Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
23 ก.พ. 2022 เวลา 01:14 • ปรัชญา
“ใจ - จิต - ตัวรู้/ผู้รู้ ในเชิงลึก”
อธิบายความแตกต่างของ
1) ใจ (Mind)
2) จิต
3) ตัวรู้/ผู้รู้
1
จริง ๆ แล้วคำว่า “จิต” ก็ดี “ใจ” ก็ดี “ตัวรู้” ก็ดี มันก็คือสิ่งเดียวกัน เพียงแต่ว่าเป็นสมมติของภาษาเท่านั้นเอง บางอันก็เรียกว่า “ใจ” บางอันก็เรียกว่า “จิต” บางอันก็เรียกว่า “ตัวรู้/ผู้รู้”
แต่ถ้าจะลงลึกลงไป ธรรมชาติของจิตมันจะไหลไปกับอารมณ์ใช่ไหม ? เกิดการปรุงแต่ง เรียกว่าเกิดนันทิ ความเพลิดเพลินในอารมณ์ หรือเกิดกระแสของปฏิจจสมุปบาท ถ้าเราจะหลุดจากวงจรตรงนี้ ก็ต้องอาศัยอบรมสติปัฏฐาน ๔ ระลึกรู้สึกตัวขึ้นมา
ในขณะที่รู้สึกตัว จิตที่ไหลไปกับอารมณ์จะถูกละออกไป ๆ กระแสปฏิจจสมุปบาทจะถูกละออกไป เพราะฉะนั้นกระแสปฏิจจสมุปบาท กับ สติ จะเป็นคู่ปรับกันแบบนี้
ในขณะชั้นกามาวจร จิตมันก็จะเกิดตามอายตนะ
เกิดทางตา เกิดการเห็น
เกิดทางหู เกิดการได้ยิน
เกิดทางจมูก เกิดการได้กลิ่น
เกิดทางลิ้น เกิดการลิ้มรส
เกิดทางกาย เกิดสัมผัสทางกาย
เมื่อไม่มีสติรู้เท่าทัน ก็จะเกิดความชอบ ความชัง เกิดตัณหาอุปาทาน
เกิดตัวตน เกิดภพ เกิดชาติ ในทุก ๆ ขณะจิต กระแสของปฏิจจสมุปบาท
ถ้ามีสติรู้เท่าทันมันตัดกระแส มันเหลือแค่สักแต่รู้ สักแต่รู้สึก การมีสติตื่นขึ้นสักครั้งหนึ่ง มันตัดภพตัดชาติกันแบบนี้เลยนะ
1
2
แล้วเมื่อเราฝึกไปเรื่อย ๆ จนมีสติตั้งมั่น มันตัดลงไปลึกซึ้งกว่านั้นอีก ก็คือมันไม่ทันเกิดตามอายตนะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
มันเกิดที่ใจอย่างเดียว เกิดที่ใจแล้วมันก็ตัด ๆ
นั่นจึงเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่า “สัมมาสมาธิ-สติตั้งมั่น”
เวลาสติตั้งมั่น มันไม่ได้ใช้อายตนะตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้ว
รู้ที่ใจ รับรู้ที่ใจ ที่บางทีเราได้ยินว่าหูทิพย์ ตาทิพย์
มันไม่มีหรอกหูทิพย์ ตาทิพย์ มันรู้ที่จิตอย่างเดียวเลย
ใจมันเป็นทิพย์ อย่างเทวดา พรหม เขาไม่ได้มีตาแบบเราหรอก
รับรู้ด้วยความเป็นทิพย์ทั้งหมดเลย
เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึกจนสติตั้งมั่นจริง ๆ หลับตาเนี่ยเห็นได้ รับรู้ได้ รู้ด้วยจิต
ตาเนื้อ อายตนะนี่มันใช้แค่ในชั้นกามาวจร
ก็คือ จิตมันเกิดที่ตามันก็เกิดการเห็นใช่ไหม
แต่พอในสมาธิปุ๊บ มันเกิดที่อายตนะใจอย่างเดียว มันจึงเกิดความตั้งมั่น ในระดับรูปาวจรเป็นต้นไป อรูปาวจรก็เช่นกัน
แล้วเมื่อฝึกไปจนเกิดสติตั้งมั่น เอกัคคตาจิต เกิดความตั้งมั่นเป็นหนึ่ง ธรรมอันเอกปรากฏขึ้น ตรงนี้ ที่ความตั้งมั่นเป็นหนึ่ง จริง ๆ แล้วมันประกอบด้วย ๒ สิ่ง
สิ่งหนึ่งก็คือ วิญญานขันธ์ หรือ จิต ซึ่งมันเกิดมาจากอวิชชา
กับอีกสิ่งหนึ่ง คือ อมตธรรม ที่มันถูกอวิชชาห่อหุ้มอยู่
ทุกคนมีธรรมชาติ ๒ สิ่งนี้อยู่ด้วยกัน
ถ้าไม่มี ไม่สามารถพ้นจากทุกข์ได้เลย
ที่ครูบาอาจารย์ท่านพูดถึง ทุกคนมีส่วนหนึ่งของพุทธะ ก็คือมีส่วนหนึ่งของอมตธรรมนี้อยู่ ไม่งั้นไม่สามารถพ้นทุกข์ได้เลย
ปกติถ้าเราไม่ได้ปลุกสภาวะรู้ขึ้นมา จิตมันจะไหลไปกับอารมณ์
พอปลุกขึ้นมา กระตุ้นตัวรู้ขึ้นมา กระแสของจิตมันจะตัดอย่างนี้
มันเป็นคู่ปรับกันแบบนี้
แล้วเมื่อใดก็ตามที่ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เมื่อสติตั้งมั่น เปลื้องจิต หรือน้อมจิตเข้าสู่อมตธาตุ นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต ไม่มีปัจจัยปรุ่งแต่ง นี่วิธีพลิกจากสมาธิเป็นวิปัสสนาญาน พลิกจากโลกียธรรมเป็นโลกุตตระ
กระบวนการเปลื้องจิตตรงนี้ มันคือการแยกออกระหว่าง
อมตธรรมที่ถูกอวิชชาห่อหุ้ม กับ ตัววิญญานขันธ์
ปกติแรงยึดตรงนี้มันเป็นยางเหนียวเลย
มันเป็นแรงยึดติดที่เหนียวแน่นมาก
จนเรามีความรู้สึกว่ามีความเป็นหนึ่ง เป็นจิตผู้รู้
แต่จริง ๆ แล้วมันยังมีอาการยึดวิญญานขันธ์อยู่ ตัวรู้นั่นแหละ
วิญญานขันธ์ คือ จิตตั้งมั่น เป็นโลกียธรรม
เราจะก้าวข้ามไปสู่วิปัสสนาญานได้ ต้องเปลื้องจิตออก
หรือน้อมจิตเข้าสู่อมตธาตุนั่นเอง
นั่นคือวิธีพลิกเป็นวิปัสสนาญาน
วิธีการฝึกตรงนี้ ก็คือ เมื่อเราปลุกสภาวะรู้จนมันตื่น มีกำลังพอ
จนสภาวะรู้ มันมีกำลังเหนือแรงยึดติดตรงนี้
มันจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ออกมา
ปกติจิตเป็นผู้รู้ เป็นตัวรับรู้ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับโลกียธรรม
ถ้าในกามาวจรก็รับรู้ด้วยอายตนะตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ถ้าในระดับสมาธิก็รับรู้ด้วยจิตอย่างเดียว
แต่เมื่อพลิกเป็นวิปัสสนาญาน
แม้กระทั่งจิตผู้รู้ตรงนี้ ก็กลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
ในชั้นสมาธิมันเป็นธรรมคู่ ก็คือจิตผู้รู้ กับ อารมณ์ที่ถูกรู้ ใช่ไหม
เป็นของคู่กัน นั่นคือโลกียธรรม ยังไม่ใช่วิปัสสนาญาน
แต่เมื่อพลิกเป็นวิปัสสนาญาน
ทั้งสิ่งที่ถูกรู้ และ จิตผู้รู้ ก็กลายเป็นสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหมดเลย
เกิดธรรมอันเอก หรือ ธรรมอันหนึ่งขึ้นมา
ตรงจิตตั้งมั่นนี่แหละ คือประตูแห่งอมตธรรม แล้วเมื่อใดที่เปลื้องออก แรงยึดติดตรงนี้มันคลายออกไป มันหลุดออกไป จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า เห็นตามความเป็นจริง หรือ ธรรมจักษุปรากฏขึ้น
ฉะนั้นคำว่า “ธรรมจักษุ” หรือ “ญาน” ที่เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง มันก็คืออมตธรรม ที่เป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ตรงนี้ มันตื่นขึ้นมา แล้วมันเกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
ในขณะที่ดำรงอยู่ในวิปัสสนาญานตรงนี้
สภาวะจะเป็นประดุจหยดน้ำบนใบบัว
สรรพสิ่งจะกลิ้งออก หลุดออกจากกัน
เกิดการแยกธาตุแยกขันธ์
การแยกธาตุแยกขันธ์ มันไม่ใช่เราเอามาแยกเอง นี่กาย นี่จิต … ไม่ใช่
มันเกิดขึ้นในสภาวะวิปัสสนาญาน
สรรพสิ่งมันจะเกิดการแยกธาตุ แยกขันธ์
เหมือนน้ำกับน้ำมันที่มันไม่ระคนกัน
ผู้ที่เข้าถึงวิปัสสนาญานตัวจริงเท่านั้น
ถึงจะแยกออกระหว่าง การทำงานของวิญญานขันธ์
กับ การทำงานของญาน มันต่างกัน
.
ธรมรบรรยาย
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
เยี่ยมชม
youtube.com
ธรรมให้รู้ : ตอนที่100 - ใจ•จิต•ตัวรู้ โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
บรรยายธรรมโดย พระมหาวรพรต กิตติวโร ประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิเดินจิต
Photo by : Unsplash
4 บันทึก
13
6
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เกล็ดธรรมคำครู
4
13
6
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย