Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
18 ก.พ. 2022 เวลา 12:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิกฤติ ตุรกี ค่าเงินด้อยลง 90% ใน 10 ปี
5
ตุรกี เคยเป็นประเทศ ที่ได้รับการขนานนามว่า
“ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ดาวรุ่งพุ่งแรง ที่น่าจับตามองประเทศหนึ่งในโลก”
แต่วันนี้ดูเหมือนว่า เศรษฐกิจของตุรกี
กำลังเดินไปในทิศทางตรงข้ามกับอดีตที่เคยเกิดขึ้น
8
ค่าเงินตุรกีด้อยลง 90% เมื่อเทียบกับสกุลเงินทั่วโลก ภายใน 10 ปี
ทำให้ราคาสินค้าและบริการกำลังพุ่งสูงขึ้น
ประชาชนจำนวนมากกำลังเดือดร้อน
จนทำให้วันนี้ ตุรกี เปรียบเสมือนผู้ป่วยรายใหม่ของยุโรป
6
ทำไมเศรษฐกิจตุรกี ถึงเดินทางมาถึงจุดนี้ได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
3
ตุรกี เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “ยูเรเชีย” เนื่องจากพื้นที่บางส่วนของประเทศนั้นตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ขณะที่บางส่วนตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
2
ในปี 2020 GDP ของตุรกี อยู่ที่ราว ๆ 24 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของโลก
1
ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่ตุรกี อยู่ที่ประมาณ 325,000 บาทต่อปี
สูงกว่าไทยที่อยู่ที่ประมาณ 237,000 บาทต่อปี
2
ในอดีต เศรษฐกิจของตุรกี ใช้แนวทางการบริหารแบบควบคุมเข้มงวดจากรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 1982 รัฐบาลตุรกีเริ่มมีการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่เน้นให้เป็นแบบตลาดเสรีมากขึ้น ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
11
หลังการปฏิรูปเศรษฐกิจในครั้งนั้น
อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจตุรกี ก็เติบโตโดยเฉลี่ยในระดับ 5% - 6% จนถึงต้นทศวรรษ 1990
4
เรื่องนี้ทำให้ ตุรกีถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ หรือ “E7” ร่วมกับ จีน, อินเดีย, บราซิล, รัสเซีย, อินโดนีเซีย และเม็กซิโก
2
อย่างไรก็ตาม จากประเทศที่ทำท่าจะเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงทางเศรษฐกิจ มาตอนนี้กำลังเจอปัญหาทางเศรษฐกิจ 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ
- การอ่อนค่าของสกุลเงินลีราตุรกี
- การพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ
2
ซึ่งสาเหตุสำคัญนั้น เกิดมาจาก 2 กรณี คือ
1. การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมหาศาล จนต้องก่อหนี้ต่างประเทศจำนวนมาก
6
ในทางเศรษฐศาสตร์ บัญชีเดินสะพัด คือบัญชีที่แสดงเงินที่ ไหลเข้า-ไหลออก จากประเทศนั้น ๆ จากการซื้อหรือขายสินค้า และบริการของประเทศ
ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่าย ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ ก็จะติดลบ
4
รู้ไหมว่า ระหว่างปี 2014-2018 ตุรกีขาดดุลบัญชีเดินสะพัด รวมกันกว่า 5 ล้านล้านบาท
3
เรื่องนี้ทำให้ตุรกีต้องกู้ยืมหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศมากขึ้น
โดยในปี 2018 หนี้ต่างประเทศของตุรกี เพิ่มขึ้นจนสูงกว่า 15 ล้านล้านบาท จากที่ก่อนหน้าอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านล้านบาท ในช่วงก่อนปี 2014
4
โดยในปี 2020 หนี้ต่างประเทศของตุรกี มีสัดส่วนสูงถึง 63% ของ GDP เพิ่มขึ้นจาก 37% ในปี 2010
6
2. การใช้อำนาจแบบเผด็จการของประธานาธิบดี แทรกแซงการบริหารนโยบายการเงินของธนาคารกลางตุรกี
3
นับตั้งแต่ประธานาธิบดีเรเจพ เทยิพ แอร์โดอาน เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของตุรกีตั้งแต่ปี 2014 ภาครัฐฯ ก็พยายามเร่งกู้เงินเพื่อมาเน้นลงทุนในภาคส่วนต่าง ๆ
1
เช่น โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และสาธารณูปโภค รวมไปถึงใช้มาตรการทางการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยเม็ดเงินจำนวนมหาศาล
4
อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2016 ก็มีการพยายามทำรัฐประหาร ในขณะที่ประธานาธิบดีเรเจพ เทยิพ แอร์โดอาน กำลังอยู่ในช่วงพักร้อน แต่ปรากฏว่าไม่สำเร็จ
2
ต่อมาอีก 2 ปี ก็มีเหตุการณ์ที่ทหารตุรกี สู้รบกับกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย ในซีเรีย ในช่วงต้นปี 2018
พอมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นแบบนี้
เงินทุนจากต่างประเทศ ที่เคยไหลเข้ามาลงทุนก่อนหน้านี้ก็เริ่มลดลง เพราะนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น
6
เรื่องนี้ยังทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุนจากต่างประเทศ
ส่งผลให้ค่าเงินลีราของตุรกี ก็อ่อนค่าลงเรื่อย ๆ
สิ้นปี 2014 เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 2.3 ลีราตุรกี
สิ้นปี 2018 เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 5.3 ลีราตุรกี
6
เรื่องร้าย ๆ ยังไม่จบลงเพียงเท่านี้ เพราะค่าเงินลีราตุรกี ยังถูกซ้ำเติมจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและตุรกี
1
โดยอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐอเมริกา ประกาศมาตรการ เรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากตุรกีเพิ่มขึ้น
หลังจากนั้น ค่าเงินลีราตุรกี ก็ดิ่งอ่อนค่ามาเรื่อย ๆ
จนในตอนนี้ อยู่ที่ประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 13.6 ลีราตุรกี ไปแล้ว
1
การอ่อนค่าลงของเงินลีราตุรกีนั้น มาพร้อมกับภาวะเงินที่เฟ้อขึ้น
ปี 2014 อัตราเงินเฟ้อของตุรกี อยู่ในระดับประมาณ 9%
ปี 2018 อัตราเงินเฟ้อของตุรกี พุ่งขึ้นมาสูงกว่า 16%
และล่าสุดต้นปีนี้ อัตราเงินเฟ้อของประเทศ ก็พุ่งขึ้นมาเกือบ 50% สูงสุดในรอบ 20 ปี
9
ยิ่งเงินเฟ้อ ก็ยิ่งทำให้ค่าเงินนั้นอ่อนค่าลง จนไม่มีใครอยากจะถือค่าเงินลีราตุรกี ยิ่งกระตุ้นทำให้เงินทุนไหลออก
2
ซึ่งวิธีการที่จะหยุดยั้งเหตุการณ์นี้คือ ธนาคารกลางของตุรกี ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
2
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ประธานาธิบดีเรเจพ เทยิพ แอร์โดอาน กลับตัดสินใจแทรกแซงการบริหารนโยบายการเงินของธนาคารกลางตุรกี เพราะเขาอยากให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
โดยให้เหตุผลว่า ต้องการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของตุรกี และช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับภาคการส่งออกของประเทศ
5
ทำให้ปลายปีที่แล้ว ธนาคารกลางของตุรกีต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
จาก 15% มาอยู่ที่ 14% ทั้ง ๆ ที่เงินเฟ้อในประเทศยังคงพุ่งแรง
6
ค่าเงินลีราตุรกีที่อ่อนค่า ทำให้ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าหลายอย่างนั้นสูงขึ้น
โดยเฉพาะน้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่งถือเป็นสินค้านำเข้าหลักของประเทศ
เรื่องนี้ก็ยิ่งทำให้ประเทศต้องใช้เงินมากขึ้นในการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ
3
ผู้ประกอบการ นักธุรกิจจำนวนมากในตุรกี ตอนนี้กำลังตกที่นั่งลำบาก
เพราะต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้นมาก ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ก็แพงขึ้นจนสร้างความยากลำบากให้แก่ชาวตุรกีอย่างมากเช่นกัน
5
อนาคตของตุรกีหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร
ถือว่าเป็นสิ่งที่เราต้องจับตามอง
แต่ก็ไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่าตอนนี้
ตุรกี ได้กลายมาเป็น ผู้ป่วยรายใหม่แห่งยุโรป ไปเรียบร้อยแล้ว..
2
References:
-
https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD?most_recent_value_desc=true
-
https://data.worldbank.org/indicator/BN.CAB.XOKA.CD?locations=TR
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Turkey
-
https://www.ceicdata.com/en/indicator/turkey/external-debt--of-nominal-gdp
-
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-
https://www.pier.or.th/abridged/2017/07/
-
https://en.wikipedia.org/wiki/2018%E2%80%932022_Turkish_currency_and_debt_crisis
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Recep_Tayyip_Erdoğan
-
https://www.cnbc.com/2021/12/16/turkish-central-bank-cuts-rates-sending-lira-to-record-low.html
-
https://tradingeconomics.com/turkey/inflation-cpi
3
วิกฤติการเงินตุรกี
ตุรกี
75 บันทึก
127
5
114
75
127
5
114
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย