19 ก.พ. 2022 เวลา 11:50 • ประวัติศาสตร์
การปฏิวัติฮังการี
ภาพแนบ : ธงฮังการีแสดงจุดยืนการต่อต้านคอมมิวนิสต์และโซเวียต
ภายในประเทศฮังการีซึ่งได้เกิดเหตุการณ์การประท้วงของนักศึกษาชาวฮังการีจำนวนมาก ที่ไม่พอใจการเข้ามาปกครองและแทรกแซงของสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏวัติฮังการี
กลางกรุงบูดาเปสต์มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งได้ทำการเปิดลำโพงกระจายเสียงทั่วเมืองหลวง ซึ่งได้รับการสนใจของผู้คนนับพันคนเพื่อหาแนวร่วมของการชุมนุม จนถึงอาคารรัฐสภาจนกระทั่งได้เกิดการจลาจลภายในแถวอาคารรัฐสภาได้มีตำรวจของรัฐได้ทำการจับนักศึกษาที่เข้าไปในม็อดยอร์ ราดิโอ เพื่อที่จะพยายามกระจายเสียงเหตุนี้ซึ่งอาจจะเพิ่มความรุนแรง ความเกลียดชังและการลุกฮือของประชาชนและนักศึกษา ซึ่งอาจจะเกิดการปฏัวัติฮังการี
สิ่งที่ประชาชนและนักศึกษาเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับและสิ่งนั้นที่ผู้คนออกมาประท้วงและได้รับก็คือกระสุนของเจ้าหน้าที่ยิงมาจากอาคารสภาที่ยิงเข้ามากลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งส่งผลให้นักศึกษารายหนึ่งเสียชีวิตผู้คนในนั้นได้นำรางของเขาห่อด้วยผ้าธงชาติฮังการีมาคลุมยกขึ้นเหนือฝูงชนเพื่อแสดงจุดยืนของการกระทำของรัฐบาล
ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสหภาพโซเวียต
ภาพแนบ : ซึ่งคล้ายการปฏิวัติฮังการีในปี 1848 ก่อนการปฏิวัติและการปฏิวัติที่ไร้เลือดเพียงวันเดียวใน Pest and Buda
เมื่อสหภาพโซเวียตได้ผลกระทบจึงจะนำกำลังในประเทศตัวเอง เข้าปะทะกับผู้ชุมนุมเมื่อต้องหยุดชะงักลง ชาวฮังการีหลายพันคนรวมกลุ่มกันตั้งตัวเป็นกองกำลังทหารต่อสู้กับกลุ่มกับรัฐบาลของตนเองและสหภาพโซเวียต ซึ่งในขณะนั้นได้มีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่จึงมีการเรียกร้องเปลี่ยนการปกครองภายในประเทศตนเองและออกจากกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอ
ในช่วงท้ายของเดือนตุลาคม การต่อสู้เริ่มลดน้อยลงและสัญญาณของสภาวะปกติเริ่มกลับมาอีกครั้ง
โปลิตบูโรเปลี่ยนความตั้งใจที่จะถอนกองกำลังทหารออกจากฮังการี และได้เคลื่อนพลเข้ายึดครองกรุงบูดาเปสต์และพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศอีกครั้งในวันที่ 4 พฤศจิกายน ชาวฮังการีจึงลุกขึ้นต่อต้านอีกครั้ง แต่ด้วยความที่เหตุการณ์มีความรุนแรงมาก จึงทำให้เกิดความสูญเสียทั้งฝ่ายฮังการีและโซเวียต โดยชาวฮังการีเสียชีวิตมากกว่า 2,500 คน ทหารโซเวียตเสียชีวิตมากกว่า 700 นาย และมีประชาชนอีกกว่า 200,000 คนที่หลบหนีออกนอกประเทศ มีการจับกุมและประณามกลุ่มมวลชนชาวฮังการีที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องหลายเดือน กระทั่งเดือนมกราคม ค.ศ. 1957 โซเวียตจัดตั้งรัฐบาลฮังการีชุดใหม่ได้สำเร็จและได้กำจัดฝ่ายปรปักษ์ ทำให้โซเวียตมีอำนาจขึ้นเหนือภูมิภาคยุโรปตะวันออก เกิดความบาดหมางกับแนวคิดมาร์กซิสตะวันตก ซึ่งเป็นแนวคิดการปกครองอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลในสมัยนั้น
รถถัง T-34 ของเคจีบีที่ถูกทำลายในบูดาเปสต์ปี ค.ศ. 1956
รัฐบาลฮังการีในสมัยต่อมาห้ามมิให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการปฏิวัติครั้งนี้ในที่สาธารณะเป็นเวลามากกว่า 30 ปีและหลังจากการล่มสลายของโซเวียตฮังการีก็ได้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยในปัจจุบัน
โฆษณา