25 ก.พ. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ก้าวต่อไปของ "การคว่ำบาตรรัสเซีย" คืออะไร?
ทูตยูเครนพี่งแสดงถ้อยแถลงทรงพลังในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) ไปเมื่อวาน โดยมีความตอนหนึ่งกล่าวว่า
ผมขอส่งเสียงไปถึงทุกท่านในที่ประชุมนี้ ให้พวกท่านทำทุกสิ่ง
ทุกทางที่เป็นไปได้ ที่จะหยุดยั้งสงครามที่กำลังเกิด
(I call on everyone of you to do everything possible to stop the war)
6
จึงเกิดเป็นคำถามกับหลายคนว่า ทุกสิ่งที่เป็นไปได้ที่เรากำลังพูดถึงอยู่ตอนนี้ ที่ทางชาติตะวันตกจะนำออกมาใช้ได้มีอะไรบ้าง? ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่ทาง Bnomics จะนำมาเล่าให้ทุกคนฟังในบทความนี้
📌 มาตรการคว่ำบาตรระลอกแรกที่ออกมา
ก่อนที่จะไปดูมาตรการคว่ำบาตรขั้นรุนแรงที่ถูกวิเคราะห์ว่า ชาติตะวันตกสามารถนำมาใช้คว่ำบาตรรัสเซียได้ เรามาสรุปสั้นๆ ถึงมาตรการคว่ำบาตรในระลอกแรกก่อนที่จะมีการส่งทหารเข้าไป “ปฏิบัติการณ์พิเศษ” ตามคำกล่าวของประธานาธิบดีปูตินกันก่อน
3
โดยมาตรการคว่ำบาตรระลอกแรกที่ถูกนำออกมาใช้นั้น ยังเล็งเป้าอย่างจำกัดไปที่ตัวบุคคลไม่กี่คนและสถาบันการเงินไม่กี่แห่ง
ซึ่งในตอนนั้นทางประธานาธิบดีไบเดนก็ออกมาแสดงความเห็นว่า นโยบายเหล่านี้เพียงพอที่จะเตือนไม่ให้รัสเซียทำอะไรที่รุนแรงมากกว่านี้ ท่ามกลางเสียงเรียกร้องจากหลายฝ่ายว่า สิ่งที่ทำไปในรอบแรกนี้ยังไม่พอ
 
โดยตัวบุคคลสำคัญที่ถูกเล็งเป้าในการคว่ำบาตรทางการเงินครั้งนี้ ก็เป็นเหล่าคนสนิทของท่านผู้นำรัสเซีย และก็สถาบันการเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ โดยมีตัวอย่างสถาบันการเงิน เช่น VER.RF และ Promsvyazbank ที่องค์กรหลังถูกคว่ำบาตรจากทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ เลย
7
อีกประเทศสำคัญที่ออกมาเคลื่อนไหว ก็คือ เยอรมนีที่ได้ประกาศหยุดโครงการพัฒนาท่อส่งก๊าซธรรมชาติ Nord Stream 2 ที่เป็นท่อส่งก๊าซจากประเทศรัสเซียตัดมาทางทะเลบอลติก และเข้าสู่ประเทศเยอรมนีโดยตรง
3
ซึ่งมาตรการระลอกแรก ที่แม้จะออกมา “แบบเบาๆ” นี้ ก็สร้างความปั่นป่วนกับตลาดการเงินไปทั่วโลก ซึ่งคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ ตลาดการเงินของรัสเซียเอง ที่ยกตัวอย่างตลาดหุ้นก็ตกไปมากกว่า 10% เลย
4
📌 มาตรการคว่ำบาตรขั้นที่รุนแรงกว่าเดิม
1
แต่พอสถานการณ์เปลี่ยนไปในตอนนี้ เกิดการใช้กองกำลังบุกเข้ายูเครนอย่างชัดแจ้ง ก็แทบจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว ที่ทางพันธมิตรประเทศตะวันตกจะต้องมีการนำมาตรการคว่ำบาตรขั้นที่รุนแรงขึ้นออกมาใช้
4
มาตรการแรกที่ทางสหรัฐฯ และพันธมิตรสามารถนำออกมาใช้ได้ คือ การห้ามการส่งออกสินค้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญไปยังรัสเซีย
3
โดยสินค้าที่จะสร้างผลกระทบต่อรัสเซียมากที่สุด ก็คือ ชิปเซมิคอนดักเตอร์ ที่จะส่งผลต่อการผลิตของรัสเซียในหลายอุตสาหกรรม ไล่ตั้งแต่ การผลิตมือถือ รถยนต์ ไปจนถึง อุตสาหกรรมอวกาศ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้มาตรการนี้ ก็จะส่งผลย้อนกลับไปสู่ผู้ผลิตชิปของสหรัฐฯ เองด้วย
1
มาตรการที่สองที่รุนแรงขึ้นมากกว่ามาตรการแรกอีก ที่ถูกนำมาใช้ได้ คือ การตัดรัสเซียออกจาก “ระบบ SWIFT”
2
ซึ่งเจ้าระบบนี้ เป็นระบบที่ใช้สื่อสารทางธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศที่มีความปลอดภัย อ้างจาก Investopedia มีข้อความที่ถูกส่งผ่านระบบนี้เฉลี่ยสูงถึง 42.5 ล้านข้อความต่อวัน โดยในปัจจุบันมีสถาบันการเงินกว่า 11,000 แห่งเป็นสมาชิกของระบบ
5
การตัดรัสเซียออกจากระบบนี้ไป จะทำให้การชำระเงินของสินค้ารัสเซียและการทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ทำได้อย่างยากเย็นขึ้นมา โดยเฉพาะในธุรกิจการส่งออกสินค้าพลังงาน ที่อาจจะชะงักงันไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง
1
เหมือนกับตอนที่ทางสหรัฐฯ เคยใช้การคว่ำบาตรนี้กับประเทศอิหร่าน ก็ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันของอิหร่านตกต่ำลงไปอย่างมาก แต่การใช้นโยบายนี้ ก็จะส่งผลกดดันราคาพลังงานในตลาดโลก ที่กำลังพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว ให้สูงขึ้นอีก และก็กดดันภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก
4
มาตรการต่อมา คือ การห้ามบริษัทและประเทศพันธมิตรซื้อขายกับรัสเซียในรูปของสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ก็มีจะคล้ายกับกรณีการคว่ำบาตรก่อนหน้า ที่สุดท้ายก็จะมีผลเสียกับทางประเทศพันธมิตร
 
มาตรการสุดท้ายที่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมองว่า เป็นมาตรการที่จัดการที่แหล่งรายได้หลักของรัสเซียไปเลย นั่นก็คือ การที่ชาติพันธมิตรตะวันตกตัดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งเบื้องต้นก็มีการหยุดการพัฒนาท่อส่งก๊าซธรรมชาติมูลค่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ “Nord Stream 2” ไป
2
อย่างไรก็ดี ท่อสำคัญที่ทำการส่งก๊าซเข้าสู่ยุโรปในปัจจุบันคือ Nord Stream 1 ต่างหากที่ก็ยังเปิดทำการอยู่ ซึ่งการจะปิดทำการไปเลยก็ทำได้ยาก เพราะยุโรปยังพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูงมาก
ซึ่งเรื่องนี้ก็เหมือนจะเป็นสิ่งที่ทางสหรัฐฯ เองเข้าใจดี จึงพยายามผ่อนคลายสถานการณ์ลงผ่านการเพิ่มการส่งออกในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่อเมริกากลายเป็นผู้ส่งออกหลักก๊าซธรรมชาติมากกว่า 50% ของสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร
แต่เมื่อไปพิจารณาปริมาณสำรองของก๊าซธรรมชาติในยุโรปก็จะเห็นว่า ในปีที่ผ่านมามีระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาพอสมควร ชี้ให้เห็นว่า มีการนำก๊าซสำรองเหล่านี้ออกมาใช้ชดเชยบ้างแล้ว ทำให้สถานการณ์พลังงานของยุโรปยังอยู่ในภาวะที่น่ากังวล
2
ซึ่งแม้ตอนนี้จะยังไม่ได้มีการใช้มาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้ออกมา แต่ตลาดการเงินทั่วโลกก็แสดงความวิตกกังวล ปรับตัวเทขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง และเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยกันแล้ว
ตลาดหุ้นรัสเซียเองก็ตกลงไปอย่างมาก ค่าเงินรูเบิล
2
📌 ความเป็นไปได้ (ที่น่ากังวล) เหนือไปจากการคว่ำบาตร
นอกจากนโยบายคว่ำบาตรข้างต้น ประเทศพันธมิตรตะวันตกยังสามารถช่วยเหลือยูเครนผ่านการส่งความช่วยเหลือทางการเงินหรือยุทโธปกรณ์อาวุธได้ด้วย ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดภาวะตึงเครียดมากกว่าเดิม
และยังเริ่มมีความกังวลใจจากประเทศสมาชิก NATO ที่เคยอยู่ในการปกครองของสหภาพโซเวียดเก่ามาก่อนทั้ง เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ว่า การบุกของรัสเซียจะไม่หยุดอยู่แค่ดินแดนของยูเครน (ที่ยังไม่ใช่ประเทศสมาชิก NATO) เท่านั้น แต่จะลามมาถึงพวกเขาด้วย
6
จึงได้ทำการขอเรียกประชุมสมาชิก NATO ตาม Article 4 ของสนธิสัญญา ที่ประเทศสมาชิกจะขอเรียกประชุมได้ทันทีเมื่อพิจารณาแล้วว่า มีภัยคุกคาม “บูรณภาพแห่งดินแดน (Territory Integrity)"
ที่ต้องให้ความสนใจเป็นเพราะว่า ถ้าเกิดการบุกรุกประเทศสมาชิก NATO จริงๆ ในตอนนั้นด้านสหรัฐฯ และพันธมิตร จะไม่สามารถวางตัวเฉย และไม่เคลื่อนไหวทางการทหารไม่ได้อีกต่อไป (แต่เรื่องการบุกรุกดินแดนของสมาชิก NATO เป็นเรื่องใหญ่มาก ทางรัสเซียเองก็ต้องคิดเรื่องนี้อย่างหนักแน่นอน ถ้าคิดจะทำจริง)
2
และมีอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากแต่อาจจะยังไม่ถูกพูดถึงเท่าไรนัก คือ ในวิกฤติยูเครนครั้งนี้ หลายคนมักจะคิดว่า สหรัฐฯ จะมีช่องว่างและเครื่องมือในการตอบโต้มากกว่าประเทศสมาชิก เนื่องจากไม่ได้มีดินแดนอยู่ใกล้กับรัสเซีย และไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย
1
แต่สถานการณ์จริงมีความซับซ้อนกว่านั้นเล็กน้อย เพราะสถานการณ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ยังมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดการเรื่องนี้ไม่น้อย ล่าสุดมีโพลที่จัดทำโดยสำนักข่าว AP-NORC Center for Public Affairs Research ชี้ว่า มีคนอเมริกันเพียงแค่ 26% ที่เห็นด้วยกับการที่สหรัฐฯ ต้องเข้าไปเป็นหัวเรือหลักในการจัดการปัญหาวิกฤติยูเครน
8
ประกอบกับในช่วงก่อนหน้านี้ ความนิยมและอัตราการยอมรับผลงานของนายไบเดนก็ต่ำลงมาเรื่อยๆ ตลอด ตั้งแต่ช่วงการถอนทหารจากอัฟกันนิสถาน โพลของ Gallup ก็ชี้ว่า สัดส่วนคนยอมรับผลงานของไบเดนโดยรวมอยู่ที่แค่ 41% เท่านั้น
และในเรื่องการจัดการปัญหากับรัสเซียเองก็ยิ่งแย่ไปใหญ่ เมื่อได้รับคะแนนยอมรับแค่ 36% เท่านั้น
2
ซึ่งการดำเนินนโยบายคว่ำบาตรหรือจัดการทางการทหารใดที่กระทำกับรัสเซียแล้ว ส่งผลลบกลับมาที่ประชาชนในประเทศด้วย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเงินเฟ้อ) ก็อาจจะกลายเป็นการตัดทางสู่โอกาสการเลือกตั้งกลางเทอม และการเลือกตั้งสมัยที่ 2 ของเจ้าตัว ดังนั้นคุณไบเดนก็ต้องพิจารณาให้ดีก่อนจะลงมือทำอะไร
3
ซึ่งทั้งหมดนี้ เมื่อนักวิเคราะห์และสื่อต่างๆ สามารถมองเห็นได้ ก็เชื่อเหมือนกันครับว่า ทางรัสเซียก็คงจะมองเห็นเช่นกัน และเมื่อทำการบวกลบคูณหาร ดีดลูกคิดเสร็จแล้ว จึงทำให้ลงมือทำ
3
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ที่คำนวณกันออกมาจะถูกหรือจะผิด แต่ที่แน่ๆ คือ สถานการณ์ตอนนี้เป็นช่วงที่ตึงเครียดและมีความไม่แน่นอนระหว่างสหรัฐ-รัสเซียสูงที่สุด ตั้งแต่ยุคของสงครามเย็นแล้ว
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
1
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
เครดิตภาพ : Sergei Savostyanov via Reuters
โฆษณา