20 ก.พ. 2022 เวลา 05:26
เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน 'เหลียวหนิง'​
CV-16 LIAONING
Varyag .. Shi Lang .. Liaoning Type 001 Chinese Aircaft Carrier
. เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน ที่จีนซื้อซากเรือชั้น Admiral Kuznetsov (คู่แฝดของเรือบรรทุกเครื่องบินหนึ่งเดียวของรัสเซีย) มาจากยูเครน ก่อนนำมาบูรณะและนำเข้าประจำการ พร้อมเปลี่ยนชื่อใหม่จาก วาร์ยัต (Varyag) เป็น​ เหลียวหนิง (辽宁)
CNS Liaoning Aircraft Carrier
. เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง Type 001
◾ระวางขับน้ำ 67,500 ตัน
◾ความยาวตลอดลำเรือ 304.5 เมตร
◾มีห้องในเรือ​ 3,857 ห้อง
◾ลูกเรือเต็มอัตรา​ 2,626 นาย
◾ความเร็วได้สูงสุด 32 น็อต (59กม./ชม.)​
◾พิสัยทำการ​ 3,850 ไมล์ทะเล (7,130กม.ที่ 32น็อต)​
◾ปฏิบัติการในทะเลนาน​ 45 วัน
◾บรรทุกเครื่องบินรบ​ 30 ลำ
◾เฮลิคอปเตอร์ 25 ลำ
เรือหลียวหนิง ไม่ใช่เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ แต่เป็นเรือเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา
ภาพเปรียบเทียบเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีนกับสหรัฐ USS.RONALD REGAN vs CV-16 LIAONING
แฟ้มภาพ เรือบรรทุกเครื่องบินที่จีนสร้างเองลำแรกขณะออกจากท่าเรือต้าเหลียน วันที่ 13 พฤษภาคม 2561 / AFP
The People's Liberation Army Navy (PLAN) is the Naval branch of the People's Liberation Army (PLA), the navy of the People's Republic of China. The PLAN force consists of approx. 250,000 men while the ships of the People's Liberation Army Navy number over a hundred major combat vessels, organized into 3 fleets : the North Sea Fleet, the East Sea Fleet, and the South Sea Fleet.
สำนักข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์ ไชน่า เดลี่ ของทางการสาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานอ้างคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ทางทหารของสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าจีนมีความสามารถที่จะสร้าง เรือบรรทุกเครื่องบิน และ จะดำเนินการในเร็ว ๆ นี้ รายงานระบุว่า กองทัพจีนได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้รัฐบาลกลางพิจารณามานาน หลายปีแล้ว แต่แทบไม่มีการประกาศความตั้งใจให้สาธารณชนได้รับทราบ สาธารณรัฐประชาชนจีนคิดว่าการประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินจะทำให้กองทัพเรือมีพลานุภาพทางอากาศ ขยายออกไปนอกชายฝั่ง รายงานระบุต่อว่า สื่อมวลชนในฮ่องกงรายงานว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนเตรียมสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของประเทศ ใน ปี 2553 พล.ร.อ.หู ยันหลิน กล่าวว่า การสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินคือสัญลักษณ์ที่สำคัญของประเทศ
เหวินฮุ่ยเป้า-พลเรือโทจีนคนหนึ่ง ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ฮ่องกงว่า จีนมีสิทธิและมีความสามารถที่จะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินได้เพราะเท่าที่ทราบ ในขณะนี้การวิจัยจัดสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นไปอย่างราบรื่น และคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จในปี 2010
การพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินของจีน เป็นไปตามความต้องการทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคง ซึ่งในปัจจุบันจีนเองมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ผนวกกับมีชายฝั่งทะเลที่ยาวมาก ในหลายๆ ประเทศก็มีเรือบรรทุกเครื่องบินอยู่ ทำไมจีนจะมีบ้างไม่ได้?
นายพลคนดังกล่าวยังได้ระบุ
นี่เป็นเรื่องภายในประเทศ ที่ชาติอื่นไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงได้ หากเราต้องการ เราก็มีสิทธิ
พลเรือโทอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ สมัชชาประชาชนแห่งชาติจีน ได้กล่าว
📌 จีนได้ซื้อเรือบรรทุกเครื่องบินที่สร้างเสร็จบางส่วนจากรัสเซียมาลำหนึ่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน นักวิเคราะห์ ยังคงถกเถียงกันว่า.. " จีนจะนำเรือลำนี้เข้าประจำการ หรือเอามาใช้เป็นแม่แบบ และเป็นเรือฝึกสำหรับเทคโนโลยี่การต่อเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นเองกันแน่? "
จีนเจรจาขอซื้อเครื่องบินรบรัสเซียที่สามารถลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ การพัฒนาขีดความสามารถทางทะเลทั้งหมดนี้ จีนยืนยันว่ามีเป้าหมายในเชิงป้องกัน ไม่ใช่รุกราน
กองทัพเรือจีนมีกำลังพลประมาณ 290,000 นาย รัฐบาลได้ผลักดันการปรับปรุงกองทัพเรือให้ทันสมัย ด้วยการต่อเรือและสั่งซื้อเรือรบใหม่จำนวนมากจากรัสเซีย เช่น เรือดำน้ำที่ไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ 8 ลำ ซึ่งต่อในรัสเซีย หลังจากได้ซื้อจากรัสเซีย 4 ลำเมื่อทศวรรษ 1990
จีนยังได้สร้างและกำลังสร้างเรือดำน้ำเพิ่มเติมด้วยตัวเอง รวมถึงเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อทดแทนเรือดำน้ำซึ่งมีอยู่ทั้งหมดเกือบ 60 ลำ แต่ส่วนใหญ่มีสภาพเก่าแล้ว เรือดำน้ำใหม่ๆจะถูกประจำการไว้ที่เกาะไหหลำซึ่งเคยเป็นจุดเผชิญหน้าระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ กับกองทัพเรือจีน
ปัจจุบัน จีนมีเรือรบ 72 ลำ ได้ปรับปรุงเรือพิฆาตและเรือฟริเกต เพื่อให้สามารปฏิบัติการในรัศมีไกลขึ้นและติดอาวุธที่มีอานุภาพสูงขึ้น ขณะนี้..จีนมีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ 10 ลำ สหรัฐมี 75 ลำ อย่างไรก็ดี เรือดำน้ำนิวเคลียร์รุ่นที่สองของจีน ซึ่งไม่ได้นำออกแสดงนั้นมีสมรรถนะรองจากเรือของสหรัฐและรัสเซียเพียงขั้นเดียวเท่านั้น
จีนได้ซื้อเรือบรรทุกเครื่องบินที่สร้างไม่เสร็จ วาร์ยาก(Varyag )ของรัสเซียจากยูเครนมาเพื่อ refit นำไปใช้ปฏิบัติงานแทนที่จะนำไปทำ **คาสิโน และ สวนสนุกลอยน้ำ อย่างที่กล่าวไว้ นอกจากนั้นจีนกำลังแกะแบบและศึกษาจากเรือลำนี้เพื่อในอนาคต จะสามารถต่อเรือบรรทุกเครื่องบินเองได้
การเตรียมการขั้นสำคัญ ในการมีเรือบรรทุกเครื่องบิน คือ การสั่งซื้อเครื่องบินรบรุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน คือ Su-33 จากรัสเซียจำนวน 2 ลำ และมี option จะสั่งซื้อได้ถึง 50 ลำ เชื่อกันว่าเครื่องบินที่ประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินของจีน ถ้าไม่ใช่ตระกูล Su ก็ต้องเป็น J-10 รุ่นใช้งานทางทะเล โดยจีนมีโครงการต่อเรือบรรทุกเครื่องบินอีกอย่างน้อย 2ลำ และมีเรือพิฆาต Type-052C ออกมาแล้วเพื่อเป็น เรือคุ้มกันกองเรือบรรทุกเครื่องบิน จีนมุ่งหวังที่จะสร้างกองเรือที่จะเข้าไปดูแลผลประโยชน์ของจีนได้ทั่วโลก
ภาพการจัดรูปแบบขบวนกองเรือบรรทุกเครื่องบินของจีนในมหาสมุทรอินเดีย
เรือพิฆาตType 052C เชื่อว่าจีนได้โจรกรรมเทคโนโลยีAEGISจากอเมริกาสังเกตุได้จากโดมที่บรรจุเรดาห์ Phase Array เอาไว้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศเป็นแบบ HQ-9 และ จรวดต่อต้านเรือรบเป็นแบบ C-602
อ้างอิง : bit.ly/CdestroyType052C
จีน (8 ม.ค.2553) เดอะ อินเตอร์เนชันแนล ลีดเดอร์ หนังสือพิมพ์จีนรายงานอ้างนายพลไต ซู แห่ง กองทัพอากาศจีน เปิดเผยว่า จีนกำลังเตรียมสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดกลางที่มีระวางขับน้ำ 60,000-70,000 ตัน มูลค่าราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3.3 แสนล้านบาท โดยขณะนี้ได้เริ่มฝึกนักบินเครื่องบินขับไล่ที่จะประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ทางจีนเห็นว่า.. ประเทศมหาอำนาจจำเป็นต้องมีอาวุธนิวเคลียร์และเรือบรรทุกเครื่องบินในครอบครอง.
รายงานจากสื่อตะวันตก : กองทัพเรือประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการเปลี่ยนชื่อ Varyag เป็น Shi Lang โดยยังไม่ได้รับการยืนยัน อย่างเป็นทางการ ชื่อเป็นทางการหลังแล้วเสร็จปัจจุบัน คือ 'เหลียวหนิง'
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ว่า ทางการจีนได้ส่งมอบเรือบรรทุกเครื่องบินให้แก่กองทัพเรือของจีนแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก โดยมีพิธีส่งมอบเรือดังกล่าวซึ่งเคยเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเรียกว่า "วาร์ยัค"ของสหภาพโซเวียต มีความยาว 300 เมตร มีขึ้นที่ท่าเรือเมืองต้าเหลียน ทางตะวันออกเแยงเหนือของประเทศ หลังจากก่อนหน้านี้เรือได้การปรับปรุงซ่อมแซมจากหน่วยงานผลิตเรือจีน จนแล้วเสร็จสมบูรณ์
1
รายงานระบุว่า ที่ผ่านมา จีนได้ซื้อเรือบรรทุกเครื่องบินนี้จากยูเครนซึ่งแตกจากสหภาพโซเวียต เมื่อปี 1998 ในสภาพไร้เครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า​ และระบบขับเคลื่อนพลังงาน และนำมาปรับปรุงใหม่เมื่อปี 2002 และเหตุการณ์นี้ถือเป็นการเสริมเขี้ยวเล็บให้แก่กองทัพจีนซึ่งถือว่ามีกำลังทหารใหญ่ที่สุดของโลก มีงบประมาณมหาศาลที่ถูกจัดสรรอย่างไม่เปิดเผยต่อนานาชาติ แต่ประเมินว่ามีตัวเลขราว 106,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2012​ หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 11.2 เปอร์เซนต์
ขณะที่เพนตากอนระบุว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลปักกิ่ง ได้ทุ่มเงินในด้านการปรับสมรรถภาพของระบบป้องกันภัยอากาศยาน อาวุธต่อต้านดาวเทียม และขีปนาวุธต่อต้านและโจมตีเรือ ที่สามารถใช้ขัดขวางไม่ให้คู่อริเข้าถึงเป้าหมายยุทธศาสตร์ได้ เช่น ในทะเลจีนใต้
เมื่อ 25 กันยายน 2012 ที่เพิ่งผ่านมา กองทัพเรือจีนนำเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของประเทศเข้าประจำการให้ชื่อว่า “ เหลียวหนิง “ ตามชื่อมณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน
📌 ปัจจุบันจีน.. ที่กำลังทำมาค้าขึ้นมีเงินมากมาย จึงพยายามสร้างตนเป็นชาติมหาอำนาจในหลายๆด้าน ..มีการส่งจรวดและยานอวกาศขึ้นไปยังวงโคจรเป็นว่าเล่น ..มีแผนจะส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ ..สร้างเครื่องบินรบล่องหนของตัวเองได้แล้ว โดยสร้างไล่หลังรัสเซียมาติดๆ
..แต่เรือบรรทุกเครื่องบิน จีนยังทำเองไม่ได้จึงไปซื้อเรือเก่าของสหภาพโซเวียตมารีเอนจิเนียริ่ง และในที่สุดจีนก็สามารถสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินเองได้ หลังจากทำการศึกษาและชำแหละดูเรือลำนี้จนพรุนไปแล้ว ..แม้ว่าเรือสายเลือดจีนที่สร้างขึ้นมาใหม่ จะไม่ผิดแผกแตกต่างไปจากเรือรัสเซียมากนัก ดังเช่น อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องบิน ยานอวกาศ รถยนต์ และอื่นๆที่ จีนชอบไปก๊อปปี้ (รีเอนจิเนียริ่ง) จนชำนาญกลายเป็นธรรมเนียมปกติไปแล้ว
2
✒️ ประวัติความเป็นมา ของเรือเหลียวหนิง
CV-16 LIAONING
ตอนที่ถูกสร้างขึ้นครั้งแรก โซเวียตก็จะให้ชื่อเรือบรรทุกเครื่องบินวาร์ยัค ลำนี้ว่า "ริก้า" เพื่อเป็นเกียรติแก่กรุงริก้า เมืองหลวงของลัตเวีย ที่ตอนนั้นยังเป็น 1 ใน 15 สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต มันถูกกำหนดให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขับไล่ เรือลำนี้จัดอยู่ในเรือชั้น แอดมิรัล คุซเนตซอฟ เพื่อเป็นเกียรติแก่ พลเรือเอกคุตเนตซอฟ ซึ่งเรือชั้นนี้ถูกสร้างออกมา 2 ลำ โดยลำที่ 2 คือลำนี้ ลำแรกคือ เรือแอดมิรัล คุซเนตซอฟ ประจำการณ์ตั้งแต่ปี 1990 เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำเดียวของรัสเซีย (สหรัฐมี 11 ลำ)
ตะวันตกจัดเรือชั้นนี้เป็น..'เรือบรรทุกเครื่องบิน' แต่รัสเซียเรียกว่า.. 'เรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบิน' (Heavy Aircraft Carrying Cruiser) เพราะภารกิจของเรือลำนี้แตกต่างจากเรือบรรทุกเครื่องบินของชาติตะวันตก คือเน้นการป้องกันประเทศของตนเองเป็นหลัก มีการวางกระดูกงูเรือริก้า เมื่อ 6 ธันวาคม 1985 ที่อู่ต่อเรือเมืองนิคาลัยเยฟ ในสาธารณรัฐยูเครน ของสหภาพโซเวียต
เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น แอดมิรัล คุซเนตซอฟ ลำแรกของรัสเซีย เป็นเรือต้นแบบ 'วาร์ยัค' ที่สร้างไม่เสร็จ และจีนซื้อไปปรับปรุงใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น 'เหลียวหนิง'
และมีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อ 4 ธันวาคม 1988 แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในปลายทศวรรษที่ 1990 มันก็ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น"วาร์ยัค"ตามชื่อเรือรบชื่อดังในอดีตของรัสเซีย ที่โซเวียตเปลี่ยนก็เพราะ ลัตเวียออกมาเรียกร้องแยกตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต ก็จะกลายเป็นว่า สหภาพโซเวียตมีเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีชื่อเดียวกับเมืองหลวงของประเทศอื่น
ในปี 1992 จึงทำการต่อเรือลำที่สอง ซึ่งแล้วเสร็จไปเพียง 68% ยังไม่ได้ติดระบบอิเล็คโทรนิคใดๆ ก็จำต้องยุติลงโดยสิ้นเชิงเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย จึงถูกโอนให้ไปเป็นสมบัติของประเทศยูเครน 1 ใน15 สาธารณรัฐโซเวียต ที่แยกตัวออกมา และยูเครนก็ไม่ได้สนใจจะต่อให้เสร็จ มันจึงยังไม่มีเครื่องยนต์ หางเสือ หรือระบบควบคุมใดๆ เพราะต้องใช้เงินอีก 200 ล้านดอลล่าร์ จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ ท้ายที่สุดในปี 1998 ยูเครนก็นำเรือออกประมูล
ในเบื้องต้นทางการจีนแสดงความสนใจ แต่สหรัฐวิตกในเรื่องที่ว่า แสนยานุภาพทางทะเลของจีนจะเพิ่มขึ้นมา หากนำเรือลำนี้มาปรับปรุงอีกเล็กน้อย จึงเกลี้ยกล่อมให้ยูเครนรื้อถอนระบบอาวุธ และอื่นๆที่ติดตั้งไปแล้วบางส่วนออกมา แล้วค่อยนำเรือเปล่าขายซึ่งยูเครนก็ทำตาม ในเบื้องต้นบริษัทเล็กๆในฮ่องกงแห่งหนึ่งประมูลได้ไปได้ในราคาที่ถูก คือราว 20ล้านดอลล่าร์ เพื่อนำมันไปทำเป็นโรงแรม แและสถานคาสิโน ที่มาเก๊า
📌 เช่นเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบิน เคี๊ยฟ และ มินส์ค ที่ถูกเอกชนซื้อไปทำสถานบันเทิงในจีน แต่ปรากฏว่า ตุรกีไม่ยอมให้มีการลากเรือลำนี้ผ่านช่องแคบออกมา เพราะกลัวว่าเรือจะเป็นอันตรายกับสะพานสำคัญของตุรกี จึงต้องลอยลำอยู่กลางทะเลดำนานถึง 16 เดือน ระหว่างที่มีการเจรจากัน จนท้ายที่สุด ตุรกีก็ยอมปล่อยให้เรือให้ผ่านไปได้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2001 แต่อีก 2 วันถัดมามันเจอเข้ากับพายุใหญ่ ทำให้เรือเกยตื้นใกล้ๆกับเกาะของกรีซ มีลูกเรือเสียชีวิต 1คน แต่ก็พ้นออกมาได้
แต่การที่อียิปต์ไม่ปล่อยให้เรือลำนี้ผ่านคลองสุเอซ เพราะมันมีสถานะเป็นเสมือนเรือสิ้นสภาพแล้ว มันจึงต้องเดินทางอ้อมโลก คือ ไปออกที่ช่องแคบยิบรอลต้า อ้อมทวีปแอฟริกา แหลมกู๊ดโฮ๊ป มาเข้าช่องแคบมะละกา และเข้าสู่น่านน้ำจีนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2002 และมาถึงท่าเรือต้าเหลียน เมื่อ 3 มีนาคมปีเดียวกัน รวมระยะทางในการเดินทาง 28,200 กม. ด้วยความเร็วเฉลี่ย 11 กม.ต่อชั่วโมง
บริษัทที่ซื้อเรือ นอกจากจะต้องจ่ายค่าตัวเรือ(เปล่า) ให้รัฐบาลยูเครน 25 ล้านดอลล่าร์ ยังต้องเสียค่าลากเรือและค่าธรรมเนียม อีก 5.5 ล้านดอลล่าร์ แต่เมื่อมีการออกใบอนุญาตเปิดสถานคาสิโนรอบใหม่ บริษัทที่ประมูลเรือมาได้กลับไม่ได้ใบอนุญาต เรือก็เลยถูกทิ้งให้ขึ้นสนิมอยู่ที่ท่าเรือในจีน ต่อมาจีนให้ความสนใจ เทคโนโลยี่ของการต่อเรือยักษ์เรือลำนี้ แม้ในกองทัพจะมีความเห็นขัดแย้งกันเรื่องที่ว่าควรจะพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือเรือดำน้ำเอฝ แต่ฝ่ายสนับสนุนการขยายอำนาจของกองทัพเรือผ่านทางเรือบรรทุกเครื่องบิน ก็ชนะ
หลังจาก 3 ปีที่ถูกปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ เรือได้ถูกนำเข้าอู่แห้งที่ต้าเหลียน ถูกนำมาขัดสนิม ติดเครื่องยนต์ และระบบต่างๆ อย่างเป็นความลับ โดยตอนแรกมีรายงานว่าเรือลำนี้จะใช้ชื่อว่า 'จื่อหลาง' (Shi Lang) ตามชื่อของ แม่ทัพสมัยราชวงศ์หมิง-ชิง จีน
จนมีการยืนยันเป็นครั้งแรกว่า กำลังมีการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน และเรือก็ถูกนำออกทดลองแล่นในทะเลครั้งแรกเป็นเวลา 5วัน และก็ยังถูกนำมาทดลองแล่นอีกหลายรอบ โดยครั้งที่นานที่สุด 25วัน และท้ายที่สุดก็มีการเปิดเผยว่าเรือลำนี้ชื่อ.. 'เหลียวหนิง' ตามชื่อโรงเรียนนายเรือจีนแห่งแรกตั้งอยู่ที่ มณฑลเหลียวหนิง และเป็นฐานทัพเรือใหญ่แห่งแรกของประเทศจีน
ทหารประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่นี้ประมาณกว่า 1 พันนาย ตามเอกสารระบุว่าเรือลำนี้เป็น เรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001 จีนจึงเป็นชาติลำดับที่ 10 ของโลกที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินใช้งานในปัจจุบัน และเป็นชาติสุดท้ายในกลุ่มสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาติที่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน
จีน.. ส่งเรือลำนี้เข้าประจำการณ์ ในช่วงที่กำลังมีเรื่องข้อพิพาทพรมแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้านทั่วไปหมด ทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไต้หวันและญี่ปุ่น การมีเรือบรรทุกเครื่องบินจึงเป็นการขยายบทบาทของมหาอำนาจทางทะเล ซึ่งเป็นที่จับตามองเป็นอย่างยิ่ง แต่บางฝ่ายก็วิเคราะห์ว่า จีนจะใช้เรือลำนี้เพื่อการฝึกและการประเมินระบบต่างๆ ที่จะนำไปสู่การต่อเรือบรรทุกเครื่องบินด้วยเทคโนโลยี่ของจีนเองในอนาคต โดยเหตุผลส่วนหนึ่งเพราะ เรือลำนี้ใช้เลข 16 เป็นหมายเลขเรือ ซึ่งตัวเลข 2 หลักมีความหมายว่ามันจะทำหน้าที่หลักในการเป็น 'เรือสำหรับการฝึก' แต่นายทหารจีนก็บอกว่าหากจำเป็นต้องเข้าสู่สนามรบ ก็พร้อม
.เรียบเรียง
.ภาพประกอบ
. รุ่งศิลา💕 สิรภพ
Chinese President Hu Jintao, also chairman of the Central Military Commission (CMC), inspects the guard of honor on the aircraft carrier "Liaoning" at a naval base in Dalian, northeast China's Liaoning Province, Sept. 25, 2012. (Photo/Xinhua)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา