28 ก.พ. 2022 เวลา 01:20 • สุขภาพ
การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal fusion)
20
การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal fusion) เป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้เชื่อมกระดูกข้อสันหลังตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป โดยมักจะทำเพื่อกำจัดอาการปวดจากการเคลื่อนตัวของข้อกระดูกสันหลังและทำให้ข้อกระดูกนั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
23
เหตุผลที่ต้องใช้การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง
การเชื่อมข้อกระดูกสันหลังมักจะทำกับกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว แต่ก็สามารถใช้กับกระดูกสันหลังส่วนคอและอกได้ ผู้ป่วยที่เข้ารับการเชื่อมยึดกระดูกสันหลังมักจะมีปัญหาการดึงรั้งของเส้นประสาทหรือไม่ก็มีอาการปวดรุนแรงที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการปกติได้
อาการที่แพทย์จะใช้การยึดตรึงกระดูกสันหลังรักษา ได้แก่
  • หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
  • อาการปวดจากปัญหาหมอนรองกระดูก
  • เนื้องอกที่กระดูกสันหลัง
  • กระดูกสันหลังแตก
  • กระดูกสันหลังคดงอผิดปกติ (Scoliosis)
  • กระดูกสันหลังค่อม (Kyphosis)
  • กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)
  • กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis)
  • อาการกระดูกสันหลังกดทับต่างๆ
  • อาการที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของข้อกระดูกสันหลัง
  • อาการติดเชื่อกระดูกสันหลังบางชนิด
วิธีการผ่าตัด
ในกรณีทั่วไป การยึดตรึงกระดูกนี้จะเหมือน “การซ่อม” โดยการนำสกรูโลหะ (มักทำด้วยไททาเนียม) ก้านโลหะ แผ่นโลหะ หรือหมอนรองกระดูกเทียมมายึดข้อกระดูกสันหลังทำให้กระดูกเกิดการประสานเชื่อมกัน การประสานของกระดูกจะใช้เวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์หลังจากผ่าตัด ระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังด้วย ปัจจัยภายนอกที่ทำให้การสมานกระดูกเป็นไปได้ช้าหรืออาจจะขัดขวางกระบวนการสมานกระดูกของร่างกาย ได้แก่ การสูบบุหรี่ ภาวะกระดูกพรุน การใช้ยา หรือการทำกิจกรรมหนักๆ หากกระดูกไม่สามารถประสานกันได้ผู้ป่วยอาจต้องรับการผ่าตัดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
อาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังจากการผ่าตัดพบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยงต่ออาการต่างๆ ดังนี้
  • 1.
    มีเลือดออกจากแผลหลังจากการผ่าตัด
  • 2.
    การติดเชื้อและต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
  • 3.
    ปัญหาที่เกิดจากอุปกรณ์ที่ใช้ใส่บริเวณกระดูกที่ผ่าตัด เช่น อุปกรณ์หลวมหลังผ่าตัด
  • 4.
    เลือดจับตัวเป็นลิ่ม
  • 5.
    อาการข้างเคียงจากการใช้ยาสลบ
ทางเลือกอื่นในการรักษา
แพทย์อาจแนะนำถึงวิธีการรักษาอื่นนอกเหนือจากการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง เช่น การลดน้ำหนัก และการใช้ยาบรรเทาอาการปวด การทำกายภาพบำบัดและการใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงกระดูกอาจช่วยลดการกดทับหรือทำให้เคลื่อนไหวข้อสันหลังได้ดีขึ้นหรือการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทโดยไม่ต้องพึ่งวิธีการผ่าตัด
การพักฟื้น
หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดหลังและต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงหลัง ผู้ป่วยที่มีอายุมากจะใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า
ผู้ป่วยที่สามารถเข้ารับการรักษา
แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยถึงความเหมาะสมในการรักษาผู้ป่วยแต่ละรายหลังจากได้ตรวจและพูดคุยกับผู้ป่วยแล้ว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา