช้อินเทอร์เน็ต Web 2 ซึ่งแพลตฟอร์มอย่าง Facebook และ YouTube ถูกสร้างขึ้น ซึ่งเป็นที่ๆ คนจำนวนมากถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ละเมิดความเป็นส่วนตัว
2
แต่ Web 3 นั้นมีความสามารถในการควบคุมเนื้อหา และจัดการปัญหาความเป็นเจ้าของและการควบคุมข้อมูลได้โดยตรง ด้วยการสร้างบนบล็อคเชน ข้อมูลจะถูกเปิดกว้างทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ ด้วยเครือข่าย Peer-to-Peer ด้วยเหตุนี้ ผู้ใช้จึงเป็นเจ้าของข้อมูล การทำธุรกรรมแบบ Peer-to-Peer สามารถเลี่ยงพ่อค้าคนกลางและข้อมูลที่อยู่บน Blockchain เป็นสินค้าสาธารณะที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและสร้างรายได้
2
เราเริ่มได้เห็นพฤติกรรมผู้บริโภคใหม่ๆ ที่น่าเหลือเชื่อจากการพัฒนาของ Web 3 เช่น ครีเอเตอร์ที่สามารถขายเนื้อหาของตนผ่าน non-fungible tokens (NFT) เกมที่เล่นเพื่อสร้างรายได้ที่ช่วยให้ผู้เล่นได้รายได้เสริมจากการเล่นเกม และกลุ่มการลงทุนที่จัดโดยชุมชนต่างๆ เช่น Constitution DAO ซึ่งได้ระดมเงินทุนมากพอที่จะเสนอซื้อรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในการประมูลของ Sotheby
3
แม้ว่า Web 3 ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมืออันทรงพลังในการเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราสามารถจัดการข้อมูล กำกับดูแล และแลกเปลี่ยนเงินนั้น แต่ความล่าช้าในการล้างธุรกรรมของบล็อกเชนนั้น จำกัดการตั้งค่าและการใช้งานอื่นๆ แม้ว่าโมเดลอินเทอร์เน็ตที่มีการกระจายอำนาจ หรือ Decentralized model จะฟังดูน่าดึงดูด แต่ก็ไม่สามารถทำได้
1
ดังนั้นแม้ว่า Web 3 ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับ metaverse แต่ก็เป็นเพียงองค์ประกอบเดียวของทั้งหมดมากกว่า จากการยอมรับว่า Web 3 และการกระจายอำนาจเป็นเพียงองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับ metaverse ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมประเภทต่างๆ ด้วยได้ง่ายขึ้น
1
เมื่อ Meta (เดิมคือ Facebook) ออกมาประกาศถึงวิสัยทัศน์และมุมมองของ metaverse ในแบบของเขาที่เน้น AR/VR เป็นหลัก Meta มองว่า Big Tech จะมาครอบงำ metaverse และจะบังคับให้แพลตฟอร์มทำงานในระบบนิเวศน์แบบปิดเหมือนเดิม สิ่งที่หลายคนพลาดไป คือ นวัตกรรมและโฟกัส เนื่องจาก Meta เน้นผลักดันในเรื่องของฮาร์ดแวร์และการใช้งานของผู้ใช้ 3D และการเชื่อมต่อการโอนย้ายข้อมูล (input interface) ซึ่งค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่ยังไม่ได้มีการใช้งานอย่างจริงจัง
2
ในปัจจุบัน Facebook เองได้ทราบถึงปัญหาและกำลังพยายามแก้ปัญหากิจวัตรประจำวันของการนั่งแช่อยู่ที่เดิมเวลาทำงาน และการประชุมผ่าน Zoom ตลอดระยะเวลาสองปีที่ผ่านมาหลังจาก Covid 19 ระบาด ซึ่งทำให้ทุกคนรู้สึกเบื่อ รวมถึงการหาทางออก เพื่อให้ผู้ใช้งาน metaverse ไม่จำเป็นที่จะต้องสวมชุดหูฟัง VR ตลอดทั้งวัน
2
การที่จะใช้ชีวิตในโลกเสมือนจริงให้สนุกสนาน บริษัทต้องพัฒนาอินเทอร์เฟซเสมือนที่ดื่มด่ำกับธรรมชาติ และการแสดงออกทางอารมณ์มากขึ้น หลายคนมองว่าการพัฒนาของ Meta ใน AR/VR และเทคโนโลยีการตรวจจับการเคลื่อนไหว คือ ตัวทำลายการทำงานของ Web 3 และการกระจายอำนาจ แต่ในความเป็นจริง บริษัทได้เริ่มสร้างแอปพลิเคชันจาก Web 3 ภายในรูปแบบ 3 มิติที่เกิดขึ้นใหม่ตามเทคโนโลยีของ AR/VR และการฉายภาพโฮโลแกรม
2
แต่ที่แน่ๆ การพัฒนาของ Web 3 จะทำให้ Web 2 นั้นล้าสมัย แม้ว่า Web 2 อาจจะมีข้อบกพร่องบางอย่าง แต่ก็ยังมีบริษัทจำนวนมากที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องใช้บล็อคเชน แพลตฟอร์ม เช่น Discord หรือ Twitch ช่วยให้ผู้คนจำนวนมากสื่อสารร่วมกันได้ในแบบเรียลไทม์ บริษัทอย่าง Uber หรือ DoorDash จัดคิวความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2
OpenSea ซึ่งในปัจจุบันเป็นตลาด NFT ที่ใหญ่ที่สุด เป็นตลาดแบบรวมศูนย์ที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน Coinbase เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ที่เปิดใช้งานธุรกรรมของ Cryptocurrencies ในทั้งสองกรณี ตัวกลางเหล่านี้จะเรียกเก็บค่าบริการในการทำธุรกรรม เช่นเดียวกับตลาด Web 2 อื่นๆ
 
แม้ว่าบริษัทหลายๆ บริษัทยังคงที่จะทำงานอยู่ในระบบเดิมของตัวเอง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการเชื่อมโยงที่สำคัญที่ช่วยให้การนำองค์ประกอบของ Web 3 ไปใช้มากขึ้น โดยดึงดูดผู้ใช้งานตามกระแส คล้ายๆ กับ SnapChat Stories ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่น แต่ประสบปัญหาในการปรับการใช้งานให้เข้ากับผู้ใช้ที่มีอายุมากกว่า ทางบริษัทจึงนำเรื่องราวของ Meta มาใช้ จึงช่วยให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงประชากรทุกกลุ่ม
5
เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น หลายคนมักจะมองว่ามัน คือ การปฏิวัติระบบการทำงานเดิมๆ แต่สิ่งที่เราเห็นมาตลอดก็คือ นักพัฒนาส่วนใหญ่เลือกที่จะพัฒนาและปรับปรุงระบบจากฐานรากในยุคก่อน อย่างอีเมลที่ยังคงเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ก็เป็นโปรโตคอลที่ถูกคิดค้นขึ้นในยุค Web 1 ของอินเทอร์เน็ต
เราจึงต้องมุ่งเน้นไปที่การทำงานร่วมกันระหว่างรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกัน และวิธีที่พวกเขาสามารถทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับผู้ใช้งาน แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่ความแตกต่างและการเลิกใช้งานระบบเก่าๆ ในขณะที่การพัฒนาล่าสุดของ Web 3 ตามการใช้งานบนกระแสหลักของบล็อคเชนถือเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในความก้าวหน้าของยุคปัจจุบันในการสร้างหน้า Web อินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้น
2
#Metavers #Meta #Facebook #Blockchain #Snapchat #Youtube #Doordash #UBER #AR #VR #Web1 #Web2 #Web3 #Development
ผู้เขียน : กุลเชษฐ์ เสงี่ยมพงษ์ Tech & Innovation Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
โฆษณา