Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กินอยู่เป็น
•
ติดตาม
24 ก.พ. 2022 เวลา 10:34 • ข่าว
วิธีใช้ M-FLOW อย่างไรให้ FLOW แบบไม่มีอะไรกั้น
เกิดกระแสมากมายกับ M-FLOW แทนที่จะสะดวกกว่าเดิม ดันรถติดกว่าเดิม ดันโดนค่าปรับ 10 เท่าแบบงงๆ หลายๆ คนโดนปรับหลักพันบาท
ต้องอยู่กับ M-FLOW อย่างไรให้ปกติสุข ไม่โดนค่าปรับ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมีคำแนะนำมาให้คุณแล้ว
รู้จัก M-FLOW
จากปกติที่เราขึ้นทางด่วนแล้วจะมีไม้กั้น แต่ M-FLOW ไม่มีไม้กั้น ผ่านไปได้เลย ค่อยมาจ่ายเงินทีหลัง
มีแล้วในด่านนำร่อง บนถนนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ด่านธัญบุรี 1 ด่านธัญบุรี 2 ด่านทับช้าง 1 และด่านทับช้าง 2
.
ความจริง M-FLOW มีจุดประสงค์ที่ดีมาก คือแก้ปัญหาจราจรติดขัดบนทางด่วน มอเตอร์เวย์ ที่รถต้องชะลอ ต่อคิวกันยาวๆ เพื่อจ่ายเงิน
ซึ่งใช้ระบบ Ai มาพัฒนาระบบจัดเก็บค่าทางด่วน ด้วยกล้องตรวจจับความเร็ว ที่บันทึกภาพป้ายทะเบียนรถได้ ทั้งหมดคือการใช้ระบบวิดีโอ
.
ดังนั้นรถยนต์ป้ายแดง ป้ายทะเบียนเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจน หรือไม่มีป้ายทะเบียน ไม่มีสิทธิ์ใช้ M-FLOW นะคะ
🚗 จุดเด่นของ M-FLOW
●
วิ่งก่อน จ่ายทีหลัง รถวิ่งผ่านด่านได้เลย ไม่ต้องรถติดหน้าด่าน สะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาเดินทางน้อยลง ไม่ต้องชะลอความเร็วที่หน้าด่าน
●
ต้องสมัครสมาชิกก่อนใช้งาน ซึ่งมีเสียงเรียกร้องมาว่าขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ใช้ระยะเวลานาน แต่ถ้าลงทะเบียนผ่าน ชีวิตจะง่ายขึ้น
●
สำหรับคนที่เป็นสมาชิก จะมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย เพื่อลดการใช้เงินสดในยุคนิวนอร์มอล โดยเลือกชำระได้ว่าจะเป็นรายครั้ง หรือเป็นรอบบิลซึ่งจะจ่ายทุกวันที่ 1 กับ 16 ก็ได้
●
ระบายรถได้สูงสุด 2,000 - 2,500 คันต่อชั่วโมง
●
รถยนต์ที่ได้รับอนุญาตให้วิ่งบนทางหลวงพิเศษทั้งหลาย ใช้ M-FLOW ได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะ 4 ล้อ 6 ล้อ มากกว่า 6 ล้อก็ยังได้
★
ไม่ได้เป็นสมาชิก แต่ไปเข้า M-FLOW จะโดนอะไรไหม?
ใครที่ไม่ได้เป็นสมาชิกจะพลาดวิ่งเข้า M-FLOW ไปแล้ว ไม่ต้องตกใจ ก็ย้อนจ่ายเป็นครั้งๆ ได้ภายใน 2 วัน
โดยเข้าแอป M-FLOW กดไปที่แถบเมนู กรอกรายละเอียดลงไป รูปป้ายทะเบียนของเราก็จะโผล่ขึ้นมา เป็นหลักฐานว่าผ่านช่อง M-FLOW จริง
★
ระวัง! เจอค่าปรับทวีคูณ ถ้าชำระเงินไม่ทันกำหนด
ถ้าคุณไม่ได้จ่ายค่าผ่านทางภายใน 2 วัน เมื่อเข้าวันที่ 3จากค่าผ่านทาง 30 บาท ก็กลายเป็น 330 บาทได้
ดาราหลายคนก็เจอค่าปรับแบบงงๆ อย่าง ก๊อต จิรายุ และ ลาล่า อาร์สยามจากต้องจ่าย 60 เจอปรับ 10 เท่า จ่าย 600 บาท อ๋อม สกาวใจ โดนไป 1,050 บาท
.
ยิ่งถ้าใครไม่ได้เป็นสมาชิกแล้ววิ่งผ่านไปแบบฟรีๆ จะโดนเรียกเก็บค่าปรับย้อนหลังที่แพงกว่าคนที่เป็นสมาชิก หากไม่จ่ายเกิน 12 วัน ต้องจ่ายค่าปรับ 10 เท่า หรือเกินครึ่งหมื่นได้เลย
รูปศรสีฟ้า แสดงให้เห็นว่าเรากำลังเข้าช่อง M-FLOW
ส่วนใครกลัวงง แล้วเผลอเข้าช่องผิดๆ ถูกๆ ตอนใกล้ถึงด่านให้ลองสังเกตพื้นถนน ถ้าเรากำลังเข้าช่อง M-FLOW พื้นจะเป็นรูปศรสีฟ้าๆ เป็นตัวสั่นสะเทือนเตือนว่าเราผ่านจุด M-FLOW มาแล้ว
และไม่ต้องหยุดรถนะ กล้องจะจับทะเบียนแล้วไปจ่ายทีหลัง
สรุปปัญหาทำไม M-FLOW เปิดใช้แล้วไม่ปัง แต่ ‘พัง!’
1. รถติดหน้าด่านกว่าเดิม
จากการที่มีช่อง M-FLOW ซึ่งอยู่ทางขวาสุดเพิ่มขึ้นมา ทำให้ช่องเก็บเงินสด ช่องอัตโนมัติ M-Pass และ Easy-Pass ลดลงจากเดิม ทำให้รถเบียดกัน (ปัญหาจากวันที่ 15 ก.พ. เวลา 22.00 น.ที่กรมทางหลวงเปิดระบบ M-FLOW)
.
2. ป้ายที่ไม่ชัดเจนทำคนเข้าใจผิด
โดยก่อนถึงด่าน มีป้าย ระบุว่า ‘M-Flow ห้ามรถไม่ลงทะเบียนผ่าน’ ทำให้ประชาชนที่ไม่ทราบและไม่ได้ลงทะเบียนสมัครไว้ เกิดความสับสนต้องเบี่ยงรถเปลี่ยนเลน ออกเลนซ้ายจนรถไปออติดที่หน้าด่านในช่องเงินสด M-Pass และ Easy-Pass
.
3. การประชาสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน คนไม่รู้ก็โดนค่าปรับทวีคูณ
บางคนที่ไปเข้าช่องทาง M-FLOW และไม่รู้ว่าต้องจ่ายเงินอย่างไร ทำให้โดนค่าปรับ 10 เท่า จากราคาปกติ 30 บาท เป็นราคา 330 บาท
ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากประชาสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน ลงทะเบียนก็ยุ่งยาก ควรเพิ่มจุดให้คนไปลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ เพื่อช่วยคนใช้รถใช้ถนนที่ไม่ถนัดใช้แอปฯ หรืออินเทอร์เน็ต
สำหรับการนำร่องระบบก็ไม่ควรเรียกค่าปรับทันที แต่ส่งเป็นการแจ้งเตือนเรื่องการเสียค่าปรับไปก่อนสักระยะ เพื่อให้ทุกคนได้รู้จัก M-Flow ได้มากขึ้น
.
แต่ถ้ามองอีกแง่ กระแสโจมตีลั่นโซเชียลขนาดนี้ทำให้ทุกคนรู้จัก M-FLOW ได้เร็วดีจริงๆ นะคะเนี่ย...
ติดตามเรื่องราวข่าวสาร กินอยู่เป็น ง่ายๆ ได้ทาง
เว็บไซต์ :
www.kinyupen.co
แฟนเพจ : กินอยู่เป็น
ทวิตเตอร์ : @kinyupenco :
www.twitter.com/Kinyupenco
อินสตาแกรม : @kinyupen.co
www.instagram.com/kinyupen.co
ทางด่วน
mflow
การเดินทาง
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย