24 ก.พ. 2022 เวลา 13:00 • บันเทิง
การเชียร์ไอดอลญี่ปุ่นแบบเบื้องต้น
ในการเชียร์ไอดอลญี่ปุ่น จะมีคำเรียกและการเชียร์บางอย่างที่ใช้อย่างเป็นประจำ มีตั้งแต่สั้นๆ ง่ายๆ ไปจนถึงบทสวด ในโพสต์นี้จะพูดถึงอะไรง่ายๆ ก่อน
การเชียร์แบ่งเป็น 3 ประเภท
1. มือเปล่า
2. แท่งไฟ
3. พรอพอื่นๆ
ทั้งนี้ 3 ประเภทมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน ต่างกันที่เครื่องมือ (??) ที่เรามี
มี 2 อย่างที่เราเชียร์ปกติ คือการใช้เสียงกับใช้ท่าทาง
การใช้เสียง
เราตะโกนเชียร์ไปตอนที่เขากำลังร้องเล่นเต้นอยู่ เหมือนการเชียร์ดารานักร้องทั่วไป
ผมขอใช้เป็นท่อนประมาณไหน จังหวะประมาณไหนนะครับ อาจจะไม่ได้เข้าใจเลย แต่ดูวีดิโอตอนไลฟ์จะเข้าใจขึ้นครับ
Hai (ไฮ้ / เอ้ย) -> พบได้แทบจะทุกส่วนในเพลง อันไหนดูเป็นจังหวะกลางๆ ก็คือ ตะโกนได้หมด ใช้มากในเพลง Anisong
Uria Oi (อุเรีย โอ้ย) -> คล้ายๆ Hai แต่มีตะโกน อุเรีย ก่อนข้างหน้า ใช้แทน Hai ได้ ใช้มากในเพลงไอดอล
Ooooh hai (โอ๋~ ไฮ้/เอ้ย) -> เป็นการ Hai ที่จะใช้ตอนจังหวะที่เข้าช่วง Pre-chorus ของเพลง (ก่อนเข้าท่อนฮุกท่อนนึง)
PPPH -> ปรบมือแบบ "แปะ แปะแปะ ไฮ้" มักใช้พร้อมกับ Ooooh hai และมักจะอยู่ในท่อนเดียวกัน ก็คือ Pre-chorus ของเพลง (ก่อนเข้าท่อนฮุกท่อนนึง)
Fu Fuu~ -> ใช้ในท่อนฮุกเพลงที่น่ารักๆ หน่อยๆ ส่วนมากใช้ตอนประมาณจังหวะที่ 8 ของทั้งครึ่งฮุกแรกและครึ่งฮุกหลัง หรืออาจจะใช้นอก Chorus ก็มีได้
Fuwa Fuwa (ฟุวะ ฟุวะ) -> ใช้ในท่อนฮุกเพลงที่น่ารักๆ หน่อยๆ ส่วนมากใช้ตอนประมาณจังหวะที่ 16 ของทั้งครึ่งฮุกแรกและครึ่งฮุกหลัง หรืออาจจะใช้นอก Chorus ก็มีได้
Haiseno ooohh hai! hai hai hai hai -> ใช้ในท่อนฮุกของเพลงมันส์ๆ หรือเพลงน่ารักๆ มักใช้ตอนจังหวะที่ 22 เฉพาะครึ่งฮุกแรก มีเจอนอก Chorus เป็นบางครั้ง บางครั้งอาจมีการพูด Haiseno มาตั้งแต่จังหวะที่ 20 (ก็คือพูดซ้ำอีกรอบนึง)
O re mo (ชื่อโอชิ) -> แปลว่า "ของผม!!" ใช้ในท่อนร้องปกติราวๆ จังหวะที่ 9 และ 25 หรืออาจจะมีเร็วกว่านั้นในบางเพลง และมีการเรียกชื่อโอชิก่อนหน้านั้นด้วย ขึ้นอยู่กับเพลง
Chousetzu Kawaii (ชื่อโอชิ) -> แปลว่า น่ารักที่สุด (ถ้าผมแปลผิดขออภัยครับ TT) ใช้แบบเดียวกับ Oremo ใช้แทนกันได้ และบางเพลงเน้น Chousetzu Kawaii มากกว่า
(เรียกชื่อโอชิ) -> จริงๆ โอชิคือคนที่เราชอบในวงนั้นๆ มีได้หลายคน ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล
ในการเรียกชื่อโอชิตอนไลฟ์ ปกติจะเรียกคนที่แสดงอยู่ หรือเป็นท่อนร้องของเขาพอดี หากแสดงคนเดียว เราก็เรียกชื่อคนนั้น ใช้เรียกก่อนเข้า Oremo หรือ Chousetzu Kawaii ประมาณสองครั้งเป็นมาตรฐาน อาจมีมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับเพลง
Omae ga Ichiban -> แปลว่า คุณคือที่หนึ่ง ใช้คล้ายๆ การเรียกชื่อโอชิ แต่พบเจอได้น้อยกว่า หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นคือเพลง Triangle Dreamer ของ Niji no Conquistador
การใช้ท่าทาง
Kecak (เคฉะ) - เป็นท่าที่ทำตอนเข้า Chorus ช่วงสุดท้าย โดยการผายมือ 1 ข้างหรือ 2 ข้างไปตามจังหวะเพลง แต่แบบช้าๆ การผาย 1 ครั้งมักจะมีการปรบมือตามมาด้วย มักจะทำจนหมดท่อนซอฟท์หรือท่อนช้าท่อนนั้นๆ
บางเพลงเช่น Dreamin Passport จะไม่มีท่อนนี้ แต่เพลงส่วนมากจะมี
หากใช้แท่งไฟจะเป็นการเอาแท่งไฟชูไปข้างหน้าไปตามจังหวะเพลง
โอตะส่วนมากจะพยายามวิ่งไปเคฉะหน้าเวที (หรือปีนรั้วก็มี)
บางครั้งการเคฉะจะเป็นการปรบมือรัวๆ แทน แต่ยื่นมือไปข้างหน้าเหมือนเดิม
Lift (ลิฟต์) - ใช้ในท่อนเดียวกับที่ใช้เคฉะ ซึ่งคือการที่ให้โอตะสองคนขึ้นไป ยกตัวโอตะอีกคนขึ้นไปให้สูงพอๆ กับเวที พร้อมกับวิ่งไปหน้าเวที เพื่อให้คนที่ถูกลิฟท์ได้ใกล้ชิดกับไอดอลมากขึ้น โดยคนที่ถูกลิฟท์จะเคฉะไปด้วยระหว่างนั้น บางคนก็เอาเสื้อไปโชว์ เอาโปสเตอร์ไปโชว์
สามารถขอโอตะข้างๆ ได้ก่อนหน้านั้น อย่าลืมขอบคุณโอตะที่ลิฟท์ให้เรา และโปรดระวังอันตรายจากการลิฟท์
ถ้าเราน้ำหนักน้อยจะไม่ใช่ปัญหา ถ้าเราน้ำหนักมาก อาจจะลิฟท์ไม่ได้ หรือต้องใช้คนหลายคน
กระโดด (ไม่แน่ใจคำเรียกขออภัยครับ TT) - มักใช้หลังจากเคฉะ คือการกระโดดตามจังหวะของเพลง อาจจะมีการชี้ไปข้างหน้าด้วย หรือเกาะรั้วจนรั้วพังก็มี
Furicopy - เต้นตามไอดอลบนเวที มักใช้ในท่อนฮุกของเพลง อาจใช้พร้อมกับการเชียร์ หรือใช้แทนการเชียร์
ทั้งหมดนี้เป็นการเชียร์แบบเบื้องต้น อาจมีบางอย่างที่ผิดพลาดไป ขออภัยด้วยครับ TT

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา