4 มี.ค. 2022 เวลา 23:16 • สุขภาพ
กลไกการรับกลิ่น
1
การรับกลิ่น เป็นการทำงานที่ซับซ้อนระหว่าง "จมูก" และ "สมองส่วนหน้า" บริเวณที่เรียกว่า ออลแฟกทอรี่บัลบ์ (Olfactory bulb) เพื่อส่งต่อสัญญาณไปยัง "สมองส่วนซีรีบรัม" ให้แปลข้อมูลว่าเป็นกลิ่นอะไร หอมหรือเหม็น
การรับรู้กลิ่นช่วยในการอยู่รอดของมนุษย์ทำให้รับรู้คุณภาพของอาหาร เป็นสัญญาณเตือนภัยให้มนุษย์และสัตว์อื่น ๆ รู้ล่วงหน้าว่าภัยใกล้จะถึงตัว
กลไกการรับกลิ่น
การที่เราสามารถรับรู้กลิ่นต่าง ๆ รอบตัวได้นั้น ก็เพราะเรามีอวัยวะรับกลิ่นคือจมูก ซึ่งจมูกนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. เวสติบูลลาร์ (Vestibular region) ประกอบด้วย รูจมูกส่วนนอก มีทั้งขนจมูก และต่อมน้ำมัน
2. ส่วนหายใจ (Respiratory region) ประกอบด้วย ต่อมมีเมือก และเส้นเลือดฝอยมากมาย
3. ส่วนดมกลิ่น (Olfactory region) ประกอบด้วย Olfactory epithelium, Olfactory bulb และ Olfactory tract หรือ ประสาทสมองคู่ที่ 1 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น
การรับกลิ่นเกิดขึ้นเมื่อโมเลกุลของ สารผ่านจมูกในส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 จนถึงส่วนที่ 3 และสัมผัสกับเซลล์ Olfactory cilia ซึ่งมีลักษณะเป็นขนอยู่ด้านนอกสุด จากนั้นจึงไปกระตุ้นให้ Olfactory receptor cell ซึ่งเป็นเซลล์รับกลิ่น ซึ่งเซลล์นี้จะส่งกระแสประสาท ไปยัง Olfactory bulb (จุดรวมของ Olfactory nerve ทั้งหมด) แล้วจึงผ่าน Olfactory tract ซึ่งเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 เข้าสู่สมอง โดยจะแยกเป็น 2 ทาง คือ ไปสู่ medial olfactory area และไปสู่ lateral olfactory area medial olfactory area ของสมองมีความสำคัญในสัตว์มากเพราะส่วนนี้ควบคุม primitive respons ของการรับกลิ่น เช่น การเลียริมฝีปาก น้ำลายไหล และการกินอาหาร ฯลฯ ตลอดจนแรงผลักดันทางอารมณ์ (emotional drive) เมื่อได้รับกลิ่น
สำหรับ lateral olfactory area (เยื่อบุรับกลิ่น) เกี่ยวข้องกับความจำและประสบการณ์เกี่ยวกับกลิ่น ทำให้เกิดความชอบและไม่ชอบอาหาร
กลิ่นที่จะกระตุ้นเซลล์รับกลิ่นได้ดีนั้น ควรมีคุณสมบัติดังนี้คือ
1. ระเหยได้ในอากาศ เพื่อสูดผ่านเข้าจมูกได้
2. ละลายน้ำได้ดี เพื่อผ่านเยื่อบุจมูกไปสู่เซลล์รับกลิ่นได้
3. ละลายได้ดีในไขมัน เนื่องจากเซลล์รับกลิ่นมีสารไขมันเป็นองค์ประกอบ
การที่คนเราสามารถแยกความแตกต่างระหว่างกลิ่นต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มากมายประมาณ 10,000 กลิ่นได้นั้น เนื่องจากเซลล์รับกลิ่นมียีนที่เฉพาะเจาะจงเพียง 1 ยีนเท่านั้น ฉะนั้นเซลล์รับกลิ่นจึงมีอยู่เป็นจำนวนมากและมีหลายชนิด
#สาระจี๊ดจี๊ด
Lateral olfactory area (เยื่อบุรับกลิ่น) เกี่ยวข้องกับการรับกลิ่นและการวิเคราะห์กลิ่น โดยบริเวณนี้ของมนุษย์จะมีขนาดเล็กประมาณ 2-5 ตารางเซนติเมตร ซึ่งแตกต่างกับในสัตว์ เช่น สุนัข จะมีพื้นที่ในบริเวณนี้ขนาดใหญ่ประมาณ 25 ตารางเซนติเมตร จึงทำให้สุนัขมีการรับกลิ่นที่ยอดเยี่ยมกว่ามนุษย์นั่นเอง
#สาระจี๊ดจี๊ด
มีการศึกษาพบว่าเชื้อโคโรน่าไวรัสแพร่กระจายเข้าสู่กลุ่มเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการรับกลิ่นในโพรงจมูก ไปเปลี่ยนแปลงทำให้เซลล์ประสาทรับกลิ่นทำงานผิดปกติ ผู้ติดเชื้อบางคนจึงไม่ได้กลิ่น
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา