18 ก.พ. 2022 เวลา 08:03 • สุขภาพ
นอนกรนไม่ใช่แค่ทำให้คนข้าง ๆ รำคาญหรือนอนไม่หลับเท่านั้นนะคะ แต่อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea : OSA)
เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อบริเวณคอเกิดการคลายตัวมากเกินไปจนขวางทางเดินหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรือถูกปิดกั้นขณะนอนหลับ ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจไม่สะดวก หายใจไม่ออก หรืออาจมีอาการอื่น ๆ ด้วย เช่น
😴 ง่วงระหว่างวัน
😴 ปวดหัวตอนตื่นนอน
😴 เจ็บคอ
😴 ไม่มีสมาธิ
😴 หงุดหงิดง่าย อารมแปรปรวน
😴 หายใจไม่ออกหรือสำลักจนตื่นกลางดึก
ผู้ที่เสี่ยงกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย แต่ปัจจัยบางอย่างอาจเป็นสาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ เช่น
🚫 มีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน
🚫 ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
🚫 เพศชายมีโอกาสเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า
🚫 ผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน จะมีความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากขึ้น
🚫 มีภาวะทางเดินหายใจแคบ
🚫 มีประวัติคนในครอบครัวเคยมีภาวะนี้
🚫 โรคหรืออาการป่วยบางชนิด เช่น ภาวะคัดจมูก โรคหอบหืด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
🚫 พฤติกรรมบางอย่าง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานยาคลายเครียด ยาระงับประสาท ยานอนหลับ เป็นต้น
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับรักษาได้ไหม ?
การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นเบื้องต้นควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง โดยการตรวจตามมาตรฐานนั้นผู้ป่วยต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล 1 คืนเพื่อให้แพทย์และเจ้าหน้าที่วัดค่าต่าง ๆ ระหว่างนอนหลับเพื่อนำมาใช้วินิจฉัย ส่วนการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
✅ รักษาด้วยการใช้ยา
✅ รักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure)
✅ รักษาด้วยเครื่องมือในช่องปากแบบกึ่งสำเร็จรูปชนิดปรับได้ (Mandibular Advancement Device : MAD)
✅ รักษาด้วยการผ่าตัด
นอกจากนี้ เราสามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนตะแคง ลดการดื่มแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น
โฆษณา