Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Green World Thailand
•
ติดตาม
25 ก.พ. 2022 เวลา 04:50 • สิ่งแวดล้อม
ปัญหาขยะทะเลถ้าไม่รีบจัดการ ต่อไปขยะทะเลจะโลกมหาสมุทร
นอกจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม สังคม และการเมืองแล้ว อีกหนึ่งปัญหาที่ทั่วโลกต้องเตรียมรับมือและเผชิญหน้ากับมัน คือ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่ถูกคุมคามและทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์กันเอง และตอนนี้ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและเร่งหาทางแก้ไข คือ ขยะล้นมหาสมุทร
องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature - WWF) ได้รายงานสถานการณ์เกี่ยวกับปริมาณขยะพลาสติกในมหาสมุทรทั่วโลก ที่ทำให้ระบบนิเวศเสียหาย รวมถึงสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่ต่างต้องล้มตายอีกเป็นจำนวนมาก โดยระบุว่า ขยะพลาสติกในมหาสมุทรทั่วโลกอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นกังวลมากที่สุด พบขยะพลาสติกในร่องลึกมหาสมุทร ผิวน้ำทะเล และในน้ำแข็งอาร์กติก ด้านเมดิเตอร์เรเนียน จีนตะวันออก และทะเลเหลือง มีขยะพลาสติกในระดับที่อันตรายอยู่แล้ว ส่วนในภูมิภาคอื่นๆ ถือเป็นจุดเสี่ยงในการเกิดมลพิษมากยิ่งขึ้นในอนาคต
อีกทั้งยังมีคำกล่าวเตือนอีกว่า ภายในปี พ.ศ.2643 พื้นที่ทางทะเลหลายแห่ง อาจมีความเข้มข้นของไมโครพลาสติก ที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศน์ เกินเกณฑ์ที่กำหนด และคาดว่าขยะในมหาสมุทร จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า ภายในปี 2593 นี้ หรืออีก 28 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดในมหาสมุทร และยังทำลายระบบนิเวศน์ที่สำคัญ อาทิ แนวปะการังไปจนถึงป่าชายเลน จากการศึกษาพบว่า สัต์ทะเลไดรับอันตรายจากขยะพลาสติกมากกว่า 88% โดยประกอบด้วย นกทะเล 90% และเต่าทะเลราวๆ 52% ข้อมูลนี้ สอดคล้องกับข่าวของนักวิจัยชาวญี่ปุน ที่ตรวจพบหน้ากากอนามัยในอุจจาระของเต่าทะเล จังหวัดอินวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น ความเป็นจริงขยะจำพวกหน้ากากอนามัย หรือชุดตรวจ ATK จำเป็นที่จะต้องมีการทำลายอย่างถูกวิธี และรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยด่วน
ด้านกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเลมาโดยตลอด เช่น การดำเนินงานของกระทรวงฯ ที่ผ่านมา
- การจัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561 - 2573 โดยตั้งเป้าเลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ และไมโครบีดส์ ภายในปี 2562
- การผลักดันการเลิกใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมใส่อาหาร หลอดและแก้วพลาสติกชนิดบางแบบใช้ครั้งเดียว ภายในปี 2565
- การนำขยะพลาสติกเป้าหมาย กลับมาใช้ใหม่ ร้อยละ 100 ภายในปี 2570
ผลการดำเนินการข้างต้น ส่งผลให้ในปี 2564 ที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถไปรับลดอันดับประเทศที่มีขยะพลาสติกในทะเลสูงสุดในโลกจากอันดับ 6 เป็น อันดับที่ 10 ได้สำเร็จ โดยลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกได้กว่า 25,284 ล้านใบ หรือ 228,820 ตัน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุผ่าน facebook fanpage Top Varawut อีกว่า "ผมและกระทรวงฯ จะไม่หยุดการดำเนินงานอยู่เพียงแค่นี้ แต่จะยังมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานต่อไป โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นสมบัติของพี่น้องคนไทยทั้งประเทศสืบไปครับ"
หากเราคนไทย ลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติก หรือวัสดุที่ทำจากพลาสติกได้ เชื่อว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่สามารถลดขยะพลาสติกในประเทศได้ดีเยี่ยม ในลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย