22 ก.พ. 2022 เวลา 01:32 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ของครีมกันแดด
(เรียบเรียงโดย อุปถัมถ์ นาครักษ์)
เมื่อนึกถึงหน้าร้อน หลายคนมักจะนึกถึงชายหาดและทะเล การนอนอาบแดด และกิจกรรมต่างๆ ไอเทมหนึ่งที่หลายๆคนมีติดตัวในการไปเที่ยวทะเลก็คือครีมกันแดด และเอาจริงๆ ถึงแม้จะไม่ได้ไปทะเล ครีมกันแดดก็ยังเป็นสิ่งที่คนไทยใช้กันอย่างแพร่หลาย (ดูแดดบ้านเราสิ)
ในบทความนี้เรามาทำความเข้าใจประเด็นทางวิทยาศาสตร์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกัน
ก่อนอื่นเลยเรามารู้จักรังสียูวี (UV) กันสักนิด
UV คือรังสีที่อยู่ในแสงอาทิตย์ อาจจะแบ่งได้เป็นสามชนิดคือ UV-C ที่มีพลังงานมากที่สุดและอันตรายที่สุด แต่จะถูกดูดกลืนไปที่บรรยากาศชั้นโอโซนของโลกทั้งหมดแล้ว เหลือมาถึงผิวโลกแค่ UV-B และ UV-A ซึ่งส่งผลในแง่ลบต่อผิวหนังมนุษย์ได้ หากได้รับมากเกินไป
ที่มา : Researchgate
ครีมกันแดดจะทำหน้าที่ปกป้องเราจากรังสี UV-B และ UV-A ซึ่งวิธีการที่จะปกป้องเราจากรังสี UV นั้นก็จะมีสองแบบด้วยกันคือ ดูดกลืนมันไว้ (Sunscreen) หรือ สะท้อนมันออกไป (Sunblock) มีใครเคยสังเกตไหม เวลาทาครีมกันแดดแล้วรู้สึกเหมือนตัวเองตัวจะมัน ๆ วาว ๆ นั่นละ คุณกำลังใช้ครีมกันแดดแบบที่สะท้อนรังสี ส่วนอีกแบบก็จะไม่มันวาวเท่า
1
จริงๆแล้วธรรมชาติก็ไม่ได้โหดร้ายกับคนเรานะ เพราะธรรมชาติได้สร้างเม็ดสีเมลานินมาให้เป็นครีมกันแดดตามธรรมชาติอยู่แล้ว โดยเจ้าเม็ดสีนี้จะทำหน้าคอยดูดกลืนรังสี UV เพื่อปกป้องร่างกายเรานั่นเอง
สารเคมีที่ใช้ในครีมกันแดดนั้นมีหลายอย่าง แต่จากประกาศที่ทางอุทยานแห่งชาติห้ามใช้ครีมกันแดดนั้น ทางอุทยานแห่งชาติได้ห้ามใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารกันแดด 4 ชนิดคือ
• Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3)
• Octinoxate (Ethylhexylmethoxycinnamate)
• 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC)
• Butylparaben
โครงสร้างทางเคมีของสารเคมีที่ใช้ในครีมกันแดดที่ถูกห้ามโดยอุทยานแห่งชาติ ที่มา : Wikipedia
เนื่องมาจากในปี ค.ศ. 2016 Dr. Craig Downs แห่ง Haereticus Environmental Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รายงานผลการวิจัยที่ค้นพบว่าสาร Oxybenzone ส่งผลให้ปะการังเกิดการฟอกขาวในเขตแนวปะการังที่ฮาวาย ซึ่งต่อมาทำให้เกิดการยกเลิการใช้สาร Oxybenzoneและ Octinoxate ในฮาวาย และหลังจากนั้นในอีกหลาย ๆ ประเทศก็ได้ใช้กฏหมายเดียวกัน
แต่ครีมกันที่มีขายส่วนใหญ่นั้นมักจะใช้ส่วนผสมอื่นๆ แต่เพื่อความมั่นใจ ก่อนจะซื้อก็ช่วยกันอ่านฉลากซักนิดก่อนนะครับ จะได้เที่ยวทะเลได้อย่างสบายใจ ^^
อ้างอิง
2) K.H. Jaidbey, et al., “Photoprotection by melanin – a comparison of black and Caucasin skin”, Journal of the American Academy of Dermatology, 1979, 1(3), 249-260.
3) J.P. Ortonne, “Photoprotective properties of skin melanin”, British Journal of Dermatology, 2002, 146(s61), 7-10.
โฆษณา