Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
18 ก.พ. 2022 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินเฟ้อแรง! สหรัฐฯ ยังเตรียมขึ้นดอกเบี้ยฯ “เบรก”
แล้วไทยล่ะ จะขึ้นดอกเบี้ย
เบรกเงินเฟ้อเหมือนกันไหม?
ทุกวันนี้ไม่ว่าจะซื้อหรือบริโภคสินค้าอะไร ราคาก็สูงขึ้นจนไม่กล้าจะหยิบจับกันเลยใช่ไหมครับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูง แต่ปัญหาเงินเฟ้อสูง ณ ขณะนี้ ไมได้เป็นเกิดขึ้นแค่ในบ้านเรานะครับ แม้แต่สหรัฐฯ ประเทศผู้นำโลกเอง ก็ยังเจอปัญหานี้เช่นกัน ซึ่งถ้าเพื่อนๆ ตามข่าวสารด้านเศรษฐกิจ ก็น่าจะได้ยินข่าวที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณเตรียมขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อเบรกอัตราเงินเฟ้อกันมาตลอดตั้งแต่ช่วงสิ้นปีก่อน
แล้วประเทศไทยเราล่ะ?
จะจัดการอย่างไรกับเรื่องปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูง?
จะเตรียมขึ้นดอกเบี้ยฯ เหมือนสหรัฐฯ ไหม?
คำตอบอยู่ในบทความนี้แล้วครับ
เมื่อวันที่ 9 ก.พ. ที่ผ่านมา ทีมงาน aomMONEY ของเรามีโอกาสร่วมงานแถลงข่าวของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเขาก็สรุปออกมาว่า ประเทศไทยจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปีเหมือนเดิม หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่มีการปรับดอกเบี้ยฯ ขึ้นนั่นเองครับ
หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ ก็อาจจะร้อง อ้าว! ทำไมล่ะ? เพราะอะไร?
aomMONEY ขอสรุปเป็นข้อๆ ให้อ่านกันง่ายๆ ตามนี้ครับ
✅ 1. ประเทศไทยเรา…ใครมีหน้าที่ดูแลเงินเฟ้อ? แล้วทำไมเราถึงไม่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย?
เรื่อง ‘อัตราเงินเฟ้อ’ ในประเทศไทย จะอยู่ภายใต้การดูแลของ 2 หน่วยงานครับ ได้แก่
-กระทรวงพาณิชย์ ที่จะดูแลควบคุมราคาสินค้า ซึ่งส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในภาพรวม
-ธปท.ที่ดูแลเงินเฟ้อผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เช่น หากที่เงินเฟ้อพุ่งขึ้นกว่ากรอบที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ เขาก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดความร้อนแรงเงินเฟ้อลง แต่สาเหตุที่ประเทศเราไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยฯ เหมือนประเทศสหรัฐฯ
เหตุผลก็เป็นเพราะว่า…
“ประเทศไทยใช้นโยบายการเงินที่ยืดหยุ่น หรือ Flexible Inflation Targeting ทำให้ กนง.ไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อเบรกเงินเฟ้อ ซึ่งอาจฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั่นเอง” (มุมมองของ กนง.)
✅ 2.แล้วการขึ้นหรือไม่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย มันส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างไร?
อธิบายง่ายๆ เลยครับ การขึ้นดอกเบี้ยฯ จะทำให้ดอกเบี้ยเงินฝาก/กู้เพิ่มขึ้น ดังนั้นตามทฤษฎีดอกเบี้ยสูงฯ คนจะหันมาเก็บเงินมากกว่านำไปลงทุน เงินที่หมุนในเศรษฐกิจก็จะลดลง เลยจะช่วยชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อได้
แต่อัตราเงินเฟ้อยังเกิดจากการคำนวณราคาสินค้า พลังงาน และอีกหลายๆ อย่าง ดังนั้นการขึ้น -ลด-คงอัตราดอกเบี้ยฯ จะมีผลต่อโดยตรงต่อตลาดการเงินมากกว่า แต่จะส่งผ่านไปที่เงินเฟ้อเช่นกัน
✅ 3. ปัจจัยที่ทำให้ กนง.ตัดสินใจไม่ขึ้นดอกเบี้ยฯ คือ?
เรื่องเงินเฟ้อสูงนี้จึงไม่ใช่แค่ปัญหาที่เราทุกคนคิดกันไปเอง เพราะทาง กนง.ยังคาดว่าช่วงแรกของปี 2565 อัตราเงินเฟ้อไทยมีโอกาสทะลุ 3.0% ซึ่งถ้าคิดกันตามหลักทฤษฎีเขาก็ควรจะขึ้นดอกเบี้ยฯ ถูกไหมครับ แต่ผลการประชุม กนง.ก็อย่างที่ผมอัปเดตไป คือประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปี ไม่ได้ขยับดอกเบี้ยฯ ขึ้น (9 ก.พ. 65)
โดยสาเหตุที่ กนง.เลือกจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็มาจาก 2 เรื่องหลัก คือ
1) กนง.ต้องชั่งน้ำหนักว่า หากขึ้นดอกเบี้ยฯ ตอนที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ก็อาจจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
2) เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นช่วงนี้เป็นเพียงระยะสั้น แค่ชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งเกิดจากราคาพลังงาน อย่างราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น และอาหารสดบางอย่างที่เพิ่มขึ้น (เช่น หมูแพง)
ที่สำคัญคือ กนง.มองว่าสถานการณ์เงินเฟ้อในกลุ่มราคาน้ำมัน อาหารสดจะลดลง และไม่เห็นสัญญาณที่ราคาสินค้าและบริการจะขยายเป็นวงกว้าง จึงคาดการณ์ว่าทั้งปี 2565 นี้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของไทยจะไม่เกิน 3% ซึ่งอยู่ในกรอบที่ กนง.วางไว้
แต่ไทยยังมีเรื่องที่ต้องกังวลในหลายด้าน โดยเฉพาะค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่กลุ่มอาชีพอิสระ รวมถึงลูกจ้างภาคบริการกว่า 17.3 ล้านคน ที่รายได้ยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงก่อนโควิด อาจเจอผลกระทบหนักกว่ากลุ่มอื่น
✅ 4.ดังนั้นสรุปแล้ว หลังจากนี้ กนง.จะยังให้น้ำหนัก และติดตามใน 3 เรื่องหลักที่จะกำหนดทิศทางดอกเบี้ยฯ ได้แก่
1) เศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัวจากโควิดต้องไม่สะดุด
2) เงินเฟ้อจะไม่ขยายวงกว้าง และไม่ฝังลึกลงในระบบ
3) ติดตามความเปราะบางภาคธุรกิจและครัวเรือน ในเรื่องหนี้ที่ยังเพิ่มขึ้น
สุดท้ายแล้ว เพื่อนๆ น่าจะเห็นได้ว่า เรื่องดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราเงินเฟ้อ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวพวกเราเลยใช่ไหมครับ ถึงแม้ฟังดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่ aomMONEY ก็แนะนำว่าเพื่อนๆ ควรศึกษาไว้เพื่อเป็นความรู้ครับ เพราะมันกระทบกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเรา รวมถึงการลงทุนของเราด้วย
ครั้งนี้ ผมก็หวังว่าบทความของเราจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกคนที่เป็นแฟนเพจ aomMONEY นะคร้าบบบบ ส่วนครั้งหน้าผมจะหยิบเรื่องอะไรมาฝากนั้น อย่าลืมติดตามกันนะครับ
1
หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกท่าน
#aomMONEY #วางแผนการเงิน #ออมเงิน #ลงทุน
#เศรษฐกิจ #รัฐบาล #ดอกเบี้ย #ดอกเบี้ยนโยบาย #เงินเฟ้อ
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
aomMONEY กำลังเปิดรับเพื่อนร่วมทีมเพิ่ม!
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
.
🔥 Senior Content Manager
(บก. เพจ aomMONEY)
ดูรายละเอียดและสมัครเลย!
https://bit.ly/3oHJyXt
.
🔥 Junior Content Manager
(รองบก. เพจ aomMONEY)
ดูรายละเอียดและสมัครเลย!
https://bit.ly/3uTUTHX
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
aomMONEY ก้าวแรกสู่ความสำเร็จทาง "การเงิน"
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
.
👍 ชอบกด Like โดนใจ กด Share
และอย่าลืม ✅ See First
เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ ๆ ก่อนใคร
.
ติดตามความรู้ทางการเงินในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌
aomMONEY.com
📌
https://www.youtube.com/AommoneyTH
📌
https://www.blockdit.com/aommoney
📌 กลุ่มกองทุนไหนดี
https://bit.ly/3aOjgMl
.
สนใจโฆษณาติดต่อ :
👉 Tel: 092-264-5499 (คุณแน้ม บ.ก.aomMONEY)
👉 Email:
rathapat@likemeasia.com
การเงิน
เศรษฐกิจ
การลงทุน
7 บันทึก
6
4
7
6
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย