17 ก.พ. 2022 เวลา 14:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สวัสดีค่ะท่านผู้ฟังช่อง #jimmytampaidoo ทุกท่าน ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องราวดีๆที่จะนำมาเล่านั้น
จิมขอถามก่อนว่า ท่านผู้ฟังในที่นี้มี
ใครกอดหุ้น"OR"ตั้งแต่ 18บ.จนถึงวันนี้ พิมพ์เลข 1
ใครขายตั้งแต่วันแรก พิมพ์เลข 2
ใครงอน เพราะจองหุ้นไม่ได้ เลยโนสนโนแคร์ พิมพ์เลข 3
ใครเข้าๆออกๆเล่นรอบ กำไรตุงๆ พิมพ์เลข 4
ใครดอยสูง พิมพ์เลข 5
ใครเป็นแบบไหน พิมพ์ใต้คลิปนี้ได้เลยนะคะ
และแน่นอนว่า ถามกันมาขนาดนี้ เรื่องราวคงหนีไม่พ้นหุ้นตัวนี้แหละ
และใช่ค่ะ วันนี้จิมจะมาเล่าเรื่อง "บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR"
(OR ขายไอพีโอ 18 บาท เข้ามาเทรดวันที่ 11 ก.พ.2564)
OR" ผ่านมา 1 ปีมีอะไรบ้าง และจากนี้ธุรกิจแบบดั้งเดิมจะก้าวไปสู่ยุคโลกใหม่ได้ยังไง ?
ก่อนที่จะไปฟังมุมมองการลงทุนหุ้น "OR" ในแบบของ “พี่นิ้วโป้ง - อธิป กีรติพิชญ์”นักลงทุน Fundamental VI และ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า(Value Investor)ในแบบจัดเต็มนั้น
จิมขอสรุปผลการดำเนินงานในปี 2564 ของ "บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR" ซึ่งได้แจ้งงบฯต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2565 ที่ผ่านมา
(ซึ่งจิมนำภาพผลประกอบการของ OR มาประกอบการเล่าครั้งนี้ด้วยนะคะ)
เอาล่ะ "OR" มีกำไรสุทธิปี 2564 ทำได้ 11,474.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,683 ล้านบาท คิดเป็น 30.5% เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิ 8,791.07 ล้านบาท กำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากรายได้ขาย เพิ่มขึ้น 82,995 ล้านบาท หรือ 19.4% และ EBITDA แตะ 2,716 ล้านบาท หรือ 15.4% จากกลุ่มธุรกิจ Mobility ดีขึ้น กำไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรที่เพิ่มขึ้นแม้ปริมาณขายน้ำมัน ลดลง 5.1% กลุ่มธุรกิจ Lifestyle ลดลงเล็กน้อยเพราะมีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศในบางช่วงทำให้กำลังซื้อลดลง และ OR ช่วยผู้ค้า Franchisee ร้าน Cafe Amazonทุกสาขา รวมทั้งเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นการขาย
ที่สำคัญ "OR" จ่ายปันผลปี 2564 ในอัตรา 0.46 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงิน 5,520 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 46.7% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินรวม โดย "OR"ได้จ่ายในช่วงครึ่งปีแรกไปแล้ว 0.27 บาท คงเหลือจ่ายปันผลเป็นเงินสดในงวดครึ่งปีหลัง อีก 0.19 บาท พร้อมขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 28 ก.พ.65 และจ่ายเงินปันผล วันที่ 28 เม.ย.65
ถามว่า.."OR"อีก 5ปี(2565-2569) จะเป็นอย่างไร ?
OR มีแผนการลงทุน 5 ปี (ปี 2565 –2569) จำนวน 93,462 ล้านบาท
โดย แผนการดำเนินงานในปี 2565 เน้น 4 กลุ่มธุรกิจหลักๆ เล่าแบบสรุปก็คือ
1. กลุ่มธุรกิจ Mobility
• รักษาความเป็นผู้นำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน (Oil Ecosystem)
• ขยายจาก Oil Ecosystem ไปยังธุรกิจพลังงานแบบผสมผสาน (Energy Solution Ecosystem)
ขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Station PluZ เน้นเส้นทางหลักและแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงติดตั้ง Solar Rooftop ทั้งภายในและภายนอกปั้ม จำหน่ายอุปกรณ์และบริการติดตั้ง การบำรุงรักษาสำหรับ
ตัวแทนจำหน่ายสถานีบริการ PTT Station และการจำหน่ายไฟฟ้าที่ OR ติดตั้ง Solar Rooftop ให้กลุ่มลูกค้านอกปั้ม เช่น กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม เป็นต้น
• ร่วมมือพันธมิตรมีสินค้าและบริการหลากหลาย
2. กลุ่มธุรกิจ Lifestyle
• รักษาสถานะความเป็นผู้นำร้านกาแฟ Cafe Amazon
• เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ Cafe Amazon
• ร่วมมือพันธมิตรเพื่อสร้างการเติบโตร่วมกัน
• ขยายขนาดการลงทุนธุรกิจต้นน้ำ (Upstream ) โดยแสวงหาโอกาสร่วมทุน หรือซื้อกิจการ (M&A) เพื่อสร้างความ
ยั่งยืนตลอด Supply chain
• Diversify Portfolio โดยร่วมทุน หรือซื้อกิจการ ทั้งในธุรกิจค้าปลีกอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจค้าปลีกอื่นๆเช่น
ธุรกิจที่เกี่ยวกับท่องเที่ยว และสุขภาพ
3. กลุ่มธุรกิจ Global
• ขยายฐานธุรกิจสู่ตลาดโลกจากแบรนด์สถานีบริการน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่นๆ(Non-oil) ให้สอดคล้องตลาดแต่ละประเทศ (Localization)
• ซื้อกิจการ หรือร่วมทุนนต่างประเทศ ทั้ง ธุรกิจใหม่ในพื้นที่เดิมและธุรกิจในพื้นที่ใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ
4. กลุ่มธุรกิจ Innovation & New S curve
• พัฒนารูปแบบชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ
• ลงทุนหลายธุรกิจ อาทิ ลงทุนผ่านกองทุน ORZON VENTURESเพื่อลงทุน Startupในระยะเริ่มต้นกิจการ (Early-stage)
การเติบโตของ “OR” ปีนี้ สรุปก็คือรั้งเบอร์ 1 เรื่องของปั้มน้ำมัน และร้านกาแฟอะเมซอน ซึ่งนี่ก็คือธุรกิจเดิมๆ เพิ่มเติมคือมีที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แต่ที่น่าสนใจคือ การที่ “OR” มีแผนซื้อกิจการและร่วมทุนกับพันธมิตร ก็ได้แต่หวังว่ามันจะยิ่งใหญ่พอให้ราคาได้ทยานขึ้นบ้าง ได้แต่หวังและเฝ้าดูกันต่อไปนะคะว่าปีนี้จะมีดีลใหญ่ๆให้ได้เฮกันหรือไม่
แต่ตอนนี้ ถึงเวลาที่เราจะไปฟังมุมมองการลงทุนหุ้น "OR" ในแบบฉบับของ “พี่นิ้วโป้ง - อธิป กีรติพิชญ์”นักลงทุน Fundamental VI และ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า(Value Investor)แบบจัดเต็มกันดีกว่า
เริ่มกันที่วีไอในตำนาน "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า(Value Investor) และตามด้วย “พี่นิ้วโป้ง - อธิป กีรติพิชญ์”นักลงทุน Fundamental VI เรื่องราวจะเป็นแบบไหนนั้นไปฟังกันได้เลยจ้าาา
โฆษณา