Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SCB Thailand
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
4 มี.ค. 2022 เวลา 11:00 • ไลฟ์สไตล์
How to ทิ้ง “ความเครียด” เพิ่มพลังแห่งความสุข
“ความเครียด” เป็นภาวะที่ไม่แบ่งแยกเพศหรือช่วงวัย และมักจะแทรกซึมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเราได้อย่างเนียน จนหลายคนไม่ทันได้ตั้งตัว เมื่อไม่รู้ตัวก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ความเครียดจึงลุกลามเข้ามาจนเกิดเป็นปัญหาที่สั่งสมในใจ ยิ่งในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่ยาวนานแบบนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นใครทั้งหนุ่มสาววัยทำงานที่ต้องปรับตัวกับการ Work From Hงome วัยเรียนที่ต้องปรับตัวกับการเรียนออนไลน์ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ลดลง หรือ ผู้สูงวัยที่ไม่สามารถไปไหนได้ตามใจ ต้องเก็บตัวอยู่บ้านและระมัดระวังตัวตลอดเวลา ก็ล้วนเกิดความเครียดได้ทั้งสิ้น
เมื่อเกิดความเครียดจึงไม่มีสมาธิ ผลกระทบจึงบังเกิดขึ้นรอบด้าน ทั้งประสิทธิภาพในการทำงาน การเรียนที่ลดลง อารมณ์ที่แปรปรวนจนเอาแน่เอานอนกับตัวเองไม่ได้ ส่งผลความสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้ดำเนินมาถึงจุดย่ำแย่ ชีวิตเริ่มรวน ความร่าเริงที่เคยมีก็ค่อยๆ จางหายไป แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะกู้คืนชีวิตที่สดใสเหล่านั้นกลับมาคืนมาได้?
How to ทิ้ง “ความเครียด” เพิ่มพลังแห่งความสุข
เริ่มต้นสำรวจตัวเอง หากมีอาการเหล่านี้ = เครียด
การรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์ตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องหมั่นสังเกต สำรวจอยู่เสมอ หากมีอาการเหล่านี้แสดงว่าคุณถูก “ความเครียด” บุกเข้าให้แล้ว!
• อารมณ์แปรปรวนขึ้นลงแบบที่ตัวเองเรายัง “งงใจ” นี่มันอารมณ์ไหนกันนะ
• ทั้งกลัว ทั้งเครียด และวิตกกังวลไปหมดทุกเรื่อง
• กิจกรรมที่เคยสนุกกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับคุณ รู้สึกเฉื่อยชา ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใสเหมือนที่เคย
• วีน! หงุดหงิดและฉุนเฉียวง่าย นิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่พอใจไปเสียหมด
• อยากพัก อยากนอน แต่ก็นอนไม่หลับ ต่อให้หลับก็หลับไม่สนิทอยู่ดี
• ฝันร้ายเป็นประจำทุกค่ำคืน
• พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป บางคนกินน้อย เบื่ออาหาร ไม่สนุกกับการกินเลยสักนิด บางคนก็เยอะผิดปกติ
• ไม่มีสมาธิ หลงๆ ลืมๆ จนกระทบเรื่องหน้าที่งาน
• การตัดสินใจของคุณด้อยประสิทธิภาพลง ไม่เฉียบคาดดังเดิม
• หนักๆ เข้า คุณอาจจะรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่าและไม่อยากมีชีวิตอยู่
Covid-19 กัดกินจิตใจ ส่งผลให้คนเครียดยิ่งขึ้น
ถึงแม้ว่าผลกระทบหลักของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 จะมุ่งไปที่ปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย จากตัวเลขของผู้ติดเชื้อรอบใหม่ที่ทะยานสูงจนน่ากังวลใจ แต่อีกปัญหาหนึ่งที่ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ติดเชื้อหรือไม่ ก็ไม่อาจละเลยได้คือ “ภาวะความเครียด”
ถ้าคุณเป็นผู้ติดเชื้อ แน่นอนว่าคุณต้องเครียดกับการเข้ารับการรักษาอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังต้องต่อสู้กับ “ความรู้สึกผิด” ที่ติดเชื้อ แพร่ และนำความเสี่ยงไปยังคนรอบตัว ความโดดเดี่ยวระหว่างการเข้ารับการรักษา รวมถึงความกลัวความวิตกกังวลในเรื่องการรักษา
แต่ถ้าคุณยังไม่ติดเชื้อ คุณอาจต้องพบกับภัยความเครียดที่แฝงมากับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การต้องติดอยู่กับ สภาพแวดล้อมเดิมๆ การทำงาน Work from Home พร้อมกันหลายๆ คนในบ้าน หรืออาจจะต้องทำงานอยู่คนเดียวในคอนโดที่ไม่เจอใคร เข้าสังคมน้อยลง ไม่ได้ออกไปเที่ยว รวมถึงความกังวลเรื่องเศรษฐกิจ หน้าที่การงาน ความมั่นคง และการวางแผนชีวิตในอนาคต ก็เป็นความเครียดที่เกิดได้ในยุคแห่งความไม่แน่นอนแบบนี้
ปรับวิธีคิดให้เข้าใจความเครียด
เมื่อความเครียดอยู่ตรงหน้าแล้ว หนทางเดียวที่จะป้องกันตัวเองจากความทุกข์ใจ คือการทำความเข้าใจและยอมรับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น พยายามคิดบวกและให้กำลังใจตัวเอง คนรอบข้างให้ได้มากที่สุด
• มองที่ปัจจุบันและอย่าหมดหวัง ในช่วงเวลาแบบนี้ต้องให้กำลังใจตัวเอง และรักษาตัว ประคับประคองให้แต่ละวันผ่านไปด้วยดีนั้นจะช่วยให้เรารู้สึกดีได้ การกดดันตัวเอง จนเกิดเป็นความเครียดท้อแท้อาจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด
• เสพข่าวอย่างพอประมาณ แน่นอนว่าเราไม่อาจหลีกเลี่ยงการติดตามข่าวสารได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าการติดตามข่าวสารมากเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะเครียดได้เช่นกัน
• ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด! ป้องกันตัวเองจากโควิด-19 ตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ด้วยการเว้นระยะห่าง เลี่ยงการสัมผัส สวมหน้ากากอนามัย งดกิจกรรมปาร์ตี้ และเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่หรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
• หมั่นตรวจสอบสุขภาพกายและจิตใจ นอกจากจะสำรวจอาการที่อาจเป็นผลมาจากโควิด-19 แล้ว ยังต้องเฝ้าระวังภาวะความเครียด ซึมเศร้าด้วย
How To จัดการความ “เครียด” ในยุคนี้
นอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดแล้ว การปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันให้เข้ากับยุคนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ให้เราปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้
• Work Life Balance เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้
การจัดสรรเวลาทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้! แบ่งนอนให้เพียงพอ แบ่งเวลาทำงาน ใช้เวลากับคนในครอบครัว และหาเวลาให้กับตัวเองบ้าง จะช่วยลดความเครียดได้เยอะ
• ออกกำลังกาย คลายเครียดได้เสมอ
ลดความเครียด ด้วยการหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข วางงานลงแล้วลุกไปยืดเส้นยืดสาย ไม่ว่าจะออกกำลังกายเบาๆ 10 นาที หรือออกกำลังจริงจังวันละ 30 นาที ก็ช่วยให้เราหยุดโฟกัสเรื่องงานได้ดี
• กิจกรรมเสริมสมาธิ
ช่วงวิกฤตที่จิตใจเราฟุ้งซ่านแบบนี้ เหมาะมากที่จะเริ่มต้นฝึกจิต ทำสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก เริ่มจากวันละ 5-10 นาที แล้วคุณจะรู้ว่าความคิดที่แล่นอยู่ในหัวตลอดเวลามันจะบรรเทาลง
• สร้างนิสัยการกินที่ดี
ปรับนิสัยการกินให้เข้าสู่โหมดปกติ ครบทั้งมื้อเช้า กลางวัน เย็น อาจลองเป็นเชฟโดยเริ่มจากเมนูง่ายๆ หรือถ้าวันไหนยุ่งๆ ก็สั่งเมนูโปรดผ่าน Delivery App บ้างก็ได้
• Chit-Chat กับเพื่อนๆ
จริงอยู่ที่เราไม่สามารถออกไปพบปะเพื่อนฝูงได้ แต่เราก็ยังสามารถพูดคุย ปรึกษาหารือ ระบายชีวิต หรืออัปเดตเรื่องราวของเพื่อนๆ ได้ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย รับรองว่าเพื่อนจะช่วยให้คุณสบายใจได้อยู่ไม่น้อยเลย
• งานอดิเรกช่วยได้
นี่อาจเป็นช่วงเวลาที่ทำให้คุณได้ค้นพบและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ลองหากิจกรรมที่ได้จะปลดปล่อยจินตนาการทำดู เช่น ทำขนม วาดรูป เล่นดนตรี งานประดิษฐ์ ปลูกต้นไม้ ช่วยให้สมองได้ผ่อนคลายได้ดีเลย
• อัพสกิลด้วยคลาสเรียนออนไลน์
ใช้เวลาที่เหลือในแต่ละวัน มาเรียนออนไลน์อัพสกิลแบบฟรีๆ หรือจ่ายเงินเล็กน้อยกับคอร์สออนไลน์ที่สนใจทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีให้เลือกมากมาย นอกจากได้ความรู้แล้ว ยังนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกทั้งในเรื่องงาน หรือในชีวิตประจำวัน
• ตามเก็บซีรีส์ หนังสือ เพลงโปรด podcast ดีๆ
อีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยฮีลใจคุณได้ดี คือการดูซีรีส์ดีๆ อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือ podcast ดีๆ จะช่วยให้คุณได้พักสมอง ผ่อนคลาย เผลอๆ อาจมีผลพลอยได้ เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา หรือไอเดียดีๆ ที่จะทำให้ชีวิตไปต่อได้ด้วย
ความเครียดเกิดขึ้นได้ ถ้าเรารู้จักตัวเอง เข้าใจและปรับวิธีคิด เราก็เรียนรู้ที่อยู่กับความเครียดด้วยสติ และผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ ล้วอย่ามองข้ามกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่จะให้คุณได้พักใจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะนี่อาจสร้างความสุขเล็กๆ ให้กับชีวิตได้ ในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้
5 บันทึก
6
3
5
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย