26 ก.พ. 2022 เวลา 06:57 • ความคิดเห็น
จริงไหมมีคนบอกหลักการในหนังสือ The Lean Startup ล้าสมัย?
จากบทความนึงใน https://rbefored.com/the-lean-startup-is-outdated-drop-everything-that-comes-from-it-9bebdd328bfd มีการตีพิมพ์ article นึงบอกว่าตั้งแต่หนังสือเล่มนี้พิมพ์ในปี 2011 ก็มีคน follow ตามหลักการหลายอย่างในหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะเหล่า Start-up ทั้งหลายโดยผู้แต่งอ้างว่าทำตามหนังสือเล่มนี้ success rate ของ start up ที่ทำได้ต่ำมาก <2% เพราะส่วนใหญ่ start-up หรือคนที่เอาไปใช้จะเจอปัญหา product-market-fit ทั้งสิ้น กอปรกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและเทคโนโลยีหลายอย่าง อาจจะต้อง evolve วิธีคิดเข้าไปเพิ่มเติมมากขึ้นด้วย
สิ่งที่ผู้เขียนบอกว่า The Lean Startup ไม่ได้บอกผู้อ่านหลายๆ อย่างใน “วิธีปฏิบัติ” เช่น
1. หนังสือบอกว่าให้ “ไปคุยกับลูกค้าเยอะๆ ให้เห็นถึงความต้องการที่แท้จริง หรือ pain ของลูกค้า” แต่ “หนังสือไม่ได้บอกว่า “คำถามที่ดี หรือไม่ดีในการไปถามหรือคุยกับลูกค้าเป็นอย่างไร?” และสุดท้ายคนที่เอาไปใช้ กับดักสำคัญสุดคือ “ถามผิด” “Validate assumption ก็ผิด” พอเอามาผิด ก็ไปเข้ากระบวนการ ideate ที่ผิดๆ ต่อไป ซึ่งก็นำไปสู่ความล้มเหลวแต่เริ่มแน่นอน
2. หนังสือแนะนำว่า “Just Ship It” ซึ่งปกตินักลงทุน ก็อยากเห็นสิ่งที่เป็นจริงมากกว่าไอเดียอยู่แล้ว ซึ่งหลายไอเดียออกมา รีบทำจริงมันก็ต้องแก้ไขอีกเยอะมาก ซึ่งไอเดียเน้น ship ของออกมาให้เร็วที่สุด อาจจะเหมาะกับ startup ที่ต้องการเงินทุนในระยะแรก แต่อาจไม่เหมาะกับบริษัทจำนวนมากที่ต้องมองอะไรระยะยาว
3. ในหนังสือไม่ได้พูดถึงกระบวนการด้าน CX/UX และถ้ากระบวนการขาด CX/UX เกี่ยวข้อง แต่มุ่งเน้นเรื่องการออกผลิตภัณฑ์ให้ได้บ่อยๆ ตลอด ซึ่งมันอาจจะไม่ work จริงๆ สำหรับลูกค้า และเสียเวลาในการ release test หรือ rebuild อีกหลายครั้ง
4. MVP circle ที่เราเน้นออกของ ship ให้บ่อยสุด ด้วย Feature จำเป็นแต่น้อยๆ ให้งานออกไปได้ อาจจะตรงข้ามกับชีวิตจริงที่ต้องมองเรื่องคุณภาพ เช่น ลด defects, หรือการเน้น customer sastisfaction สูงสุด
5. ยุคนี้สิ่งที่ Challenge จริงๆ ของ start-up คือ เรื่อง User-experience, product-market-fit, the right idea, และ the right execution of ideas ซึ่งมันไม่ได้บอกเลยในหนังสือว่าจะต้องทำยังไง?
แต่หลักการในหนังสือ “The Lean Start up” มีหลักการที่ดีหลายอย่างที่บริษัท start up หรือ corporate หรือตัวผมก็ใช้ในทุกๆ วันนี้หลายอย่าง โดยผู้เขียนก็บอกให้ระวังจุดการใช้เพิ่มหลายๆ จุดในหลักเหล่านี้ ตัวอย่างหลักที่เราใช้บ่อยๆ จากหนังสือ เช่น
1. “Build-Measure-Learn cycle” อันนี้คนชอบใช้มาก โดยเฉพาะตัวผมเอง ก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีคิดพื้นฐานเวลาจะทำอะไร? ซึ่งผู้เขียน article แนะนำได้น่าสนใจว่า ให้สังเกตุว่า “Learn” กลับเป็น cycle ท้ายๆ โดยแนะนำให้เอาไอเดีย แล้วไปสร้างก่อน ซึ่งแบบนี้แน่นอนจะ lead ไปที่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เน้น “Feature approach” มากกว่า แล้วถ้าไอเดียผิด (มาจากการตั้ง asuumption ที่ valid มาผิด) ก็จะเป็นการเน้นกอง Feature มหาศาล เพราะต้องเน้ build or ship ดังนั้น ผู้เขียนแนะนำว่าน่าจะเริ่มจากวงจร “CX/UX research > CX/UX Architecure/design/prototyping > CX/UX testing > CX/UX iteration > Have Engineering Build it or Go Live >…หมุนเป็น cycle นี้แทน”
2. “Actionable Metrics vs Vanity Metrics” ตอนประมาณช่วง 201x ตัวนักลงทุนมักจะชอบถามหาสิ่งที่เรียกว่า “traction และการ adoption” (เน้นว่ามี user มาสมัครและใช้งานแล้วเยอะแค่ไหน) และลองไปดูหลายๆ เวที pitch กรรมการไทยๆ ก็ยังเน้นถามหาเรื่องนี้อยู่ แล้วโลกความจริงพวก startup ก็ไป manuoulate เลข traction กับ adoption มาทั้งนั้น โดยโชว์ยอดดาวน์โหลดเยอะๆ นาทีการใช้งานในแอพเยอะบ้าง แต่ metric พวกนี้ไม่ได้บอกเลยเวลาถ้าต้องใข้จริง หรือจะเก็บเงินให้จ่ายจริง คนยอมไหม? หลายครั้งลองไปถามลูกค้าๆ บอกดีชอบตอนฟรี แต่เวลาใช้จ่ายเงินอีกเรื่องนึงนะ ดังนั้น metrics ไม่ได้บอกว่าทำ product ถูกทางหรือผิดทางถ้าวิธีคิดเรายังไม่เปลี่ยนไปในเชิงคุณภาพ เช่น อะไรคือตัววัดของคุณภาพของ research ที่ไปทำมา พวกนี้ควรจะ add เข้าไปเพิ่มเติมด้วย
3. “A/B Testing” ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา hit มาก hit ขนาด A/B/…Z testing (Multi variance testing) กันเลยทีเดียว เพราะเหมือนตำราบอกต้องทำ ก็ทำกันใหญ่ จนลืมว่า A/B testing ต้องทำบนพื้นฐานของ Goal ที่ว่า test ไปแล้ว achieve business goals เรื่องอะไร? ไม่ใช่ไปเทส UI ปรับปุ่มไปมา ปรับสี ปรับแค่ความชอบลูกค้าเรื่องใช้ง่ายใช้ยาก เป็นต้น แต่ต้องมาเน้นเช่น “ที่บอกว่าดีตลอดตอนฟรี หรือมีโปรโมชั่นให้” ทำไม “ถึงไม่อยากจ่ายเงิน” เป็นต้น
4. “Pivot” ตัวนี้เป็นตัวที่เท่ห์มากในหนังสือ หลังเรียนรู้ว่าไม่ work เราก็จะบอก pivot สิ ซึ่งจริงๆ นิยามของ Pivot มันหมายถึง “slightly or completely change โดยอยู่บนพื้นฐานของ feedbacl ลูกค้า หรือความล้มเหลวของ metrics or goals ที่เซทไว้” ซึ่งวงจนนี้มันจะเกิดหลังไป Build แล้ว learn แล้ว แต่ยุคนี้ คน adopt วิธีคิด Agile มากขึ้น คือ เราไม่เปลี่ยนตอนท้าย เราจะเปลี่ยน requirement เมื่อไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ เราจะไม่มานั่ง build จนมาหาข้อมูลวัดผลเรียนรู้ แต่เราต้องรู้ก่อนว่า Right ของ customer คืออะไร เราอาจจะเปลี่ยนกลางกระบวนการเลยก็ได้ ไม่ต้องมาเปลี่ยนตอนขั้นตอนสุดท้าย
ดังนั้น เท่าที่อ่านจริงๆ หนังสือมันไม่ได้เก่า เรื่องหลักคิดหรอก แต่ว่ามันแค่ต้องใส่ “วิธีการ, ผู้คนหรือทีมรับผิดชอบ, หรือ process บางอย่างเข้าไปผสมผสานต่างหาก” เช่น
1. ต้องจ้าง หรือมี CX/UX ที่เก่ง แล้วปล่อยให้เขาได้ทำงานของของเขาให้ดีที่สุด อย่าไปแทรกแซงใดๆ ที่ไม่ใช่ความต้องการลูกค้าจริงๆ และงาน CX/UX ไม่ใช่แบบที่เราเข้าใจมาสัมภาษณ์เขียน joueney, ทำ wirframe, testing แต่ต้องไปถึงระดับ Business Intelligence (BI), Customer Intelligence (CI), การจัดการความเสี่ยงของบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากประสบการณ์ลูกค้า เป็นต้น
2. “Build-Measure-Learn cycle” เป็นแค่กรอบ แต่ต้อง aware เรื่อง learn เยอะๆ ทดลองกรอบ cycle “CX/UX Research -> CX/UX Architecture/Design/Prototyping -> CX/UX Testing -> CX/UX Iteration -> Have Engineering Build It And Go Live.” ในการทำงานดู
3. ต้องไม่คิดจาก “Feature” ที่อยากได้ อยาก release แต่ต้อคิดว่า “Task หรืองานอะไรที่’ ต้องการแก้ไขปัญหาลูกค้า (แนะนำให้กลับไปอ่านเรื่อง Job-To-Be-Done (JTBD ของ ดร.เคลย์ตัน คริสเตนเซ่น) ต้องเรียนรู้ ไม่ใช่เริ่มว่า “Idea” coolๆ ของเรา หรืออยากเป็นเหมือนใคร แต่ต้องเริ่มด้วย scientist thinking ว่า “You might learn that the problem you wanted to solve isn’t really a problem. You might learn that your intended audience isn’t the right audience.”
4. “เร็ว” ไม่ได้แปลว่าถูกต้อง หรือจะยึดตลาดได้ก่อน หรืออาจจะไม่ใช่ว่ามันคือ innovation หรือ disruptive product ใดๆ บริษัทแบบ Apple, Alphabet, Meta, Amazon, Alibaba นั้นล้วน spend เรื่อง R&D แต่งาน start up หรือ SW compapany ใน 10 ปีหลัง จะเน้นไปอ่านๆ หรือ skim research แล้วรีบ jump เข้าไปทำ ซึ่งอาจไม่ถูกต้อง
5. “Lean” = reducing internal and external waste และ waste ที่เกิดจากการทำงานคือ “การเดาหรือคิดแทนลูกค้าว่าต้องการอะไร, การ rebuild หรือติดใน loop ของ MVP โดยไม่มองภาพระยะยาว ซึ่งเป็นผลให้ลูกค้าได้ผลิตภัณฑ์ไม่สมประกอบ บริการที่ไม่ดี Workflow การทำงานที่ยากโดยเราอ้างว่าตอนนี้เราทำ “MVPs” ในการกล่าวอ้างกับลูกค้า หรือ users อยู่ “ Fake Lean should be cut for its waste. Real Lean is something to learn about and take the best from.”
6. Business strategies, goals, initiatives, และ priorities ต้องถูกสร้างบนพื้นฐานของ “Customer-concentric” (ลูกค้าที่มีศักยภาพ)
โฆษณา