28 ก.พ. 2022 เวลา 11:56 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก “SWIFT” ระบบโอนเงินโลก ที่รัสเซียโดนแบน
3
จากเหตุการณ์ล่าสุดที่ทางรัสเซียได้ปฏิบัติการทางการทหารโจมตียูเครนทำให้หลายชาติเริ่มออกมาตรการแทรกแซงและคว่ำบาตรรัสเซีย
2
หนึ่งในมาตรการสำคัญนั่นก็คือ การมีมติแบนธนาคารบางแห่งของรัสเซียออกจากระบบ “SWIFT”
1
ซึ่งได้มีการประเมินว่าจะทำให้การค้าขายระหว่างประเทศของรัสเซียหยุดชะงักไป
อาจทำให้เศรษฐกิจของรัสเซียหดตัวลงทันทีถึง 5% หรืออาจจะมากกว่านั้นในระยะยาว
ล่าสุด ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียก็อ่อนค่าลง 30% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ระบบ SWIFT คืออะไร
การคว่ำบาตรรัสเซียด้วยวิธีนี้ รุนแรงขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
 
ปัจจุบัน การทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศนั้น เรียกได้ว่าไร้พรมแดน เพียงแค่เดินเข้าไปในธนาคารแล้วก็กรอกเอกสารนิดหน่อย รอไม่กี่วัน เงินก็จะเข้าบัญชีปลายทางเรียบร้อย
1
แต่ที่เป็นแบบนั้นได้ จริง ๆ แล้ว เรามีระบบการสื่อสารหลังบ้านสำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศอยู่ เรียกว่า SWIFT
1
SWIFT มีชื่อเต็มว่า Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication
หรือ สมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก
2
ถูกก่อตั้งขึ้นมาในปี 1973 โดยความร่วมมือของ 239 ธนาคารจาก 15 ประเทศ
มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศเบลเยียม
1
ปัจจุบัน เครือข่ายนี้มีธนาคารและสถาบันการเงินมากกว่า 2,000 แห่ง เป็นเจ้าของร่วมกัน
อยู่ภายใต้การดูแลของ ธนาคารแห่งชาติเบลเยียม โดยร่วมมือกับธนาคารกลางรายใหญ่ทั่วโลก
รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางอังกฤษ
2
โดย SWIFT จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารเท่านั้น ไม่ได้เก็บเงินทุนหรือหลักทรัพย์ใด ๆ ไว้กับตัวเอง
1
การสื่อสารนี้ SWIFT จะมีรหัสเฉพาะของสถาบันการเงินปลายทางซึ่งถูกระบุไว้ใน 8-11 หลัก
โดยหลักที่ 1-4 คือ รหัสสถาบัน
หลักที่ 5-6 คือ รหัสประเทศ
หลักที่ 7-8 คือ รหัสเมือง
หลักที่ 9-11 คือ รหัสสาขาซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
ตัวอย่างเช่น KASITHBK ก็จะหมายถึง ธนาคารกสิกรไทย ประเทศไทย มีที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ นั่นเอง
5
นอกจากรหัสที่บ่งบอกถึงที่อยู่ของสถาบันการเงินปลายทางแล้ว
SWIFT ก็ยังมีรหัสเฉพาะสำหรับแต่ละธุรกรรมด้วย เช่น
- ACOW คือ Account Owner หรือ เจ้าของบัญชี
- DEBT คือ Debtor หรือ ลูกหนี้
- PAYD คือ Payment Date หรือ วันที่จ่ายเงิน
- SHAR คือ Shareholder Number หรือ หมายเลขของผู้ถือหุ้น
1
ด้วยการใช้ประโยชน์ของรหัสนี้ทำให้ SWIFT เป็นระบบการสื่อสารธุรกรรมทางการเงิน
ที่มีความแม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย แถมยังทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงด้วย
แล้วระบบ SWIFT มีคนใช้งานมากแค่ไหน ?
- ธนาคารและสถาบันที่เป็นสมาชิก SWIFT มีอยู่มากกว่า 11,000 แห่ง จาก 200 ประเทศ
ไล่ตั้งแต่ธนาคาร บริษัทบริหารสินทรัพย์ สถาบันนายหน้า ธุรกิจองค์กร นายหน้าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไปจนถึงหน่วยงานรัฐบาล
2
- ข้อความถูกส่งหากันผ่านระบบ 42 ล้านข้อความต่อวัน และมากกว่า 1% ของจำนวนนั้นมีความเกี่ยวข้องกับรัสเซีย
2
- มีมูลค่าเงินที่ใช้งานผ่านระบบมากกว่า 33 ล้านล้านบาทต่อวัน ซึ่งตัวเลขนี้มากกว่า GDP ที่ทำได้ทั้งปีของประเทศไทย
7
คำถามต่อมาที่หลายคนอาจสงสัยก็คือ
แล้วพอธนาคารรัสเซียบางแห่งถูกแบนออกจาก SWIFT
ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมา จะมีอะไรบ้าง ?
1
เพื่อให้เห็นภาพง่าย ๆ SWIFT นั้น ก็เปรียบเสมือนกับ “กลุ่ม LINE ขนาดใหญ่” ที่มีสมาชิกในกลุ่มไลน์เป็นสถาบันทางการเงิน 11,000 แห่ง จาก 200 ประเทศ
1
แน่นอนว่าหากรัสเซียถูกเตะออกจากกลุ่มนั้น แม้ว่าเงินทุนจะไม่ได้หายไปไหน แต่เมื่อขาดการติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรมต่าง ๆ ระหว่างรัสเซียนั้น จะยากและลำบากขึ้นมาก ในเวลาต่อมาก็จะมีปัญหาตามมา
1
ในอดีตก็เคยมีประเทศที่โดนแบนจากระบบ SWIFT นั่นก็คืออิหร่าน ในปี 2012 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการคว่ำบาตรจากโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน
1
จากเหตุการณ์ครั้งนั้นมีการประเมินว่า อิหร่านสูญเสียรายได้จากการส่งออกน้ำมันเกือบครึ่งหนึ่ง และการค้าระหว่างประเทศก็หายไปถึง 30%
1
สำหรับรัสเซียก็เคยเกือบจะโดนแบนไปแล้วครั้งหนึ่ง ในปี 2014 เมื่อครั้งที่รัสเซียไปผนวกเอาดินแดนไครเมียเข้ามาเป็นของตัวเอง
แต่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นรัสเซียได้กล่าวว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเท่ากับเป็นการประกาศสงครามกับรัสเซีย
จนในที่สุดแล้วประเทศอย่าง เยอรมนี, ฝรั่งเศส และอิตาลี ก็ไม่ได้เดินหน้าในเรื่องนี้ต่อ
1
จากเรื่องในคราวนั้น ก็ทำให้รัสเซียคิดระบบทางเลือกขึ้นมา โดยในปี 2017 รัฐบาลรัสเซียได้สร้างระบบบัตรชำระเงินแห่งชาติ หรือที่รู้จักในชื่อ “SPFS” หรือ System for Transfer of Financial Messages ซึ่งมีผู้ใช้งานเป็นสถาบันการเงินประมาณ 400 ราย
ภายหลัง SPFS ก็เดินหน้าทำข้อตกลงกับประเทศอินเดีย, อิหร่าน และธนาคารต่างชาติเพิ่มเติมด้วย
1
นอกจาก SPFS แล้ว ทางการรัสเซียก็เริ่มผูกธนาคารของรัสเซียเข้ากับระบบ CIPS หรือ Cross-border Interbank Payment System ของจีนด้วยเช่นกัน
1
เรื่องราวทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของมาตรการทางการเงินที่ชาติพันธมิตรกดดันต่อรัสเซีย
3
ซึ่งผลกระทบหากรัสเซียถูกแบน นอกจากจะทำให้เสถียรภาพของประเทศรัสเซียและค่าเงินรูเบิลถดถอยลงแล้ว มันก็ยังส่งผลกระทบไปยังประเทศคู่ค้าหลัก ๆ กับรัสเซียด้วย
4
เป็นที่รู้กันดีว่าประเทศรัสเซียเป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติ ใหญ่สุดในโลก
โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นประเทศในยุโรป
1
หมายความว่าต้นทุนทางพลังงานของประเทศในกลุ่มนี้ จะพุ่งสูงขึ้นทันที
จากความยุ่งยากในการทำธุรกรรมและค่าธรรมเนียมที่จะแพงขึ้น
2
และหากมันขยายวงกว้างออกไปจนทำให้รัสเซียและยุโรปไม่สามารถซื้อขายพลังงานกันได้เลย
ก็น่าคิดเหมือนกันว่าคนที่น่าจะได้ประโยชน์จะเป็นใคร ระหว่างผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่จากตะวันออกกลางอย่าง OPEC หรือสหรัฐอเมริกา หรือจะเป็นทั้งคู่เลย ก็นับเป็นเรื่องที่น่าติดตามอย่างใกล้ชิด
8
แต่ที่แน่ ๆ เศรษฐกิจรัสเซียจะเสียหายมากกว่า งบประมาณที่รัสเซียใช้ในการทำสงคราม เสียอีก..
4
โฆษณา