18 ก.พ. 2022 เวลา 10:00 • ธุรกิจ
ทำไม แบรนด์เบียร์คราฟต์ในไทย ถึงเกิดใหม่มากมายเป็นดอกเห็ด
สงสัยไหม ทำไมคนไทยถึงคุ้นเคยกับเบียร์ไม่กี่แบรนด์ ?
1
นั่นก็เพราะข้อกฎหมาย ที่ไม่เอื้อต่อรายย่อยสักเท่าไหร่นัก เรามาดูข้อกฎหมายเบียร์ไทยกัน
1
ประกาศกระทรวงการคลัง ปี 2543 อนุญาตให้มีการทำเบียร์ได้ 2 ประเภท คือ
หากเป็นโรงงานขนาดใหญ่จะต้องมีปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี
โรงเบียร์ขนาดเล็ก มีลักษณะเป็น Brew Pub เช่น โรงเบียร์ตะวันแดง ต้องผลิตในปริมาณขั้นต่ำ 1 แสนลิตรต่อปี โดยให้มีการบริโภคภายในพื้นที่ผลิต ไม่อนุญาตให้บรรจุขวด
6
และทั้ง 2 ประเภท ผู้ผลิตต้องเป็นบริษัทจดทะเบียนด้วยเงินทุนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท จึงเป็นความท้าทายของปถุชนธรรมดาอย่างเราๆ ซึ่งมันผูกขาดต่อคนที่มีทุนทรัพย์สูงอย่างมาก
3
ในส่วนการจัดเก็บภาษีสุรา โดยเฉพาะเบียร์ในไทย เรามาดูจากพระราชกำหนด พ.ศ. 2556
-ไม่เกิน 7 ดีกรี อัตราภาษีตามมูลค่าเบียร์อยู่ที่ 48% หรืออัตราภาษีตามปริมาณจะอยู่ที่ 155 บาทต่อลิตรต่อ 100 ดีกรี หรือ 8 บามต่อลิตร
-เกินกว่า 7 ดีกรี บวกเพิ่มจากเดิม 3 บาทต่อลิตร
1
แล้วทำไม เบียร์ทางฝั่งยุโรปถึงมีความหลากหลายกว่าบ้านเรา เลาลองมาดูตัวอย่างสังคมเบียร์ในเยอรมณีกัน
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า เยอรมันคือประเทศแห่งเบียร์ เวลาเดินไปซุปเปอร์มาเก็ต เครื่องดื่มที่ราคาถูกกว่าน้ำเปล่า นั่นก็คือเบียร์
เหตุผลที่น้ำเปล่าถูกกว่าเบียร์มาจากระบบสาธารณูปโภคในยุโรปนั้นมีคุณภาพ จึงทำให้ประชาชนเข้าถึงการดื่มน้ำสะอาดได้ง่าย ในร้านสะดวกซื้อจึงนิยมวางขายแค่น้ำแร่ราคาสูงเท่านั้น
เบียร์อยู่คู่กับชาวเยอรมันมากว่าพันปี เริ่มต้นจากการผลิตในโบสถ์ ซึ่งเชื่อกันว่าเบียร์ดีต่อสุขภาพและยังมีความสะอาด
1
500 ปีก่อน เยอรมันเฉพาะแคว้นบาวาเรียร์ในสมัยของดยุกวิลเฮล์มที่ 4 ได้มีการประกาศใช้ The Purity Law หรือกฎหมายความบริสุทธิ์ของเบียร์ เพื่อควบคุมคุณภาพของการผลิต จากนั้นจึงบังคับใช้ทั่วประเทศ
3
กฎหมายฉบับนี้ บังคับให้เบียร์มีวัตถุดิบหลัก 4 อย่างคือ
-ข้าวบาร์เลย์
-ฮอป (พืชที่ให้รสขม ต้านเชื้อแบคทีเรีย)
-ยีสต์ (จุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่มีผลต่อกลิ่นและรสชาติ)
-น้ำสะอาด
6
ข้อกำหนดวัตถุดิบ ทำให้รสชาติเบียร์เยอรมันมีลักษณะเฉพาะตัว แตกต่างจากชนชาติอื่น
รู้ไหมว่าอุตสาหกรรมเบียร์ของเยอรมันเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอิงจากการใช้จ่ายในการดื่มแอลกอฮอล์ต่อปีมากที่สุดในโลก โดยจ่ายประมาณ 60,000 บาทต่อคนต่อปี และปริมาณการดื่มเฉลี่ยสูงถึง 130 ลิตรต่อปี ในขณะที่คนไทยอยู่ที่ 45 ลิตรต่อปี
และเมื่อถามถึงแหล่งผลิตเบียร์ในเยอรมันว่ามีมากแค่ไหน คำตอบก็คือมากกว่า 1,500 แห่ง มีเบียร์มากกว่า 5,500 แบรนด์ที่จำหน่ายและส่งออกทั่วโลก ซึ่งตัวอย่างการส่งออกเบียร์ในปี 2020 มีมูลค่าสูงถึง 37,500 ล้านบาท
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมเบียร์ในเยอรมันเติบโต นั่นก็คือ “ภาษี”
1
ราคาเฉลี่ยของเบียร์ในห้างสรรพสินค้าคือ 25 บาทต่อขวดปริมาตร 330 มิลลิลิตร ซึ่งภาษีต่อขวดอยูที่ประมาณ 1 ถึง 2 บาท หรือ 4-8% เท่านั้น
อย่างไรก็ดี กฎหมายควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ในเยอรมันก็มีความหนักหน่วงเช่นเดียวกัน ความน่าสนใจในกฎหมายฉบับนี้ คือตัวอย่างในปี 2008 สหพันธรัฐแซกโซนี เริ่มจัดการกับการละเมิดดื่มแอลกอฮอล์สำหรับเยาวชน โดยให้นักเรียนนายร้อยตำรวจที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ ซึ่งมีอายุ 16-17 ปี หลอกล่อเป็นลูกค้าในร้านต่างๆ ของรัฐ
ผลปรากฎว่า ร้อยละ 77 จากในร้านค้า สถานีบริการเชื้อเพลิง และตู้ขายของ มีการละเมิดการค้าแอลกฮอล์อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งไม่มีการตรวจสอบอายุบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
สุดท้ายภารกิจดังกล่าวจบโดยการปรับตั้งแต่ 500 ถึง 3,000 ยูโร หรือ 18,000 ถึง 110,000 บาท
สำหรับกฎหมายควบคุม จะแตกต่างกันสามช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับประเภทแอลกอฮอล์ เรามาดูกัน
-เมื่ออายุ 14 ปีผู้เยาว์ได้รับอนุญาตให้บริโภคและครอบครองเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ยังไม่ได้กลั่น เช่น เบียร์และไวน์ในที่สาธารณะ บาร์ หรือร้านอาหาร โดยมีผู้ปกครองที่บรรลุนิติภาวะควบคุม
-อายุ 16 ปี - ผู้เยาว์ได้รับอนุญาตให้บริโภคและครอบครองเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ยังไม่กลั่น เช่นเบียร์และไวน์ในที่สาธารณะ บาร์ หรือร้านอาหารโดยไม่มีพ่อแม่หรือผู้ดูแล
-เมื่ออายุได้ 18 ปีผู้คนจะได้รับอนุญาตให้เข้าถึงสุรากลั่นเครื่องดื่มที่มีสุรากลั่น และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสุรากลั่นในปริมาณเล็กน้อย
3
นอกจากนี้ กฎหมายเมาแล้วขับในเยอรมัน ยังมีโทษปรับถึง 500 ยูโรหรือ 18,000 บาท พร้อมกับการะงับใบอนุญาตขับขี่ 1 เดือน
2
ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีแบรนด์เบียร์คราฟต์ซึ่งเป็นเบียร์ทำมือที่ผลิตขึ้นมาในครัวเรือนอย่างมากมาย
ทั้งนี้ก็มาจากกระแสการปลดแอกเบียร์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการเรียกร้องให้ลดเพดานการผลิตเบียร์ขนาดเล็ก ลงมาที่ 20,000 ลิตรต่อปี จาก 100,000 ลิตรต่อปี ที่มากเกินกว่าต้นทุนจะรับไหว
1
ถามว่าตอนนี้อุตสาหกรรมคราฟต์เบียร์ของไทยเติบโตแค่ไหน ?
มีการสำรวจตัวเลขในปี 2017 ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 100 ล้านบาท
และถึงแม้กฎหมายจะไม่เอื้อต่อการผลิตเบียร์เพื่อสักเท่าไหร่นัก แต่เหล่านักต้มเบียร์รายใหม่ทั้งหลายก็ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อนำเสนอรสชาติเบียร์ของตนเองสู่สาธารณชน เพราะวัตถุดิบพื้นถิ่นในการสร้างรสชาติของเครื่องดื่มในประเทศไทยก็มีหลากหลาย ที่ไม่อาจหาได้ในชาติยุโรป
4
แล้วถ้าเบียร์คราฟต์ในไทยเติบโตแบบนี้ได้อย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อจำกัด รสชาติเบียร์ที่หลากหลายก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อถึงเวลาที่กฎหมายเอื้ออำนายต่อการผลิตเมื่อไหร่ เราอาจได้สัมผัสกับรสชาติเบียร์คุณภาพที่หาที่ไหนไม่ได้ถ้าไม่ใช่บ้านเรา..
3
ไม่พลาดทุกคอนเทนท์ของเทคฮีไร
Line Official: https://lin.ee/cB2Muk0
1
ติดตามเทคฮีโร เพิ่มเติมได้ที่..
โฆษณา