17 ก.พ. 2022 เวลา 12:52 • สุขภาพ
👨‍🔬ยาเบาหวานกับผู้ป่วยไตเสื่อม
เป้าหมายในการดูแลเบาหวาน คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยให้มีระดับน้ำตาลสะสม หรือ HbA1C ไม่เกิน 7% เพื่อป้องกัน และชะลอ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการดำเนินของโรค ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 3 - 5 (อัตราการกรองของไต 30 - 59 มล./นาที) จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากยามากกว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยเบาหวานต้องกินยาไปตลอดชีวิต และยาส่วนใหญ่จะขับออกทางไต
แนวทางปฏิบัติการใช้ยาเบาหวานในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 - 5 ของสมาคมโรคไตแห่งสหประชาชาติ หรือ NKF-K/DOQI เป็นดังนี้
▶️ยากินกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) รุ่นแรก คือ คลอโปรพาไมด์ (chlorpropamide) ระวังการใช้ในผู้ที่มีอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 50 มล./นาที
⏩ยากินกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) รุ่นสอง คือ ไกลเบนคลาไมด์ (glibencamide) หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 – 5
⏩ยากินกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) รุ่นสอง คือ ไกลปีไซด์ (glipizide) และไกลคลาไซด์ (gliclazide) สามารถใช้ได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
⏭️ยากินเม็ทฟอร์มิน (Metformin) ควรระวังในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 80 ปี หรือมีโรคหัวใจเรื้อรัง เนื่องจากทำให้เกิดภาวะแลคติก แอซิโดซิส (lactic acidosis) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่รุนแรง อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หรือปวดท้อง บางทีทำให้มีอาการเซื่องซึม หายใจหอบ หรือความดันโลหิตต่ำได้
⏯️ยากินกลุ่มไทอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) เช่น พิโอกลิทาโซน (Pioglitazone) สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
⏯️ยากินกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ alpha-glucosidase ทำให้การดูดซึมกลูโคสจากทางเดินอาหารเกิดขึ้นช้าลงได้แก่ ยา Acarbose ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากับผู้ป่วยที่มีอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 30 มล./นาที
⏯️ยากินกลุ่ม DPP-4 inhibitor คือ ยาที่ยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ในการสลายฮอร์โมนที่หลั่งจากลำไส้ เช่น sitagliptin, Saxagliptin, Vildagliptin ยานี้ขับออกทางไตเป็นหลัก จึงต้องลดขนาดยาลงในผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่องที่มีอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 50 มล./นาที
⏯️ยาฉีดกลุ่ม Incretin mimetic เช่นยาฉีดลิลากลูไทด์(Liraglutide) ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยที่มีอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 60 มล./นาที
⏯️ยาฉีดกลุ่มอินซูลินสามารถใช้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ โดยเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงระดับน้าตาลในเลือด เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ
ผู้ที่มีภาวะไตวายแล้วจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย จนหมดสติได้ การปรับเปลี่ยนอาหาร และยาต่างๆ ต้องทำให้เหมาะสมกับสภาวะของร่างกายในแต่ละระยะของโรค ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
Posted ก่อนหน้า
ยาเบาหวาน
POSTED 2022.02.17
บทความ​อื่น
โฆษณา