23 ก.พ. 2022 เวลา 05:01 • ธุรกิจ
#Business อีลอน มัสก์ ทำยังไง Tesla ถึงจ่ายภาษีรัฐบาลแค่ 0 ดอลลาร์ แม้ว่าจะมีกำไรกว่า 5.5 พันล้าน สูงสุดนับแต่ก่อตั้ง
2
ปีที่ผ่านมา Tesla ได้กำไร 5.5 พันล้านดอลลาร์ (1.77 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 760% ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าได้เกือบ 1 ล้านคัน แถมปี 2021 ยังเป็นปีที่ Tesla ได้กำไรสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้ง
1
แต่ในปีเดียวกันนี้เอง Tesla จ่ายภาษีให้กับรัฐบาลกลางทั้งสิ้น 0 ดอลลาร์
5
TODAY Bizview จะพาไปไขคำตอบว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ Tesla ไม่ต้องจ่ายภาษีแม้แต่สตางค์แดงเดียว พร้อมทั้งตั้งคำถามถึงระบบภาษีที่เอื้อให้ทุนใหญ่จ่ายภาษีน้อยนิด แม้ว่าจะได้ประโยชน์จากประเทศชาติไปมหาศาล
4
[ ธุรกิจในสหรัฐฯ ของ Tesla ขาดทุน ]
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทต้องจ่ายให้กับรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (federal corporate tax) อยู่ที่ 21% และเอาเข้าจริง นี่คืออัตราที่ลดลงจากเดิมที่ 35% เมื่อปี 2017 แต่ดูเหมือนว่าบริษัทข้ามชาติในสหรัฐฯ ก็ยังไม่ได้เต็มใจจ่ายเงินจำนวนนี้สักเท่าไหร่
5
ภาษีที่ Tesla จ่ายให้กับรัฐบาลกลางอยู่ที่ 0 ดอลลาร์ ภาษีที่จ่ายให้รัฐบาลมลรัฐอยู่ที่ 9 ล้านดอลลาร์ (290 ล้านบาท) และจ่ายภาษีในต่างประเทศ 839 ล้านดอลลาร์ (2.7 หมื่นล้านบาท)
2
แม้ภาษีที่ต้องจ่ายอยู่ที่ 21% ก็จริง แต่ Tesla แจ้งว่าในปีที่ผ่านมา การดำเนินงานในสหรัฐฯ ไม่ได้สร้างกำไรเข้ากระเป๋าของบริษัทแม้แต่ดอลลาร์เดียว กำไรทั้งหมดมาจากการดำเนินงานในต่างประเทศ
1
ถ้าลองดูงบการเงินปี 2021 ที่ Tesla ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกาจะพบว่า
1
📍 Tesla ‘ขาดทุน’ จากการดำเนินงานในสหรัฐฯ 130 ล้านดอลลาร์
📍 Tesla ‘ได้กำไร’ จากการดำเนินงานในต่างประเทศ 6,000 ล้านดอลลาร์
2
แม้เอาเข้าจริง รายได้เกือบครึ่งของ Tesla จะมาจากยอดขายในสหรัฐฯ ก็ตาม
คำถามสำคัญก็คือ อะไรที่ทำให้ Tesla สามารถเล่นแร่แปรธาตุ ย้ายกำไรที่ได้ไปอยู่ในต่างประเทศ?
2
[ กำไรก็ย้ายประเทศได้เหมือนกัน! ]
Martin Sullivan หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Tax Analyst หน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรด้านนโยบายภาษีเชื่อว่า ผลประกอบการณ์ขาดทุน 130 ล้านดอลลาร์ จากการดำเนินงานในสหรัฐฯ เกิดจากการสร้างบริษัทลูกสักบริษัทไว้สักที่ในโลก เป็นบริษัทที่เอาไว้รับกำไรในทางบัญชี แล้วทิ้งผลประกอบการในสหรัฐฯ ขาดทุนหรือไม่ก็ได้กำไรแค่เล็กน้อย
1
การทำแบบนี้สำหรับบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ไม่ใช่เรื่องยาก เขายกตัวอย่างว่าบริษัทหนึ่งๆ อาจสามารถโยกย้ายกำไรได้ด้วยการมอบทรัพย์สินทางปัญญาให้กับบริษัทย่อยของตัวเองในต่างประเทศ และคิดค่าใช้จ่ายเมื่อบริษัทของตนเองในสหรัฐฯ มาใช้งาน
Sullivan ชี้ว่า นี่คือสิ่งที่บริษัทข้ามชาติในสหรัฐฯ ทำกันเป็นปกติ ปล่อยให้บริษัทในประเทศของตัวเองต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาล ส่วนบริษัทย่อยในต่างประเทศก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ และบริษัทเหล่านี้ก็มักจะตั้งอยู่ในประเทศที่เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำ
4
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ รายงานว่า รายได้จากต่างประเทศของบริษัทข้ามชาติของสหรัฐฯ กว่า 61% เกิดขึ้นใน 7 ประเทศ (และดินแดน) เท่านั้น คือ เบอร์มิวดา หมู่เกาะเคย์แมน ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ และทั้งหมดนี้คือประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสวรรค์ภาษีทั้งสิ้น
1
Tesla ไม่ได้ระบุเอาไว้ในงบการเงินว่ารายได้จากต่างประเทศของบริษัทมาจากประเทศไหน แถมยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับงบการเงินดังกล่าวกับทาง CNN
2
[ อีลอน มัสก์ ชายผู้จ่ายภาษีมากที่สุดในสหรัฐฯ (?) ]
ตรงข้ามกับ Tesla อีลอน มัสก์ ป่าวประกาศให้โลกรู้อย่างภาคภูมิใจผ่านทวิตเตอร์ว่าจะจ่ายภาษีในปี 2021 ทั้งสิ้น 11,000 ล้านดอลลาร์ มากกว่าชาวอเมริกันคนไหนๆ ในประวัติศาสตร์
4
เงินจำนวนนี้จะว่าเยอะก็เยอะอยู่ แต่เอาเข้าจริงถ้าเราลองดูเป็นเปอร์เซ็นต์อาจจะทำให้เราได้เห็นอะไรบางอย่างมากขึ้น
ข้อมูลจาก Bloomberg Billionaires Index ชี้ว่าในปี 2021 ซีอีโอของ Tesla มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นกว่า 121,000 ล้านดอลลาร์ ‘พูดพอให้เห็นภาพง่ายๆ’ เขาจ่ายภาษีแค่ 9.09% ของความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
2
แถมก่อนหน้านี้ ProPublica ห้องข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนอิสระชี้ว่า ระหว่างปี 2014-2018 เขาจ่ายภาษีแค่ 455 ล้านดอลลาร์ แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวเขาจะมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 14,000 ล้านดอลลาร์ ตีกลมๆ คือจ่ายภาษีแค่ 3.25% ต่อปีเท่านั้น แถมในปี 2018 เขาไม่ได้จ่ายภาษีแม้แต่เซ็นต์เดียว
ถ้าสงสัยว่าอีลอน มัสก์ จ่ายภาษีเยอะหรือน้อย ก็ลองถามตัวเองดูว่าทุกวันนี้เราเสียภาษีเงินได้กันกี่เปอร์เซ็นต์?
[ เสียภาษีน้อย เรื่องปกติของบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ ]
1
ไม่ใช่แค่ Tesla เท่านั้น แต่ Amazon ก็เคยมีกรณีจ่ายภาษีน้อยกว่าปกติให้เห็นเช่นเดียวกัน อย่างในปี 2018 ก็เคยมีข่าวที่สร้างความฮือฮาออกมา เพราะในปีนั้น Amazon ไม่ต้องจ่ายภาษีซักเซ็นต์ ที่น่าตกใจกว่านั้นคือ Amazon ได้ค่าขนมกลับมาเป็นเครดิตภาษีคืนกว่า 129 ล้านดอลลาร์
1
แถมในปี 2019 และ 2020 ก็จ่ายภาษีที่ 162 ล้านดอลลาร์ และ 1,800 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ แม้จะดูเยอะแต่ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว Amazon จ่ายภาษีอยู่ที่ 1.2% และ 9.4% เท่านั้น จากการลดหย่อนภาษีจำนวนมากจนไม่ต้องจ่ายที่อัตราเต็ม 21% จากข้อมูลของ Insitute on Taxation and Economic Policy
จากการที่บริษัทข้ามชาติสามารถโยกย้ายไปตั้งสำนักงานในต่างประเทศ (โดยเฉพาะในสวรรค์ภาษี) ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ผู้นำของประเทศในกลุ่ม G20 จึงได้พยายามผลักดันการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ 15% ทั่วโลก จากบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่
2
แน่นอนว่าสิ่งที่บรรดาทุนใหญ่ เช่น Tesla หรือ Amazon อยู่อาจไม่ได้ ‘ละเมิดข้อกฎหมาย’ ที่ระบุเอาไว้ก็จริง แต่มันกลับผิดแผกไปจากสามัญสำนึกที่เราเข้าใจกัน
2
และเอาเข้าจริง การจ่ายภาษีก็ไม่ใช่เรื่องของการบังคับให้บริษัทใหญ่มีความ ‘ใจบุญ’ ต่อคนทั่วไป แต่นั่นคือราคาที่พวกเขาควรจะต้องจ่าย เพราะต้องไม่ลืมว่าบริษัทก็ต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ ของประเทศ เช่น โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเพิ่มพูนความมั่งคั่งของตัวเอง
1
แต่ทุกวันนี้ สิ่งเหล่านั้นกลับเกิดขึ้นมาจากเม็ดเงินที่คนทั่วไปจ่ายในอัตราที่สูงกว่าทุนใหญ่เสียอีก
อ่านฉบับเว็บไซต์ : https://workpointtoday.com/elon-musk-tesla-federal-tax/
1
#TODAYBizview
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
ติดตาม TODAY Bizview จากทีม workpointTODAY
ไม่พลาดข่าวธุรกิจ การตลาด การเงิน เทคโนโลยี
กับเพจ TODAY Bizview https://bit.ly/3picIeS
ติดตามรายการ TOMORROW เทรนด์สำคัญของโลกเพื่อวันพรุ่งนี้
ทาง YouTube https://bit.ly/3prjBfI
ติดตามรายการของ workpointTODAY
ทาง YouTube https://bit.ly/2YDfyiK
ติดต่อโฆษณาอีเมล advertorial@workpointnews.com
โฆษณา