24 ก.พ. 2022 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
⭐ สรุป Oppday SNC Q4/2021 ⭐ : รายได้ Q4 4,651 ลบ. โต 161% จากธุรกิจรับจ้างผลิตและประกอบ (OEM) เติบโตก้าวกระโดด 307% จากลูกค้าต่างประเทศ และมีกำไรสุทธิ Q4 189 ลบ. โต 63%
Published: 22 Feb 2021
สวัสดีครับ วันนี้พบกับบริษัท บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทรับจ้างผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมาบริษัทได้ทำการเพิ่มทุนเพื่อไปขยายกิจการ โดยสามารถสร้างยอดขายเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักๆจะมาจากธุรกิจรับจ้างผลิตและประกอบ (OEM) เป็นหลัก แต่ในเมื่อสัดส่วนลูกค้าใหม่มาจากธุรกิจ OEM นี่เอง ทำให้บริษัทไม่สามารถถต่อรองกับลูกค้าได้มาก จึงส่งผลให้อัตรากำไรขั้น Q4/2021 เหลือ 6.1% จาก 9% แต่อย่างไรก็ตามบริษัทยังสามารถทำกำไรสุทธิเติบโตได้ 194 ลบ. เติบโตถึง 63%
🚩1. ลักษณะธุรกิจ
SNC ธุรกิจออกเป็น 4 สายงานหลักๆ ได้แก่
1. AUTO = ผลิตและจำหน่ำยชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับเครื่องปรับอาศทีใช้ในรถ และชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับรถยนตร์
2. PARTS = ผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องใชไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า
3. OEM = รับจ้างผลิตและประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและตู้เก็บเครื่องมือ
4. OTHER = ผลิตและจำหน่ายแม่พิมพ์ รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์โลหะ
โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้า 2 กลุ่มหลักๆ คือ 1. กลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้ำนประกอบด้วย ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้ำ ที่เป็นแบ
รนด์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา หรือ กลุ่มลูกค้าที่ต้องการเครื่องปรับอากาศเพื่อไปจำหน่ายในแบรนด์ของตัวเอง 2. กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนตร์ 1st Tier สำหรับงานระบบเครื่องปรับอากาศ และกลุ่มลูกค้าบริษัทรถจักรยานยนร์สำหรับงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติก
◼️วัสดุที่สำคัญในการผลิต◼️
▪️ ท่อทองแดง
🚩2. ภาพรวมและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
◼️ภาพรวมการเติบโตของอุตสาหกรรม◼️
✔ ตลาดเครื่องปรับอากาศโลกยังเติบโตดีอยู่ในระดับ Medium to High ไปจนถึงปี 2026
✔ ภาพรวมอุตสาหกรรมภาคผลิตเครื่องปรับอากาศในประเทศยังเติบโตดีที่ 9% ซึ่งมาจากตลาดส่งออกเติบโต 13% แต่ตลาดภายในประเทศหดตัว 6%
✔Top 10 การส่งออกเครื่องปรับอากาศของไทย มียอดการส่งออกทั้งปีอยู่ที่ 203,000 ลบ. เติบโต 25%
✔ โดยตลาดส่งออกหลักของประเทศไทยยังเป็นอมริกาที่เติบโต 80% แต่ตลาดส่งออกเวียดนามหดตัว 13% เนื่องจากการ lockdown
✔ ตลาดรถยนตร์ค่อยๆกลับมาฟื้นตัว โดยเติบโตที่ 10% เป็น 1.68 ล้านคัน ซึ่งมาจากการส่งออกเติบโต 30% ที่ 0.96 ล้านคัน แต่ยอดผลิตสำหรับในประเทศติดลบ 6% เหลือ 0.74 ล้านคัน
◼️ภาพรวมปี 2021◼️
✔ สามารถสร้างรายได้ที่ 15,397 ลบ. คิดเป็นการเติบโตอยู่ที่ 72% ทำให้ผลกำไรสุทธิของบริษัทอยู่ที่ 636 ลบ. ซึ่งเพิ่มขึ้น 56% คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิที่ 4.1%
✔ กำไรที่และรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาาจากสายงาน OEM ซึ่งทำกำไรและยอดขายอยู่ที่ 391 ลบ. และ 11,120 ลบ. คิดเป็นการเติบโตของยอดขายถึง 98% เมื่อเทียบกับปี 2020 ซึ่งแบ่งได้เป็น;
▪️ เครื่องปรับอากาศ 1,137 พันยูนิต => 1,670 พันยูนิต
▪️ TV 91 พันยูนิต => 381 พันยูนิต
▪️ Toolbox 205 พันยูนิต => 263 พันยูนิต
▪️ Heat Pump 67 พันยูนิต => 119 พันยูนิต
▪️ ตู้เย็น 0.x พันยูนิต => 35 พันยูนิต
✔ สายงาน PARTS เติบโต 33% สร้างรายได้ 3,426 ลบ. ทำกำไรสุทธิ 264 ลบ.
✔ สายงาน AUTO เติบโต 33% สร้างรายได้ 3,426 ลบ. ทำกำไรสุทธิ 66 ลบ.
✔ สายงาน OTHER ขาดทุนสุทธิ 85 ลบ.
◼️ภาพรวมปี 4Q21◼️
✔ สามารถสร้างรายได้ที่ 4,651 ลบ. คิดเป็นการเติบโตก้าวกระโดดอยู่ที่ 161% ทำให้ผลกำไรสุทธิของบริษัทอยู่ที่ 189 ลบ. ซึ่งเพิ่มขึ้น 63% คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิที่ 4.1%
✔ กำไรที่และรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาาจากสายงาน OEM ซึ่งทำกำไรและยอดขายอยู่ที่ 148 ลบ. และ 3,702 ลบ. คิดเป็นการเติบโตของยอดขายถึง 307% เมื่อเทียบกับปี 2020 ซึ่งแบ่งได้เป็น;
▪️ เครื่องปรับอากาศ 58 พันยูนิต => 393 พันยูนิต
▪️ TV 56 พันยูนิต => 134 พันยูนิต
▪️ Toolbox 66 พันยูนิต => 52 พันยูนิต
▪️ Heat Pump 18 พันยูนิต => 34 พันยูนิต
▪️ ตู้เย็น 0 พันยูนิต => 8 พันยูนิต
✔ สายงาน PARTS เติบโต 20% สร้างรายได้ 775 ลบ. ทำกำไรสุทธิ 51 ลบ.
✔ สายงาน AUTO หดตัว 23% มีรายได้ 174 ลบ. ทำกำไรสุทธิ 6 ลบ.
✔ สายงาน OTHER ขาดทุนสุทธิ 16 ลบ.
🚩3. แผนงานในอนาคตและการเติบโต
◼️แผนและพัฒนาการที่สำคัญของบริษัท◼️
✔ 2017: ปรับโครงสร้างผู้บริหาร
✔ 2018: ปรับโครงสร้างธุรกิจ
✔ 2019: เติบโตจากลูกค้ารายใหม่ ตลาดใหม่
✔ 2020 - 2025: เน้นการเติบโตแบบยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเพื่อสร้าง carbon credit โดยในปี 2022 มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องปรับอากศเป็น 3 ล้านยูนิต/ปี จากเดิม 2 ล้านยูนิตต่อปี และเพิ่มrobotสำหรับการผลิตเป็น 1,000 ตัว ซึ่งจากเดิมมี 300 ตัว พร้อมกับการตั้งเป้าหมายการเติบโต 10% เพื่อแตะยอดขาย 15,000 ลบ. ในปี 2022
🚩4. ข้อมูลอื่นๆ จาก Section Q&A
Q: เป้าหมายรายได้มาจากปัจจัยไหน? กำลังการผลิตรวมในปีนี้?
A: มาจากกำลังการผลิตรวม จาก 2 ล้านยูนิตป็น 3 ล้านยูนิตในปีนี้ โดยลงทุน 700 - 800 ลบ. โดยเป้าหมายยอดขายเติบโต 10%
Q: ทำไม Forecast Sale แค่ 10%
A: เพราะกำลังการผลิต โดยกำลังการผลิตใหม่จะใช้สัก 50% โดยธุรกิจเครื่องปรับอากาศเป็น Seasonal ทำให้ต้อง Balance กำลังการผลิต
Q: ทองแดง เงินบาทแข็ง ส่งผลกระทบกับบริษัทไหม?
A: ใช้วิธี cost plus margin โดยสามารถปรับราคาขึ้นกับลูกค้าได้ ส่วนเงินบาทแข็ง 32 - 33 บาท/USD ไม่ได้มีผลกระทบ และ 90% ซื้อของเป็น USD และขาย 90%เป็น USD
Q: ยอดส่งออกแอร์ไม่เยอะ แต่ยอดมูลค่าส่งออกโตเยอะ?
A: Slide ส่วนนั้น รวมทั้งตัวแอร์ และ ชิ้นส่วน และ อีก Slide นึง คือจำนวนตัวแอร์
Q: NPM ทำได้มากกว่า 4.5% ใน 65 ไหม?
A: OEM มี NPM ต่ำ โดยไม่มากกว่า ปี 2564 แต่เม็ดเงินมากขึ้น
Q: การรับคำสั่งซื้อรับล่วงหน้านานแค่ไหน และมี blacklog เท่าไหร่?
A: คำสั่งซื้อ Forecast 3-6 เดือนล่วงหน้า แต่ภายในประเทศ 2-3 เดือนล่วงหน้า และมี Backlog ประมาณ 3 เดือน
Q: Q4 GPM ลดลงมากเพราะอะไร? แนวโน้มต่อไปเป็นยังไง?
A: สัดส่วนรายได้ OEM เพิ่มขึ้น 80% ทำให้ GPM ลดลง
Q: Q4 ขาดทุนลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ 75 ลบ. เพราะอะไร?
A: เพราะ 64 เทียบ 63 Volume ไม่เยอะ แต่ ปี 64 เจอสินค้าคงเหลือเกิน 6 เดือน แต่สามารถมานำประกอบได้บางส่วน เลยตั้งค่าเผื่อครึ้่งนึงของสินค้า ถ้าเกิดอีกก็จะไม่เยอะ โดยตอนนี้คิดเป็นการตั้งค่าเผื่อ 3% ของสินค้าคงเหลือทั้งหมด
Q: robot ขอ BOI ได้ ไหม และ SG&A Q4 น้อยลงเพราะอะไร และน้อยลงต่อได้อีกไหม?
A: ขอ BOI ได้ 3 ปีแบบ Cap วงเงิน ส่วน SG&A ลดลงจากยอดขายที่มากขึ้น แต่ G&A จะค่อนข้าง Fixed Cost โดย %SG&A ลดลงแต่แนวโน้ม % รายได้สูงขึ้น
Q: ผลประกอบการ Q1 , Q2 65 เทียบปีที่แล้วเป็นไง?
A: Q1 Q2 คือ High Season จะดีกว่า Q4 64
Q: robot ที่มาใช้ คาดว่าเพิ่ม GPM ได้เท่าไหร่?
A: robot จะมาเพิ่ม Productivity ได้ 20% และจะมาทดแทนค่าแรง โดยปกติค่าแรงคนอยู่ที่ 1% ถ้าเป็น robot จะเหลือ 0.4% - 0.5%
Q: สถานการณ์อะไรที่น่าเป็นห่วงให้ผลประกอบการเติบโตลดลง?
A: โควิด สงคราม ปัญหาสายเรือและตู้คอนเทนเนอร์ โดยช่วงครึ่งปีแรกของปีที่แล้วปัญหาเยอะ และปีใหม่ปัญหานี้ก็กลับเข้ามาอีก
Q: robot Break-Even กี่ปี?
A: Payback ต่อตัว 1 - 1.5 ปี
💡 Key Takeaways
▪️ ยอด OEM ที่มากขึ้นจะทำให้ GPM ลดลง ส่งผลกับ NPM ที่อาจจะเพิ่มขึ้นได้ยาก นอกจากอุตสาหกรรมณ์รถยตร์ที่กลับมาฟื้นตัวในปีหน้าจากปัญหาชิฟขาดแคลน และสายงาน OTHER ต้องหยุดขาดทุนให้ได้่
▪️ ต้นทุนท่อทองแดงที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อ GPM น้อยเพราะใช้วิธี +ราคาตามต้นทุนตามทองแดง
▪️ Toolbox ยอดขาย Q4 ลดลง ไม่แน่ใจว่างานจะมาต่อเนื่องไหม
▪️ ปี 65 จะโดนคิดหุ้นเพิ่มทุนเต็มปี คิดจำนวนหุ้นจากฐาใหม่ 362.2 ล้านหุ้น มีผลในการฉุด EPS ลง
ขอให้สนุกกับการลงทุนครับ 😄
สามารถฟัง Oppday ตัวเต็มได้ที่ ▶️ https://www.set.or.th/streaming/vdo/4902?title=Opp%20Day
#OppdayQ42021 #SNC
โฆษณา