21 ก.พ. 2022 เวลา 12:43 • ท่องเที่ยว
➡️ อ่างซับเหล็ก​ ⬅️ 🔸สุดสัปดาห์ ผมยกเต๊นท์ มาปักนอน ที่ริมอ่างซับเหล็กเมืองลพบุรี นอกจากทิวทัศน์แสนสวย ของบรรยากาศยามเย็น กับหมอกหนายามเช้า​ ที่ได้เห็นแล้ว หลายเรื่องที่ผูกพัน​อยู่​กับอ่างเก็บน้ำโบราณนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่อง ที่น่าจะนำมาเรียง​ร้อย ไว้เป็นร้อยเรื่องราว อีกซักเรื่อง​หนึ่ง
▪️
🔸เพราะตัวเมืองของลพบุรีนั้น ตั้งอยู่บนที่ดอน ที่ปกติมันก็มีปัญหาอยู่แล้ว คือในฤดูแล้ง น้ำท่าที่นี่ จะขาดแคลนถึง 4-5 เดือน​ ในแต่ละรอบปี ยิ่งมาตั้งเป็นราชธานี รองจากกรุงศรีฯเข้าอีก บวกการเข้ามาของผู้คน พาหนะสัตว์เลี้ยง ทั้งช้างม้าวัวควาย ปัญหาเรื่องน้ำ​ จึงทวีความรุนแรงขึ้นไปด้วย
▪️
🔸การหาแหล่งกักเก็บน้ำ ไว้รอระบายน้ำ​ เพื่อส่งเข้ามาใช้ โดยผ่านท่อส่งน้ำ​ เข้าสู่ตัวเมือง จึงเกิดขึ้นในสมัย​ ของสมเด็จพระนารายณ์ฯ นี่เอง
▪️
🔸ช่วงแรกนั้น​ น้ำถูกนำผ่านท่อ​ มาจาก​อ่างเก็บน้ำที่ทะเลชุบศร แล้วมากักพักตะกอนไว้ก่อน​ ที่อ่างสระแก้ว ที่อยู่ไม่ห่างตัวเมืองนัก ก่อนจะจ่ายน้ำ​ ผ่านท่อดินเผา ไปยังสถานที่ต่างๆ
▪️
🔸พระราชวัง, วัดวาอาราม และตามบ้านเรือนของขุนนางใหญ่ ระบบท่อส่งน้ำนี้​ ส่งไปถึงทั่ว​ ซึ่งดำเนินการทั้งสร้าง​ และวางระบบวิทยาการ​ อันล้ำยุคคราวนั้น​ โดยวิศวกรชาวเปอร์เซีย​โมกุล ที่มีอิทธิพล​ อยู่ในราชสำนักพระนารายณ์​ โดยใช้เวลาอยู่ราว​ 10 ปี ระบบน้ำในลพบุรีนี้ จึงแล้วเสร็จ
▪️
🔸แต่เมื่อเมือง​ ยังคงขยายใหญ่โตขึ้นอีก บวกกับการประทับอยู่ ที่ลพบุรีเป็นหลัก​ ของสมเด็จพระนารายณ์ฯ อาคารบ้านเรือน ชุมชนผู้คน ก็ขยายขนาดใหญ่โตตามไป แถมลพบุรี​เอง​ ก็เป็นสถานที่หลัก ที่ใช้ต้อนรับคณะทูต จากต่างประเทศอยู่เนืองๆ
🔸การตบแต่งสวน ที่มีน้ำพุประดับอยู่อย่างสวยงาม ตามแบบของเปอร์เซีย และตามแบบของฝรั่งทางยุโรป ก็เป็นที่นิยมตามไปอีกด้วย
▪️
🔸ช่วง​ 10 ปีหลังของรัชสมัย​ หรือราว​ 15 ปี​+- ของการวางระบบส่งน้ำผ่านท่อดินเผาคราวแรก​ ได้มีการชักน้ำ​ ส่งน้ำออกจากอ่างซับเหล็ก ที่ตั้งอยู่ห่างตัวเมือง​ ราว 12 กิโลเมตรตรงนี้ ก็เกิดขึ้น
▪️
▪️
🔸อ่างซับเหล็กตรงนี้ มีมานานตามธรรมชาติ​อยู่แล้ว ซึ่งมันก็มีนานมา ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไร​ แต่ปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์​นี่เอง ที่ทรงให้บาทหลวงฝรั่งเศส​และอิตาเลี่ยน​ วางระบบทำราง เพื่อส่งน้ำจากพื้นที่สูงตรงนี้​ ลงไปใช้ในตัวเมือง​ ซึ่งจะว่าไป ​ก็ดูไม่ต่างระบบ​ท่อส่งน้ำโบราณ Pont du Gard ของชาวโรมัน​โบราณ
▪️Roman Aqueduct : Pont du Gard @ Istanbul▪️
🔸จึงไม่น่าแปลกใจ​ ที่ในพื้นที่พระราชวังนารายณ์ อย่างอาคาร​ 12​ ท้องพระคลัง​ - ตึกพระเจ้าเหา อาคารเลี้ยงรับรองแขกเมือง​ จะมีระบบน้ำหล่อเย็น​ รวมไปถึงน้ำพุ​กว่า 20 จุดอย่างสวยงาม
▪️ Versailles Palace : Paris▪️
🔸โดยเฉพาะที่ประทับหลัก ของสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ในห้องสรงสนานนั้น จะมีทั้งน้ำพุ น้ำตก รางน้ำหล่อเย็น ที่แม้จะไม่ใหญ่โตเท่า แต่ก็มีอยู่ไม่ต่างที่แวซายน์ ของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 และสวนสวยและสระน้ำ ในพระราชอุทยาน พระราชวัง ของ "จักรพรรดิออรังเซพ" แห่งอินเดียโมกุล
▪️ตู้พระธรรมสมัยพระนารายณ์ฯ ซ้าย : พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และขวา จักรพรรดิออรังเชฟ แห่งอินเดียโมกุล▪️
▪️
🔸 รวบรวมรูปท่อๆ ที่เคยเห็นจากหลายที่ บวกกับวิวสวยสวยๆ ของอ่างซับเหล็กที่ได้เห็น​ มารวมไว้ เขียนบรรยายไว้นิดหน่อยที่พอรู้​ ส่วนท่านใด รู้เรื่องเมืองลพบุรี ในมุมนี้หรือมุมอื่น มาขยายต่อกันอีกได้​ ด้วยความยินดี
▪️
🔸ส่วนชื่ออ่างซับเหล็ก​อันนี้ ผมก็ไม่รู้ที่มา​ แต่คลำๆเอาเองว่า​ อาจจะพันๆอยู่กับ​ เจ้าพระยาโกษาธิบดี​ (เหล็ก)​ อันนี้หรือเปล่า​ ไม่ยืนยัน ระมัดระวัง​ รักษาสุขภาพ​ การ์ดไม่ตก​ & ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย​ #เที่ยวเมืองไทยไทยไม่ไปไม่รู้
▪️ท่อระบายน้ำโบราณ จากเขตพระราชวังเก่าอยุธยาฯ ใช้ระบายน้ำ & สิ่งปฎิกูล ลงสู่คลองท่อ ก่อนระบาย สู่แม่น้ำสายหลักต่อไป▪️
▪️ท่อ & ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่ส่งน้ำเข้าใช้ในวัดพระยาแมน อยุธยาฯ วัดสำคัญที่ได้รับการบูรณะ โดยสมเด็จพระเพทราชาฯ บุคคลสำคัญ ผู้อยู่ร่วมสมัย ในแผ่นดินสมเด็จพระรานายณ์ฯ▪️
▪️
▪️ที่เดิมแต่ต่างเวลา : อ่างซับเหล็ก▪️
📸 All Photos▪️by Tui Kajondej​
⭕ ลอมพอก
⭕ กูวติล - อิสฟาฮาน และพระเจ้า
⭕ British Museum
⭕ รวมเรื่องร้อยเรื่องราว
🌸 เขียนทุกเรื่องด้วยความสนุก เพื่อความสุขของผู้เขียน และไว้สะสมเรื่องเขียน ในมุมสนุกตรงนี้ 🌸
▪️น้ำพุ & อุทยานแบบเปอร์เซีย @ GolestanPalace ; Iran▪️
▪️สายน้ำแห่งศรัทธา : พนมกุเลน / วนัมกันตาล @ กัมพูชา▪️
▪️Topkapi Palace : Istanbul ▪️
▪️บาราย : บ่อเก็บน้ำใช้ในศาสนพิธี ก็มีจุดน่าสนใจถึง ที่มาของน้ำ & การลำเลียงน้ำ ไปใช้ในตัวปราสาท▪️
▪️ที่ใดมีน้ำ ที่นั่นมีชีวิต : ชีวิตชาวลาวสูง ชีวิตบนขุนเขา รอยต่อระหว่างทาง เวียงจันทร์สู่หลวงพระบาง▪️
💦

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา