2 มี.ค. 2022 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
ฟอสซิลที่ถูกพบบริเวณชายหาดของสกอตแลนด์ ทำให้เรารู้ว่าเมื่อประมาณ 170 ล้านปีก่อน มี "สัตว์เลื้อยคลานบินได้" ที่ไม่ใช่ "นก" อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับ "ไดโนเสาร์"
1
ฟอสซิลของเทอโรซอร์ที่ถูกพบบริเวณชายหาดของประเทศสกอตแลนด์ (ภาพ : Stewart Attwood/University of Edinburgh)
ไดโนเสาร์น่าจะเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่คนส่วนใหญ่รู้สึกคุ้นเคยมากที่สุด แต่จริง ๆ แล้วในยุคเดียวกับมันยังมีสัตว์ชนิดอื่นอาศัยอยู่ด้วย
หนึ่งในนั้นก็คือ เทอโรซอร์ (pterosaur) สัตว์เลื้อยคลานมีปีกที่สามารถบินได้
โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เริ่มมีการขุดพบฟอสซิลของเทอโรซอร์ในหลายประเทศ
ตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2017 ที่บริเวณหาดหินของเกาะสกาย (Isle of Skye) ประเทศสกอตแลนด์ นักศึกษาคนหนึ่งได้พบฟอสซิลกระดูกขากรรไกรของเทอโรซอร์ยุคจูแรสสิก (Jurassic Period) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการพบมา โดยมีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับมันว่า Dearc sgiathanach
ทีมนักวิทยาศาสตร์ช่วยกันขนย้ายฟอสซิลของเทอโรซอร์ที่พบเมื่อปี 2017 (ภาพ : Shasta Marrero/University of Edinburgh)
ซึ่งจากการตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดของนักวิทยาศาสตร์ พบว่ามันเป็นฟอสซิลของเทอโรซอร์ที่ยังไม่โตเต็มที่ แต่มีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่เคยมีการพบในสกอตแลนด์ โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่าถ้าเทอโรซอร์ตัวนี้โตเต็มที่ มันน่าจะมีความกว้างจากปลายปีกข้างหนึ่งถึงปลายปีกอีกข้างหนึ่งไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร แต่ด้วยน้ำหนักตัวที่เบาเนื่องจากกระดูกที่กลวง ทำให้มันสามารถบินไปบินมาบนท้องฟ้าได้อย่างง่ายดาย
ภาพจำลองของเทอโรซอร์ ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานบินได้ที่อยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์ (ภาพ : Natalia Jagielska/University of Edinburgh)
ฟอสซิลของเทอโรซอร์ที่ถูกพบในหลายพื้นที่ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจชีวิตของเจ้าสัตว์เลื้อยคลานมีปีกชนิดนี้
และถ้าในอนาคตมีการพบฟอสซิลชิ้นส่วนต่าง ๆ ของมันมากขึ้น ปริศนาบางอย่างเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ก็น่าจะคลี่คลายได้มากกว่าเดิม
โฆษณา