27 ก.พ. 2022 เวลา 03:23 • ปรัชญา
ผมว่าคุณอาจจะเข้าใจผิด คนที่จะทําเช่นนั้นได้ต้องเข้าใจหลักศาสนาดีพอ หลักศาสนาคือความเชื่อ คําสอนเพื่อเข้าถึงความจริงหรือแก่นแท้หรือความหมายของชีวิตซึ่งมันเป็นมายา ไม่สามารถคิดเอาเองได้ สิ่งที่คุณคิดว่าคุณเข้าใจแล้ว คุณค้นพบความหมายของชีวิตแล้ว มันก็ไม่เป็นความจริง เพราะคุณไม่มีหลักหรือทางเดินที่จะนําคุณไป คุณเดินสะเปะสะปะ และวกไปวนมาและกลับมาที่เดิม และคิดว่าถึงจุดมุ่งหมายแล้ว เพราะความคิดมันหลอกลวงและทําให้หลงทาง เด็กรุ่นใหม่มักจะบอกว่าตนเองไม่มีศาสนา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนมีอิสระเสรี แต่เวลาหลงทางก็ไม่รู้ว่าตัวเองหลงทาง เวลามีความทุกข์ก็จมปลักอยู่ในความทุกข์ ยึดติดกับบางสิ่ง ไม่เข้าใจทุกข์ สุข และไม่รู้ว่าอิสระเสรีภาพที่แท้จริงคืออะไร การออกเดินทางท่องเที่ยว พบปะผู้คน สังสรรค์ ก็ทําให้ทุกข์หายไปชั่วคราว พอสิ่งเหล่านี้หมดไปก็จะกลับมาทุกข์เหมือนเดิม
การไม่นับถือศาสนาไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถ้าจะบอกว่าการไม่นับถือศาสนาเป็นศาสนาแล้วละก็ เข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง ถ้าไม่เข้าใจหลักการของศาสนา และไม่เคยศึกษาหลักการของศาสนาอื่นๆ เพราะไปเห็นแต่เปลือกของศาสนาแต่ไม่เข้าใจแก่นจึงไม่เกิดความศรัทธา ถ้าเข้าใจหลักการศาสนาดีพอแล้ว แม้จะไม่นับถือศาสนาใดๆเลย จะเข้าใจชีวิต โดยใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ลดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนลงไปเรื่อยๆ ความทุกข์จะค่อยๆน้อยลงไปเรื่อยๆ ความสงสัยในเรื่องของชีวิตจะค่อยๆหมดไป จะเห็นความทุกข์ ความสุข ดีใจ เสียใจ ความเศร้า ความเหงา เป็นเรื่องธรรมดา และชีวิตนี้ก็จะเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ ถามว่าแค่นี้คุณทําได้หรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นหลักการใดๆที่คุณยึดถือ หรือยึดหลักศาสนาใดๆ แล้วคุณมีความทุกข์มากขึ้นเรื่อยๆ คุณยังเห็นแก่ตัว เอาเปรียบผู้อื่น คุณยังมีความสุขกับวัตถุสิ่งของ การสรรเสริญเยินยอ แสดงว่าคุณเดินหลงทางแล้ว
ส่วนคนที่เข้าใจหลักศาสนาอย่างแท้จริง ไม่จําเป็นต้องนับถือศาสนาอื่นก็มี แต่จะมีแค่ 1 ใน พันล้านคนและตัวเขาเองจะสถาปนาตัวเองเป็นคุรุ หรือศาสดาและเผยแผ่คําสอนที่เขาเข้าใจและมีคนนับถือกันทั้งโลก อย่างเช่น ท่าน กฤษณะ มูรติ เป็นต้น หรือหลักการของลัทธิเซ็นและเต๋า เป็นต้น ซึ่งคนธรรมสามัญทําไม่ได้
โฆษณา