Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฐานเศรษฐกิจ_Thansettakij
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
19 ก.พ. 2022 เวลา 04:23
รู้ยัง!โรคซึมเศร้า ใช้สิทธิประกันสังคมรักษาฟรี!
โรคซึมเศร้า รักษาฟรีที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม เช็คเลยอาการแบบไหนสุ่มเสี่ยงและควรตรวจปรึกษาแพทย์
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้เปิดเผยข้อมูลรายงานของกรมสุขภาพจิตในปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่าสถานการณ์โควิด - 19 กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น
สำหรับโรคซึมเศร้าคือความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมองจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ นั่นเลยเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าจึงมักจะอาการเศร้าหมอง หดหู่ มองโลกในแง่ลบ และมักจะรู้สึกเบื่อหน่ายอยู่เสมอ โดยปัจจุบันมีคนไทยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 1.5 ล้านคนทีเดียว
ดังนั้นจึงไม่แปลกถ้าจะพบว่า มีคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตามอย่าเพิ่งเป็นกังวลไปจนเกินไป เพราะโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หาย โดยที่ผู้ป่วยเองก็มีโอกาสจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อีกครั้งหนึ่ง
สำนักงานประกันสังคมได้ให้ความคุ้มครองในการรักษาโรคซึมเศร้า ไปจนถึงโรคจิตเวชทุกประเภทหากพบว่ามีอาการสุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้า แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ทันที โดยสามารถรับสิทธิการดูแลรักษาได้ฟรีที่ โรงพยาบาลตามสิทธิ
ทั้งนี้ หากสถานพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถรักษาได้ก็จะส่งตัวไปรักษาที่สถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน โดยสามารถตรวจสอบโรงพยาบาลตามสิทธิได้ ผ่านการลงทะเบียนทางไลน์
อนึ่งสำนักงานประกันสังคม ได้แนะ 7 อาการสุ่มเสี่ยง ซึ่งหากพบว่ามีอาการแบบนี้ควรปรึกษาแพทย์และตรวจโรคซึมเศร้า โดยอาการทั้ง 7 แบบมีดังนี้
1.
ท้อแท้ สิ้นหวัง หงุดหงิดง่าย
2.
ขาดความกระตือรือล้น
3.
เบื่ออาหาร/อยากอาหารมากขึ้น
4.
นอนมาก -น้อยกว่าปกติ
5.
เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
6.
รู้สึกไร้ค่า โทษตัวเอง
7.
สมาธิและการตัดสินใจลดน้อยลง
thansettakij.com
รู้ยัง!โรคซึมเศร้า ใช้สิทธิประกันสังคมรักษาฟรี!
โรคซึมเศร้า รักษาฟรีที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม เช็คเลยอาการแบบไหนสุ่มเสี่ยงและควรตรวจปรึกษาแพทย์
1 บันทึก
13
9
1
13
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย