"ฉันชอบซอมบี้นะ อาจจะฟังดูแปลกแต่ฉันมองว่า การที่พวกเขาต้องหาอาหารอย่างยากลำบาก มันเป็นเรื่องที่แย่นะ ดังนั้น เราอจจะมีละครหรือหนังที่พูดถึงการแย่งชิงอำนาจและการเมือง แต่จุดเริ่มต้นของเรื่องราวสำหรับฉันคือความหิวโหยเนี่ยแหละ" Kim Eun-hee กล่าว
Kingdom (2019)
ความโด่งดังของภาพยนตร์ซอมบี้ถูกพูดถึงในแง่การหยิบยืมวัฒนธรรมอเมริกันเข้ามาสู่วงการบันเทิงเอเชีย Yeon อธิบายว่า เขาได้รับแรงบันดาลใจจาก "28 Days Later" ของ George Romero และ Danny Boyle ส่วน kim ได้แรงบันดาลใจจาก "Dawn of the Dead" และ " The Masque of the Red Death" Kim อธิบายว่า เธอชอบภาพยนตร์ซอมบี้เพราะความเร้าอารมณ์ที่กดดันที่มีในภาพยนตร์ " ลองจิตนาการว่า คนในครอบครัว คนรัก หรือเพื่อนบ้านสามารถเปลี่ยนเป็นปีศาจได้ ฉันรู้สึกถึงความสยดสยองและความโศกเศร้าพร้อมๆกันเลย"
ซีรีย์ซอมบี้เกาหลีล่าสุด All of Us Are Dead ได้หยิบยกประเด็นที่ถูกกล่าวถึงหลายครั้งหลายคราวในซีรีย์เกาหลี นั่นคือ การบูลลี่ในโรงเรียน มาเป็นประเด็นเปิด ซึ่งแม้ว่าจะถูกหยิบมาถกเถียงหลายครั้งหลายครา แต่การบูลลี่ในโรงเรียนก็ยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับเอเชียตะวันออก และเมื่อซีรีย์ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เราจะได้เห็นประเด็นทั้งในระดับโรงเรียน การศึกษา มิตรภาพ ความรักในครอบครัว การเสียสละ จนไปถึงการประเด็นระดับประเทศ เช่น การเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ประชาชนโดยที่ไม่มีการถามไถ่จากรัฐบาล (หรือหน่วยงานรัฐใดๆ) การตีค่าความสำคัญของชีวิตมนุษย์ และศีลธรรมผู้แทนราษฎรที่พร้อมจะฉกฉวยทุกอย่างเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียงได้
All of Us Are Dead (2022)
แน่นอนว่า All of Us Are Dead อาจไม่ใช่ซีรีย์ที่ดีที่สุด และการดำเนินเรื่องอาจมีบางช่วงที่ต้องขมวดคิ้ว "อิหยังวะ" แต่ประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงก็ทำให้ผู้ชมได้ขบคิดกันเบาๆ นอกเหนือจากการได้ดูอีกครั้งว่าทำไมซีรีย์เกาหลีถึงแซงหน้าละครไทยแบบไม่เห็นฝุ่น
หรืออย่างน้อย ไปดูความน่ารักของ Park Solomon และ น้อง Cho Yi-hyun ก็คุ้มแล้ว