23 ก.พ. 2022 เวลา 04:52 • ไลฟ์สไตล์
Red flag🚩
"ความรู้สึกที่แท้จริงของคนเรามักซ่อนใน 'Micro Behavior' เป็นสัญญาณที่อาจ 'หายไปในชั่วพริบตา'
คนที่รู้จักสังเกตคนอื่นจะไม่ยอมมองข้ามเด็ดขาด"
แค่ประโยคนี้ประโยคเดียวทำให้ฉุกคิดและอยากเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตพฤติกรรมของคน
บุคลิกท่าทางที่บ่งบอกถึงความคิดของคนเรา มีทั้งแบบที่แสดงให้เห็นต่อเนื่องในบางช่วงเวลาหนึ่ง และแบบที่หายไปในชั่วพริบตา ถ้าเราไม่สังเกตให้ดีอาจมองข้ามผ่านไปได้จึงต้องระวังให้มาก
คนที่จับตามองคู่สนทนาตลอดเวลาจะสังเกตเห็นบุคลิกท่าทางเพียงชั่วพริบตาได้แต่คนที่ไม่ค่อยมองคู่สนทนามักไม่ทันเห็นทำให้ไม่เข้าใจความคิดและความรู้สึกที่แท้จริงของอีกฝ่ายได้
นักจิตวิทยาชื่อ ออเดรย์ เนลสัน (Audrey Nelson)ได้ให้คําบัญญัติ สัญญาณที่หายไปชั่วพริบตาหรือสัญญาณเพียงชั่ววินาทีว่า 'Micro Behavior'
สิ่งสำคัญในการอ่านใจผู้อื่นไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าเขาแสดงพฤติกรรมนั้นนานแค่ไหน เพราะแม้เป็นการแสดงออกแค่เพียงเสี้ยววินาทีก็อาจบ่งบอกความคิดคนผู้นั้นได้ชัดเจน
ทุกคนเราจึงต้องสังเกต เอาใจใส่ความรู้สึกของอีกฝ่ายเพื่อไม่ให้พลาดสัญญาณใดๆ ที่เขาแสดงออกมา ไม่เช่นนั้นอาจมองข้ามสิ่งสำคัญไปและไม่สามารถมองเห็นความรู้สึกที่แท้จริงของคนผู้นั้นได้
พฤติกรรมของคนที่แสดง Micro Behavior และแนวทางการปรับพฤติกรรม
1.หยุด เอาตัวเองไปจมกับงานผู้อื่น
2.หยุด ตัดสินใจแทนผู้อื่น
3.หยุด เข้าไปมีส่วนร่วมกับงานผู้อื่นมากเกินไป
4.หยุด วิจารณ์งานผู้อื่นแบบละเอียด
5.หยุด สอดส่องการทำงานผู้อื่นตลอดเวลา
6.หยุด จ้องจับผิดในงานผู้อื่น
7.หยุด กีดกันให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็น
8.หยุด เชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป
ดังนั้น การปรับปรุงพฤติกรรมโดยเปลี่ยนจาก Micro Behavior มาเป็นความใส่ใจ เพื่อประสิทธิภาพ นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลจะดีกว่าการสร้างพฤติกรรมที่เป็น Toxic
เจอราร์ด อีแกน(1990) กล่าวว่า การแสดงความใส่ใจ อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ
1. ระดับจุลทักษะ (Micro skills Level)
2. ระดับภาษากาย (Bodily Language Level) และ
3. ระดับปัจจุบันขณะทางสังคมและอารมณ์ (Social-emotional presence Level)
1. ระดับจุลทักษะ (Micro skills Level) ถือได้ว่าเป็นระดับของการแสดงความใส่ใจที่นับได้ว่าผิวเผินที่สุด นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงความใส่ใจ. การแสดงความใส่ใจในระดับจุลทักษะนี้อาจสรุปได้ในรูปของ S-O-L-E-R
S=Face squarely หมายถึง การนั่งทำมุมฉากกับผู้รับการปรึกษา ถามว่าทำไมต้องนั่งทำมุมกับผู้รับการปรึกษาด้วย นั่งหันหน้าเข้าหาผู้รับการปรึกษาได้หรือไม่ การหันหน้าเข้าหาผู้รับการปรึกษาไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด การนั่งประจันหน้ากัน ในบางกรณีอาจทำให้ผู้รับการปรึกษารู้สึกอึดอัด สร้างความรู้สึกว่าเป็นฝักฝ่ายว่า ด้านหนึ่งเป็นผู้ให้การปรึกษาและอีกด้านหนึ่งเป็นผู้รับการปรึกษา
การนั่งทำมุมฉากมีข้อดี คือ
-ในระยะแรกของการปรึกษา ผู้รับการปรึกษาอาจยังไม่ไว้วางใจและคุ้นเคยผู้ให้การปรึกษา การนั่งทำมุมฉากจะช่วยให้ผู้รับการปรึกษารู้สึกว่า ไม่เร่งเร้า หรือคาดคั้นให้เขาเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับตนเองมากเกินไป
-ทำให้มีพื้นที่ว่างในการมอง ในบรรยากาศของการปรึกษาในระยะเริ่มแรก ผู้ให้คำปรึกษามือใหม่หรือผู้รับการปรึกษาที่ยังไม่ไว้วางใจ อาจรู้สึกอึดอัด หากตนเองมีนิสัยขี้อาย ไม่ค่อยกล้าสบตา และต้อง
-ขณะเดียวกันก็ทำให้รู้สึกว่าผู้ให้การปรึกษากับผู้รับการปรึกษาเป็นพวกเดียวกันมากกว่าที่จะเป็นคนละฝ่าย
O=Open Gesture หมายถึง ท่าทีที่เปิดรับ หรือแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้การปรึกษาต้องการและพร้อมที่จะรับฟังสิ่งที่ผู้รับการปรึกษากำลังจะเล่า หากเราสังเกตจะพบว่าท่าทางของร่างกายอาจแสดงให้เห็นว่าการใส่ใจ เช่น การใช้มือจับคาง แสดงว่าผู้ฟังกำลังคิดตามไปด้วย การใช้มือค้ำคาง หรือผงกศรีษะเป็นระยะ แสดงว่าผู้ฟังกำลังสนใจฟังอยู่
L=Lean หมายถึง การโน้มตัวเข้าหาผู้รับการปรึกษาเล็กน้อยขณะพูดคุยกับผู้รับการปรึกษา. การโน้มตัวเป็นภาษากายที่แสดงถึงความใส่ใจ ถ้าเราจะสังเกตการณ์สถานการณ์หลายๆอย่าง เช่น วงสนทนาหรือการฟังการบรรยาย จะพบว่า หากใครสักคนสนใจเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูด เขาอาจแสดงความสนใจโดยขยับเข้าไปนั่งใกล้ผู้พูดมากขึ้นหากอยู่ในระยะไกล หรือโน้มตัวเข้าหาผู้เล่าเล็กน้อยเมื่ออยู่ในระยะที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถรับฟังเรื่องราวได้อย่างชัดเจนและไม่พลาดเรื่องตนกำลังสนใจ
ดังนั้น ในระหว่างพูดคุยการปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพจะโน้มตัวเข้าหาผู้รับการปรึกษาเล็กน้อย เพื่อแสดงให้ผู้รับการปรึกษาทราบว่า
ฉันกำลังตั้งใจเรื่องที่คุณเล่านะ เรื่องที่คุณเล่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
E=Eye Contact หมายถึง การสบตา คนทั่วไปมักกล่าวกันว่า ดวงตา เป็นหน้าต่างของดวงใจ นั่นคือ เราสามารถสื่อสารความรู้สึกหลายหลาก เช่น โกรธ เศร้า ดีใจ เสียใจ ซึมเศร้า ฯลฯ. แต่ละวัฒนธรรมรับรู้ความหมายของการสบตาแตกต่างกัน
R=Relaxation หมายถึง ท่าทีที่ผ่อนคลายไม่เป็นธรรมชาติ ดูเป็นกันเองกับผู้รับการปรึกษา
2. ระดับภาษากาย (Bodily Language Level)
สิ่งที่สำคัญกว่า การใส่ใจในระดับจุลทักษะ คือ การตระหนักว่าพฤติกรรมการเคลื่อนไหวก็เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
ผู้ให้การปรึกษาที่มีประสิทธิภาพจะใส่ใจกับ สัญญาณ(Cues) และสื่อความหมาย (massage) ที่เขาแสดงออกทางกายขณะพูดคุยกับผู้รับการปรึกษา การอ่านปฏิกิริยาทางกายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญขั้นแรก
ยกตัวอย่างถ้าคุณรู้สึกว่ากล้ามเนื้อตึงเครียดขณะพูดคุยกับผู้รับการปรึกษา ผู้ให้การปรึกษาอาจพูดกับตนเองว่า “ฉันกำลังกังวล อะไรคือสาเหตุของความกังวล และฉันกำลังส่งสัญญาณอะไรไปยังผู้รับการปรึกษา” เมื่อผู้รับการปรึกษาสามารถอ่านปฏิกิริยาของตนเองก็จะสามารถใช้ร่างกายในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมทั้งยับยั้งการแสดงความรู้สึกที่ไม่เหมาะสมที่แสดงออกทางกาย
ยกตัวอย่าง ถ้าผู้รับการปรึกษาพูดอะไรบางอย่างที่ทำให้ผู้รับการปรึกษารู้สึกโกรธโดยไม่ได้ตั้งใจ ผู้ให้การปรึกษาสามารถควบคุมการแสดงความรู้สึกโกรธเพื่อให้มีเวลาในการสะท้อน การแสดงความใส่ใจในระดับที่สองนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้ให้การปรึกษาสนใจแต่เพียงอย่างเดียวว่า ร่างกายเป็นแหล่งเดียวในการสื่อสารกับผู้รับการปรึกษา แต่หมายถึงผู้ให้การปรึกษาจะต้องเรียนรู้ที่จะใช้ร่างกายเป็นทางเลือกหนึ่งในการสื่อสาร การตระหนักและอยู่กับการสื่อสารทางกายสามารถสะท้อนความเยือกเย็นภายในตัวผู้ให้การปรึกษา กระบวนการ และผู้รับการปรึกษา
3. ระดับการแสดงออกทางสังคมและอารมณ์ (Social-emotional presence level)
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพของการอยู่กับปัจจุบันกับผู้รับการปรึกษา. ทั้งการแสดงออกทางกายและวาจาควรแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาที่ชัดเจนที่จะทำงานกับผู้รับการปรึกษา. ถ้าผู้ให้การปรึกษาสนใจและใส่ใจสวัสดิภาพผู้รับการปรึกษาจึงเป็นการไม่เหมาะสมเลยที่จะแสดงปฏิกิริยาในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำพูด. ดังนั้น ผู้ให้การปรึกษาที่มีประสิทธิภาพจะให้ความสำคัญกับการแสดงออกต่อผู้รับการปรึกษาอย่างเป็นธรรมชาติ
อ้างอิงจาก:
-8 แนวทางการปรับพฤติกรรม, เกร็ดความรู้ธรรมนิติ
-Gotoknow.org, อ่านใจคนจากบุคลิกและท่าทางนิสัย
-หนังสือ : อ่านใจคนได้ในเสี้ยววินาที (สนพ.อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง)
เขียน: โยชิฮิโตะ ไนโต แปล: อาคิรา รัตนาภิรัต
โฆษณา