21 ก.พ. 2022 เวลา 02:47 • การศึกษา
มีเซ็กซ์ได้ แม้ในขณะหลับ
กลุ่มอาการของ sexomnia
ใครว่าการนอนหลับ ไม่สามารถร่วมรัก หรือมีเพศสัมพันธ์ได้ คงต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ เนื่องจากรูปแบบของกลุ่มอาการ เซ็กซ์ซอมเนีย (sexomnia) สามารถเป็นไปได้ แม้กระทั้งการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง ก็เป็นไปแล้ว
หากมองแบบผิวเผิน อาจจะคล้ายกับอาการฝันเปียก หรือ Nocturnal Emissions แต่ความจริงแล้วมันค่อนข้างต่างกัน ฝันเปียกเกิดจากถึงจุดไคลแม็กซ์ของร่างกาย เมื่อร่างกายต้องการขับอสุจิที่มีปริมาณมากออกไป พร้อมกับระดับฮอร์โมนทางเพศที่สูงลิบลิ่ว ส่วนใหญ่มักพบในวัยรุ่น ที่ร่างกายเริ่มเข้าสู่การเจริญพันธุ์
แต่ในกรณีของ เซ็กซ์ซอมเนีย เกิดจากความต้องการส่วนลึกของภายใน ขณะที่ร่างกายไม่อาจตอบสนอง หรือดำเนินการให้เกิดสมดุลได้ อธิบายแบบเข้าใจง่าย คือ เมื่อเราเหนื่อยล้า ร่างกายต้องการพักผ่อน แต่ส่วนลึกยังมีความต้องการเพศ ในขณะที่กำลังเคลิ้มหลับ กลไกการทำงานของร่างกาย จึงผลักดันให้ตัวเองได้รับการตอบสนอง เช่นการช่วยตัวเอง หรือในบางราย สามารถร่วมรักได้อย่างปกติ ความไม่ปกติเพียงอย่างเดียวที่พบได้คือ ผู้ป่วยจะจดจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย พูดง่ายๆ หมายถึงการละเมอ แล้วมีเซ็กซ์นั่นเอง
1
จากการประชุมประจำปีทางวิชาการของ Associated Professional Sleep Societys ที่ San Antonio ได้สรุปกลุ่มอาการ sexomnia ให้เป็นหนึ่งในรูปแบบของอาการละเมอที่เรียกว่า parasomnia ซึ่งเกิดขึ้นได้จริง ตามข้อมูลงานวิจัยของ ชารอน ชุง (Sharon A. Chung)
1
ย้อนกลับไปในปี 2008 เคยมีคดีในชั้นศาลคดีหนึ่ง ซึ่งจำเลยคือชายหนุ่ม ในโทรอนโต ประเทศแคนาดา ถูกพิพากษาคดีล่วงละเมิดแฟนสาว โดยจำเลยอ้างว่าทำไปโดยไม่รู้ตัว จากการละเมอ นั่นทำให้นำมาสู่การวิจัยอย่างจริงจัง
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง กับอาสาสมัครจำนวน 832 คน ทั้งชายและหญิงพบว่า อาการละเมอเซ็กซ์ หรือ Sleep Sex มีอาการแตกต่างกันหลายระดับ ตั้งแต่การพยายามช่วยตัวเอง (masturbation) ไปจนถึงการสอดใส่ ซึ่ง 11% ของผู้ชาย และ 4% ของผู้หญิง ยอมรับถึงอาการ Sleep Sex นี้
สำหรับอาการละเมอเซ็กซ์นั้น ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะนอนหลับไม่เต็ม 100% หรือยังกึ่งหลับ กึ่งตื่น แต่ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ เป็นการทำงานภายใต้ภวังค์ฝัน
งานวิจัยยังพบสาเหตุหลัก ที่กระตุ้นให้เกิดอาการเหล่านี้ เนื่องมาจากการใช้สารเสพติดบางประเภท การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน รวมไปถึงกลุ่มอาการนอนไม่กลับอยู่แล้ว มักจะมีแนวโน้มมากกว่าคนทั่วไป
1
หลังจากผ่านพ้นช่วงอาการดังกล่าวแล้ว ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำอะไรได้เลย ลักษณะคล้ายกับการละเมอ แต่ปัจจุบัน sexomnia สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยยาในกลุ่ม benzodiazepines เช่น clonazepam แต่ปัญหาสำคัญคือ มีผู้ป่วยเพียงน้อยราย ที่จะสามารถรับรู้ตัวเอง ว่าป่วยเป็นโรคละเมอเซ็กส์ และเข้ารับการรักษา
2
อย่างไรก็ดี นับเป็นกลุ่มอาการที่ค่อนข้างเสี่ยง เนื่องจากการละเมอ คือการกระทำที่เราไม่รู้ตัว อาจนำมาซึ่งปัญหาทางกฎหมายมากมาย อีกทั้ง หากมองในมุมกลับกัน มันก็อาจถูกใช้เป็นช่องโหว่ ในการก่อคดีด้วย
กดไลค์ถ้าถูกใจ
แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์
คอมเมนท์เพื่อแนะนำและติชม
อัพเดทบทความสนุกแบบรัว ๆได้ที่
***พิมพ์ 1 แทนไอ ใส่ 0 แทนโอ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา