Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
LEFT-FEM
•
ติดตาม
20 ก.พ. 2022 เวลา 10:30 • การเมือง
ทำไมการมี "ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ" จึงสำคัญ
เมื่อเราพูดถึง ประชาธิปไตย เรามักนึกถึงประชาธิปไตยในมิติของการเมือง อย่างเช่น เสรีภาพทางการเมือง การเลือกตั้ง ความเท่าเทียม คนเท่ากัน
แต่หากเราพูดถึงประชาธิปไตยในด้านของเศรษฐกิจบ้างล่ะ ใครหลายคนอาจนึกไม่ออกว่ามันเป็นอย่างไร
"ประชาธิปไตยในที่ทำงาน" "ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ" ใช่ เรากำลังพูดถึงแนวคิดสังคมนิยมนั่นแหละ
ในสังคมทุนนิยม โลกในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ คนจนยิ่งจนลง คนรวยยิ่งรวยขึ้น
วัฒนธรรมทุนนิยม แข็งแกร่งมากพอที่จะเหยียบคนให้จมดินในทางเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างมายาคติ คนไม่เท่ากัน จนนำไปสู่ปัญหาการได้รับค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม
ตัวมันเองยังได้สร้างคติต้านสังคมนิยมด้วยการชี้เป้าให้คนในสังคมว่า สังคมนิยมเป็นไปไม่ได้ ในความเป็นจริง
ปัญหาการได้ค่าแรงที่ไม่เป็นธรรมนั้น เกิดมาจากการที่กิจการ หรือบริษัทใดบริษัทหนึ่งถูกควบคุมหรือขับเคลื่อนจากคนด้านบนเพียงกลุ่มเดียว นั่นรวมถึงระบบค่าแรงด้วย
ด้วยความสำคัญของแต่ละหน้าที่ในบริษัทถูกตีตราด้วยคนคนเดียว ค่าจ้างของแต่ละคนก็ถูกควบคุมไปด้วย และในเมื่อเป็นเช่นนี้ คนงานแต่ละคนก็ล้วนกำหนดชีวิตของตนเองอย่างมั่นคงไม่ได้
การที่องค์กรถูกขับเคลื่อนโดยคนกลุ่มเดียว โดยที่คนอื่นไม่ได้มีส่วนร่วม เพียงแค่มีหน้าที่ทำให้องค์กรได้รับประโยชน์ไปวันต่อวัน คุณเรียกมันว่าอะไรล่ะ "เผด็จการ" ยังไงล่ะ
1
วิธีการแก้ปัญหานี้ คือการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยในที่ทำงาน หรือการสร้างสังคมนิยมในบริษัท
ซึ่งทำได้โดยการที่ให้คนงานทุกคน ร่วมกันบริหารร่วมกันอย่างเป็นประชาธิปไตย กระบวนการทำงาน การผลิต ระบบค่าแรงทั้งหมดก็จะถูกควบคุมโดยทุกคน ไม่ใช่คนคนเดียวอีกต่อไป คนทำงานในบริษัทก็จะมีสิทธิโหวตนโนบายของบริษัทของตนเอง เพื่อขับเคลื่อนบริษัทต่อไป อธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือทุกคนบริหารร่วมกัน ไม่มีนายจ้าง และลูกจ้าง
1
ระบบค่าแรงอาจเป็นไปได้ 2 แนวทางดังนี้
1. คือระบบแบบสหกรณ์ ด้วยแนวคิดหลักที่ว่า งานทุกงานมีความสำคัญเท่ากัน งานทำความสะอาดก็สำคัญไม่แพ้งานด้านบริหาร ทุกงานจำเป็นต้องใช้ทักษะและความสามารถ ขาดคนทำงานใดงานหนึ่งไป องค์กรก็ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้นคนงานทุกคนในองค์กรควรได้รับค่าแรงอย่างเท่าเทียมหรือไล่เลี่ยกัน นี่คือการกระจายความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียม
2. การวัดผลตอบแทนจากการทำงาน หรือความสามารถ ที่คนงานจะได้รับผลตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้ออย่างที่เขาควรได้รับ เช่น คุณทำน้อยได้น้อย ทำมากได้มาก นั่นคือสิ่งที่มันควรจะเป็น
คุณอาจคิดว่าทุนนิยมก็เป็นแบบนี้ แต่หากคุณเพ่งมองดี ๆ คุณจะค้นพบว่า ในระบบทุนนิยม ทุกอย่างบิดเบี้ยวไปจนหมด คนทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ไม่ว่าจะจบ ม.ปลาย หรือ ป.ตรี คุณก็จะได้ค่าแรงแค่ประมาณ 300 บาท ต่อวันอยู่ดี นั่นก็เป็นเพราะเงินเดือนของคุณ ถูกควบคุมโดยคนไม่มีคน ในขณะที่คนด้านบน แทบไม่ได้ทำงาน แต่มีเงินเดือนมากกว่าคนทำงานจริง ๆ เป็นเท่าตัว
ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ มีความสำคัญพอ ๆ กับประชาธิปไตยในมิติสังคม และการเมือง เพราะเมื่อปราศจากมันทั้งสอง คุณเองก็ไม่มีสิทธิใด ๆ ในบริษัทไม่มีสิทธิที่จะขับเคลื่อนในระดับนโยบาย นอกจากรับคำสั่ง ไม่มีสิทธิที่จะกำหนดชีวิตตัวเอง เช่นเดียวกันกับที่คุณจะไม่มีสิทธิไปเลือกตั้ง ไม่มีสิทธิที่จะขับเคลื่อนสังคมที่คุณอยู่
แต่หากว่าเรามีประชาธิปไตยในที่ทำงานแล้ว ผลตอบแทนของคุณก็จะได้รับอย่างคุ้มค่ามากขึ้น เพราะคนงานต่างเห็นประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าจะเก็บประโยชน์ไว้ที่ตัวคนเดียว
2
นี่คือการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในโลกทุนนิยม เพราะเป็นการลดช่องว่างรายได้ไม่ให้ต่างกันมากจนเกินไป
QUESTION : ในระบบสหกรณ์ เมื่อเงินเดือนแทบจะเท่ากัน แล้วใครจะยอมทำงาน
ANS : คุณต้องไม่ลืมว่า คนทุกคนบริหารบริษัทร่วมกัน = เป็นเจ้าของบริษัทร่วมกัน แน่นอนว่าคนในบริษัทอาจตั้งกฎขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานได้ว่า หากคุณไม่ทำงาน หรือทำงานไม่ถึงเกณฑ์ คุณก็อาจจะไม่ได้รับผลตอบแทน
แต่ด้วยการที่รายได้ถูกกระจายอย่างเท่าเทียมมากขึ้น นั่นก็หมายถึง หากคุณขยันทำงาน บริษัทคุณยิ่งก้าวหน้า กำไรก็ยิ่งมากขึ้น ผลตอบแทนที่ได้เมื่อแบ่งกันก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย
QUESTION : ตอนแบ่งกำไร จะแบ่งอย่างเท่าเทียม แล้วตอนขาดทุน คนงานก็ไม่ได้มาเสี่ยงหรือขาดทุนกับนายจ้าง
ANS : ตามความเป็นจริงแล้ว คนงานคือคนที่ขาดทุนอยู่ตลอดเวลา ทั้งเรื่องค่าแรงไม่คุ้มกับงานที่ทำไปในแต่ละวัน และทั้งเรื่องการปันผลกำไร ที่พวกนายจ้างและหุ้นส่วนนำไปแบ่งกันอยู่เพียงกลุ่มเดียว นี่คือการขาดทุนของคนงานเสมอมา พูดง่าย ๆ ก็คือ นายจ้างเอาเงินส่วนเหลือที่คนงานควรได้ มาเป็นของตัวเอง
และเมื่อบริษัทมีปัญหาคราวใด ก็มักเป็นคนงานนี่แหละที่ถูกเลิกจ้าง นี่แหละคือการที่ลูกจ้างก็แบกรับความเสี่ยงไปเช่นเดียวกับนายจ้าง
QUESTION : สังคมนิยมจะทำให้คนขาดแรงจูงใจ และขี้เกียจ? - เพราะระบบเศรษฐกิจเน้นการกระจายผลประโยชน์ตอบเเทนการทํางานเเบบเท่าเทียม ต่อให้คุณทํางานหนัก เเต่กลุ่มที่คนทํางานร่วมด้วย ก็ได้ผลตอบเเทนเหมือนกัน จะไปทํางานหนักทําไม ตัวอย่างคือ ระบบนารวมในโซเวียต -
ANS : นี่คือข้อวิจารณ์ต่อ สังคมนิยมเเบบส่วนกลางในประวัติศาสตร์ (command economy, central-planned economy) เน้นการวางเเผนเเบบ top-down จากบนลงล่าง คนงานเลยขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองเเละเศรษฐกิจ กิจกรรมสร้างสรรค์จึงกลายเป็นเรื่องรองไป เพราะคนงานต้องทำงานเพื่อผลประโยชน์ของรัฐเป็นสูงสุด
สังคมนิยม มีประเด็นหลัก คือ ต้องการทําให้ชีวิตคุณมีทางเลือกในการทํากิจกรรมที่มีความสร้างสรรค์ ไม่บังคับให้คุณทํางานเพราะจน ขาดสน ต้องการกําไรอย่างเดียว
คาร์ล มาร์กซ์ได้ชี้ว่า คุณทํางานในทุนนิยมก็เพราะงานกําหนดชีวิตคุณ เเทนที่คุณต่างหากจะเปนคนกำหนดชีวิตตนเอง
ทุนนิยมได้พรากสิทธิหนึ่งไปจากคนในสังคม นั่นคือสิทธิที่คุณจะขี้เกียจ เพราะการขี้เกียจ หรือแม้แต่การพักผ่อน หรือการนอน เป็นสิ่งที่ขัดขวางการเคลื่อนไหวของทุน หรือการสร้างมูลค่าของมัน
1
มันจึงสร้างค่านิยมที่ทำให้การขี้เกียจ เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ และทำให้การทำงานหนักเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง [ทำงานหนักจนขาด work life balance] ทั้งที่บางครั้ง ผู้คนถูกบีบให้ทำงานหนักจากระบบ ไม่ใช่เพราะความต้องการของพวกเขาเอง
ทั้งที่การขี้เกียจ เป็นกริยาแสดงออกของมนุษย์ที่ต้องการการพักผ่อน และเป็นปฏิกิริยาต่องานหรือกิจกรรมที่น่าเบื่อ ที่มนุษย์คนหนึ่งต้องทำไปในระยะเวลาหนึ่ง
ชีวิตมนุษย์จำเป็นต้องมี work life balance นั่นคือการที่เขาได้พักผ่อน ได้ทำในกิจกรรมที่เขาอยากทำ ไม่ใช่ทำแต่งานเพียงเพราะเงินเดือน การพัก ≠ การขี้เกียจ แต่หากว่าอยากขี้เกียจ นั่นเป็นสิทธิของเขา
แต่ในสังคมทุนนิยม(ที่ขาดประชาธิปไตยในที่ทำงาน/เศรษฐกิจ) ระบบและนายจ้างบีบบังคับให้คุณต้องทำงานหนักตลอดเวลา เพราะนายจ้างจำเป็นต้องทำกำไรอยู่ตลอด คุณเองก็เช่นกัน แต่คุณกลับทำงานเพื่อเอาชีวิตรอดวันต่อวัน
แต่การสร้างประชาธิปไตยในที่ทำงาน (ในสังคมทุนนิยม) ไม่ใช่ปลายทางหลักของสังคมนิยม การที่เราจะสร้างประชาธิปไตยเต็มใบได้ เราต้องทำลายมายาคติ และอิทธิพลของทุนนิยมทิ้งไปจนหมด เพราะแม้เราจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ในระดับหนึ่ง แต่เสรีภาพที่แท้จริงยังคงไม่เกิด เพราะเงิน(ทุน)ยังคงกำหนดและควบคุมชีวิตของเราอยู่ แม้แต่รัฐเองก็ถูกครอบงำไปด้วย
การแก้ปัญหาที่ตรงจุด คือการทำลายอิทธิพลของทุนนิยม สร้างประชาธิปไตยในที่ทำงานไปพร้อม ๆ กัน เพื่อสร้างสังคมแบบสังคมนิยม ที่ระบบถูกออกแบบมาจากส่วนรวม เพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
ภายใต้สังคมนิยม คุณไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีใครทำงานหรอกนะ งานนั้นเป็นสิ่งเติมเต็มชีวิตของมนุษย์มาตลอด [ตราบใดที่มันยังอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่มากจนเกินไป]
1
สังคมจะไม่ล่มเพราะความขี้เกียจ หากความขี้เกียจสามารถพังทลายสังคมได้ สังคมทุนนิยมคงล่มไปนานแล้ว เพราะคนทำงานหนักไม่ได้เงิน แต่คนมีเงินแทบไม่ได้ทำงาน
การเมือง
เศรษฐกิจ
ประชาธิปไตย
1 บันทึก
4
7
1
4
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย