Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รักสยาม หนังสือเก่า
•
ติดตาม
24 ก.พ. 2022 เวลา 14:10 • หนังสือ
หนังสืออนุสรณ์งานศพ
ขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ยิ่งใหญ่
หนึ่งเดียวในโลก หนึ่งเดียวในสยาม
พระอัจฉริยภาพกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
คนไทยเราคงชินกับการรับหนังสือแจกในงานฌาปนกิจศพ แต่ทราบหรือเปล่าเอ่ยว่าวัฒนธรรมการจัดพิมพ์หนังสือเป็นที่ระลึกในงานศพนั้น กล่าวกันว่ามีเฉพาะในเมืองไทยเราเท่านั้น (ถ้ามีในประเทศเพื่อนบ้าน เข้าใจว่ารับไปจากไทย) วัฒนธรรมในซีกโลกตะวันตกรวมถึงจีนนั้นก็ไม่มี
การพิมพ์หนังสืองานศพในเมืองไทย เริ่มได้รับความนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งต้องย้อนเล่าไปว่าแต่เดิมในงานงานพระบรมศพหรือพระศพเจ้านายจะมีการถวายเครื่องสังเค็ด คือ ของที่ระลึก เช่น ตู้พระธรรม ตาลปัตร หนึ่งในนั้นคือพระธรรมคัมภีร์ต่างๆ ครั้นการพิมพ์รุ่งเรืองขึ้น ก็เริ่มมีการพิมพ์หนังสือแทนการคัดลอกจดจารลงใบลาน (แน่นอนว่ายังมีอยู่ แต่ก็มีการพิมพ์หนังสือเข้ามาด้วย) ทีนี้ก็มาถึงประเด็นที่ว่า จะพิมพ์หนังสือเรื่องอะไรกันดี จึงโยงใยไปหาแหล่งความรู้ตำรับตำราในยุคนั้น ก็คือ ‘หอสมุดวชิรญาณ’ (หอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน) ซึ่ง ‘สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฯ’ ซึ่งทรงกำกับดูแลอยู่ เมื่อมีเจ้าภาพมาทูลปรึกษาพระองค์ได้ทรงรับเป็นพระธุระที่หาต้นฉบับหนังสือให้เจ้าภาพนำไปพิมพ์
ดังนั้นหนังสือประเภทวรรณคดีโบราณ และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายจึงได้มาสู่สาธารณชน และเพื่อความเข้าใจของคนอ่าน พระองค์ก็จะประทานคำนำเพื่ออธิบายประวัติความเป็นมาของหนังสือเล่มนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ตำนานละครอิเหนา บทนำของหนังสือเรื่องอิเหนา ถ้าท่านผู้อ่านไปอ่านดีๆ แล้วจะพบว่า นี่ไม่ใช่บทนำธรรมดาแต่นี่คือ ประวัติการละครไทย หรือพระอธิบายพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งจริงแล้วก็คือ ตำราประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งบทนำหลายบทนำของพระองค์ในปัจจุบันกลายเป็นตำราวิชาการที่นักเรียนประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวรรณคดี จะต้องอ่าน
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ประวัติของผู้วายชนม์ ที่พระองค์ทรงพระนิพนธ์ประทาน หรือบางครั้งทางเจ้าภาพจะเขียนเองก็ได้ ประวัติของผู้วายชนม์ เพราะประวัติของผู้วายชนม์ที่พระองค์ทรงพระนิพนธ์ประทานให้ ล้วนแต่เป็นบุคคลที่พระองค์ทรงคุ้นเคยรู้จักในฐานะทั้งพระญาติวงศ์ เพื่อนร่วมงาน(ขุนนาง) มิตรสนิท
ประวัติของผู้วายชนม์เหล่านี้เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงแต่งจากความทรงจำส่วนหนึ่ง และ อีกส่วนบุตรหลานหรือมิตรสหายของผู้วายชนม์ได้เล่าถวายบ้าง ในบางครั้งพระองค์มิได้กล่าวแต่เพียงประวัติผู้วายชนม์เท่านั้น หากแต่ยังกล่าวถึงเชื้อสายบรรพบุรุษและเครือญาติ ซึ่งหลายๆ เรื่องจะพบว่ามิได้มีการจดบันทึกไว้ลายลักษณ์อักษรมาก่อน เพียงแต่เป็นเรื่องเล่าในตระกูลหรือหมู่มิตรสหายเท่านั้น ซึ่งนานๆ ไป ก็จะเลือนหาย
ถ้าสมเด็จกรมพระยาดำรงไม่ทรงพระนิพนธ์ไว้ พระประวัติและประวัติของท่านนี้ก็จะเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์
หากสงสัยว่าแค่ประวัติคนบางคนหายไปมันจะมีผลกระทบอะไรหนักหนา ลองคิดดูว่าเจ้านายและขุนนาง คือส่วนหนึ่งของระบบราชการที่ขับเคลื่อนประเทศ ในพระราชพงศาวดารจะบอกเพียงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่มิได้เอ่ยถึงสาเหตุที่เกิด ประวัติของท่านเหล่านี้ถ้าเราอ่านให้ละเอียด ถึงสาแหรกเครือญาติ อาจเห็นเส้นทางผลประโยชน์ และเครือข่ายทางอำนาจ ดังที่ ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์ ได้นำข้อมูลของประวัติในหนังสืองานศพ ที่สมเด็จกรมพระยาดำรง ทรงพระนิพนธ์ ไปเป็นข้อมูลทำวิทยานิพนธ์เรื่อง สังคมไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์พ.ศ.2325-2416 ภายหลังทางมูลนิธิสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าหญิง จงจิตรถนอม ดิศกุล ได้รวบรวมพระประวัติและประวัติที่สมเด็จกรมพระยาดำรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสืองานศพเป็นเล่มต่างหาก ชื่อ ‘คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก’ นั่นเอง
เครดิต ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล
📌ขอเชิญแวะชมหนังสือเก่า หนังสือหายากของทางร้านมากกว่า 1,000 รายการ ผ่าน website
www.lovesiamoldbook.com
#โปรดนำหนังสือของท่านมาขายกับเราซิครับขายให้เราดีกว่าทิ้งหรือชั่งกิโลขาย #รับซื้อหนังสือเก่าถึงบ้านให้ราคาสูง
โทร.062-253-9423
ทางร้านมีนโยบาย "รับประกันคุณภาพสินค้าที่ซื้อกับทางร้านฯ มีบริการหลังการขาย "หากไม่พอใจในคุณภาพสินค้า"
1 บันทึก
3
2
1
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย