Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
27 ก.พ. 2022 เวลา 05:33 • สุขภาพ
😁ปากนกกระจอก (Angular Cheilitis)
คือ ภาวะการอักเสบที่มุมปากเกิดเป็นรอยบวมแดงในมุมปากและเป็นแผลหรือเป็นแผลที่มุมปาก ปากแห้งและแตกบริเวณที่ริมฝีปาก
โรคปากนกกระจอกสามารถเกิดได้ที่มุมปากทั้งสองข้างได้ในเวลาเดียวกัน
มุมปากมีเลือดออก
เป็นแผลฉีกขาดหรือพุพอง
ปากแห้งแตก
คัน
เจ็บปวด
เป็นสะเก็ด
ปูดบวม
บางคนจะรู้สึกแสบร้อนที่บริเวณริมฝีปาก เจ็บปากขณะกินอาหาร หากมีการระคายเคืองรุนแรงอาจทำให้กินอาหารยาก
สาเหตุที่พบบ่อย
📌– ปากแห้ง เลียปากบ่อย ๆ
ทำให้มีน้ำลายหมักหมมบริเวณมุมปาก เชื้อราเติบโตได้ดี
โรคปากนกกระจอกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคนี้คือเชื้อแคนดิดา (Candida) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก
น้ำลายจากการเลียปาก เนื่องจากน้ำลายจะหมักหมมอยู่บริเวณมุมปาก ทำให้ปากแห้งและแตก เมื่อเลียมุมปากที่แห้ง จะทำให้เชื้อราตรงแผลที่มีอยู่ก่อนแล้วเจริญและแบ่งเซลล์มากขึ้น จนนำไปสู่การติดเชื้อได้
📌– การสูญเสียฟัน/ฟันด้านบดเคี้ยวสึกรุนแรง
การสูญเสียฟันหลายซี่ (โดยเฉพาะฟันกราม) และไม่ใส่ฟันทดแทน หรือมีฟันด้านบดเคี้ยวสึกรุนแรงทั้งปาก นอกจากจะทำให้มีใบหน้าสั้นลงแล้ว ยังทำให้มุมปากตก น้ำลายสะสมบริเวณมุมปาก และเกิดโรคปากนกกระจอกได้
📌– เชื้อราในช่องปากหรือที่มุมปาก
ทำให้เกิดการระคายเคือง/อักเสบบริเวณมุมปาก นอกจากเชื้อราแล้ว เชื้อแบคทีเรีย (Staphylococcus aureus) หรือแม้แต่ไวรัสบางชนิด เช่น เริม (herpes simplex type 1) ก็ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน
📌– การขาดวิตามินB2 (riboflavin) B3 (niacin) B6 (pyridoxine) B9(folate) หรือธาตุเหล็ก ทำให้ริมฝีปากแห้งแตก มุมปากซีดและแตกเป็นรอย
💄สาเหตุอื่นๆ เช่น อาการแพ้ เช่นแพ้ลิปสติก ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือแพ้อาหารบางชนิด
📌ยาที่ทำให้เกิดปากนกกระจอก ได้แก่ ยาทาโรคสะเก็ดเงินetretinate และ ยารักษาสิวกรดวิตะมินเอ isotretinoin จะทำใหริมฝีปากแตกแห้งอย่างมาก โดยเฉพาะบริเวณมุมปาก
⏹️วิธีรักษาปากนกกระจอก
ถ้าสาเหตุเกิดจากการขาดวิตามินบี 2 (Riboflavin) ให้รักษาด้วยการกินวิตามินบี 2 หรือวิตามินบีรวมวันละ 1-3 เม็ด จนกว่าจะหาย หรือกินอาหารประเภทข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง ผักและผลไม้ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินบี 2 อยู่เป็นประจำ
⏺️วิธีป้องกัน
เช็ดน้ำลายที่มุมปากให้แห้งอยู่เสมอ
ไม่กัดหรือเลียริมฝีปาก
ทาลิปมันหรือวาสลีนเมื่อรู้สึกปากแห้ง
(วาสลีนหรือปิโตรเลียมเจลลี่สามารถใช้ทาปากได้ โดยเป็นส่วนประกอบสำคัญของลิปสติก)
ดูแลช่องปากและฟันทดแทนให้สะอาด
กินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 2 เช่น ปลา ตับ ถั่ว ผักใบเขียว ข้าวกล้อง และธาตุเหล็ก เช่น ตับ เนื้อแดง ใบกระเพรา ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ
🧙♂️ในกรณีที่เกิดจากฟันปลอม ควรถอดฟันปลอมออกก่อนนอน ควรทำฟันสะอาดฟันปลอมด้วยการแปรงให้สะอาด แล้วแช่ในน้ำยาคลอเฮ็กซิดีน กรณีมีอาการผิดปกติ รู้สึกไม่สบาย หรือเจ็บปวดมาก ๆ แนะนำให้พบหมอฟัน
.
.
💢
https://cth.co.th/angular-cheilitis/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470592/
.
ภาพจาก
https://healthjade.net/angular-cheilitis/
https://multimedia.anamai.moph.go.th/infographics/funyoungdee-angular-cheilitis/
แผลที่มุมปาก หรือ โรคปากนกกระจอก
รายที่ 1 เด็กชาย อายุ 8 ปี มาจาก จ.ร้อยเอ็ด
เป็นแผลที่มุมปากมานาน รักษาที่คลินิก
อาการยังไม่ดีขึ้น ยังเจ็บปากเวลาอ้าปาก กินอาหารไม่ได้
วินิจฉัยว่าเป็น แผลที่มุมปาก
ให้การรักษาด้วย
ยาทาปรุงพิเศษที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ลดการอักเสบ
วิตามินดี ครีมทาเพิ่มความชุ่มชื้น
แร่ธาตุอาหารเสริมสังกะสีช่วยให้แผลหายเร็ว
วิตามินดี เสริมเพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน ลดการอักเสบ และป้องกันติดเชื้อ
หลังการรักษา 1 วัน
โทรศัพท์สอบถามอาการแม่เด็ก
บอกอาการดีขึ้นแล้ว ไม่เจ็บ อ้าปากรับประทานอาหารได้
แผลด้านขวาหายแล้ว แผลด้านซ้ายดีขึ้น 50%
รายชื่อ 2 เด็กชาย อายุ 4 ปี
เป็นไข้สูงมา 2-3 วัน
หายไข้แล้ว เป็นแผลที่มุมปาก
เจ็บปากเวลาอ้าปาก กินอาหารไม่ได้
วินิจฉัยว่าเป็น แผลที่มุมปาก
ให้การรักษาแบบเดียวกับรายแรก ร่วมกับ
น้ำเกลือ Normal saline – NSS ชุบสำลีประคบบ่อยๆ
แก้ภาวะขาดน้ำด้วยการแนะนำให้รับประทานน้ำเกลือแร่ผสมน้ำบ่อยๆ
แผลที่มุมปาก หรือ โรคปากนกกระจอก
Angular stomatitis or Angular cheilitis
คือ อาการแผลเปื่อยที่มุมปากทั้ง 2 ข้าง
สาเหตุโรคปากนกกระจอก
ส่วนใหญ่แล้วคนมักเข้าใจว่าโรคปากนกกระจอกเกิดได้จากการขาดวิตามินบี 2 เพียงอย่างเดียว
แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคปากกระจอกได้อีกมาก
วิธีรักษาปากนกกระจอก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคปากนกกระจอกไม่จำเป็นต้องมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเสมอไป และการขาดสารอาหารนี้ก็เป็นสาเหตุการเกิดโรคที่พบได้น้อยมากในปัจจุบัน
ฉะนั้น ผู้ป่วยควรหาสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริงแล้วทำการรักษาที่ต้นเหตุ ซึ่งจะทำให้อาการดังกล่าวหายไปโดยไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
แหล่งอ้างอิง
1.ปากนกกระจอก อาการ สาเหตุ การรักษาโรคปากนกกระจอก
https://medthai.com/ปากนกกระจอก/
2.ปากนกกระจอก - อาการ, สาเหตุ, การรักษา - พบแพทย์ – Pobpad
https://www.pobpad.com/ปากนกกระจอก
https://www.facebook.com/249348435270334/posts/852184801653358/
บทความเรื่องปากนกกระจอก
https://www.blockdit.com/articles/5edfe4317dddc5203fa6e460
POSTED 2022. 02.27
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย