24 ก.พ. 2022 เวลา 09:06 • ปรัชญา
ปรากฎการณ์วิทยาของพระพุทธเจ้า : Buddha's Phenomenology
จักขุวิญญาณก็คือการเห็น ไม่ใช่วิญญาณเป็นดวงๆ
การเห็นเกิดได้ด้วยมีแสงส่องมากระทบวัตถุ แล้วก็สะท้อนไปที่ดวงตาแล้วก็เกิดจักขุวิญญาณ การได้ยิน ที่เรียกว่าโสตวิญญาณก็ทำนองเดียวกัน
1
เครดิตภาพ : https://literariness.org/2019/04/21/the-philosophy-of-buddha
เป็นไปได้ที่ชีวิตของคนบางคน เขามีอุปสรรค เช่นตาพิการ หรือว่าตาบอดสี จักขุวิญญาณของเขาที่เกิดนั้นก็ไม่สมบูรณ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงบอกว่า กฎที่ทรงแสดงว่า จักขุวิญญาณเกิดขึ้นยังไง มันเป็นกฎทั่วไปสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่มันก็มีข้อยกเว้น…(สำหรับคนพิเศษ)
เอาเป็นว่าอย่าไปถามว่าใครเห็น ในทัศนะของพระพุทธเจ้าก็จะทรงบอกว่า
เอ็งจะรู้ไปทำไม!…
พวกที่เชื่อในสมองก็ดี หรือ พวกที่เชื่อในวิญญาณก็ดี คือพวกที่ไปถามว่าเวลาเห็น "ใครเห็น" ต้องถามว่า "การเห็นเกิดได้ยังไง." เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าบอกว่า การถามคำถามที่ถูก มันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูก การแก้ปัญหาที่ถูกในทางปรัชญานี้ก็จะนำไปสู่ การนำไปใช้ในชีวิตจริง ได้จริงๆ
เครดิตภาพ : https://owlcation.com/humanities/What-is-Phenomenology-and-Its-Role-In-Consciousness
ดังนั้นเวลาเห็น พระพุทธเจ้าบอกว่า อย่าไปสนใจว่าใครเห็น? แต่ให้ถามว่าการเห็นเกิดได้อย่างไร?… และให้เราสังเกตุว่า เมื่อถ้าเห็นแล้ว มันจะมีสิ่งที่พ่วงตามมาพระพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าจะสังเกตุดีเราก็จะเข้าใจว่า มนุษย์น้อยคนนัก ที่เมื่อเห็นแล้วจะสักแต่ว่าเห็น มนุษย์ส่วนใหญ่เห็นแล้ว จะมีสองสิ่งต่อไปนี้เกิดพ่วงตามมาคือ "ชอบ" หรือว่า "เกลียด" หรือไม่ก็เฉยๆ แต่ว่า ชอบ หรือ เกลียด นั้น จะเป็นหลัก
พอชอบก็สรรเสริญว่า โอ้!...สิ่งที่ฉันเห็นนี่ดีเหลือเกินอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น ข้อความในเฟสบุ๊ก พออ่านแล้วตรงกับสิ่งที่เราชอบก็ สรรเสริญ กดไลก์
แต่พอสิ่งที่ปรากฎต่อจักขุวิญญาณ คือข้อเขียนนั้น เป็นสิ่งที่เราไม่ชอบ ก็คือเราเกลียด ก็ไม่กดไลก์ แถมยังด่าด้วยนะ ว่ามันเขียนอย่างนี้ได้ยังไง...
ผลอันเกิดจากการชอบหรือไม่ชอบ มันก็จะไปสร้าง Action อื่นๆ วนกลับมาสู่ชีวิตของเรา ในรูปของความทุกข์
เครดิตภาพ : https://owlcation.com/humanities/What-is-Phenomenology-and-Its-Role-In-Consciousness
ดังนั้นการกดไลก์ กดแชร์ หรือว่าการคอมเม้นท์ การด่ากันในเฟสบุ๊ก ตามทัศนะของพระพุทธองค์ เป็นกิจกรรมของ คนที่ยังเวียนว่ายอยู่ในภพนั่นเอง...
เพราะงั้นในแง่นี้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นปรากฎการวิทยา (Phenomenology) พระองค์จะไม่ใช่นักอภิปรัชญา (metaphysics) ที่จะมาสงสัยว่า เวลาเห็น "ใครเห็น"… เวลาได้ยิน"ใครได้ยิน"
เราก็จะเตือนตัวเราเองได้ว่า เราก็เป็นมนุษย์โดยส่วนใหญ่ เห็นแล้วก็ชอบ เห็นแล้วก็เกลียด ชอบก็จะมีปฏิกิริยาแบบหนึ่ง ตอนเกลียดก็จะมีปฏิกิริยาแบบหนึ่ง
พระพุทธองค์ให้ตั้งคำถามว่า อะไรคือเงื่อนไข ที่ทำให้เกิดการเห็น และพอเมื่อเห็นแล้วมันก็มักจะมีอะไรพ่วงตามมา ให้สังเกต แล้วการสังเกตที่ดีที่สุดคือ สังเกตตัวเราเอง...
วิรุฬหก
2
โฆษณา