28 ก.พ. 2022 เวลา 17:07 • ความคิดเห็น
หลัก COMMUNICATION สุดคลาสสิค: ETHOS PATHOS LOGOS
เวลามีการพูดถึงหลักสื่อสารการตลาด โฆษณา หรือการทำคอนเทนต์นั้น หนึ่งในทฤษฏีที่มีการอ้างอิงกันบ่อยพอสมควรคือหลักการในการโน้มน้าว จูงใจผู้ฟังซึ่งเป็นหลักที่ถูกคิดค้นกันมานานมาก
ใครที่เคยเรียน Rhetorical ซึ่งมาจากการเรียนปรัชญา, การสื่อสาร หรือกฏหมาย คงจะคุ้นชินกับเรื่องของ Ethos, Pathos และ Logos กันมาบ้างแล้ว ซึ่งก็แน่นอนว่าเป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญของนักปราชญ์รุ่นโบราณอย่าง อริสโตเติล ที่หลายอย่างที่เขาคิดยังคงใช้งานได้จนถึงทุกวันนี้
เขาแบ่ง 3 สิ่งที่สำคัญเหล่านี้ได้แก่
Ethos ความน่าเชื่อถือของผู้พูด
Pathos ความเข้าอกเข้าใจผู้ฟัง
Logos ความสมเหตุสมผล
หรือการอ้างอิงหลักการโน้มน้าวที่ว่านี้คือมีองค์ประกอบสำคัญอยู่สามอย่างด้วยกันซึ่งเรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานที่จะทำให้การโน้มน้าวอะไรต่างๆ นั้นได้ผล และ Stephen R. Covey เป็นนักการศึกษา นักเขียน นักธุรกิจ และวิทยากรชาวอเมริกัน เอามาประกอบงานเขียนใน 7 habits
หนังสือยอดนิยมมากที่สุดของเขา คือ 7 นิสัยของประชาชนที่มีประสิทธิภาพสูงหนังสืออื่นๆ ของเขา ได้แก่ First Things First , Principle-Centered Leadership , The 7 Habits of High Effective Families , The 8th Habit , ..etc.
Ethos คือความน่าเชื่อถือของผู้พูด ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งแรกเลยก่อนที่เราจะทำการสื่อสารออกไปเสียอีก ประเด็นที่ถูกนำมาคิดใน Ethos ก็เช่น เราเป็นใคร, เรามีประสบการณ์ด้านนี้ไหม, เรามีชื่อเสียง มีประเด็นที่จะพูดมาก่อนหรือเปล่า กรณีตัวอย่างเช่น
นาย Aเคยไปแข่งขันเกมระดับโลก กลับมา ไทย มาจึงมาทำบล็อกแนะนำ และรีวิวเกม
Pathos ให้ลองนึกถึงคำว่า Emphaty หรือการเข้าอกเข้าใจ ซึ่งการเข้าอกเข้าใจนี้ไม่ใช่ไปปลอบคนที่กำลังเศร้า แต่มันคือการรู้จักผู้ฟัง หรือคนที่เรากำลังทำคอนเทนต์ไปให้ ว่า เขาเป็นใคร เขาคาดหวังอะไร เขาต้องการอะไร เขาจะมีความรู้สึกต่อเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งนอกจากเหตุผลด้านความต้องการและอารมณ์แล้ว ยังมีประเด็นที่เป็นเชิง Physical อื่น ๆ เช่น เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, ภาษาที่ใช้
อารมณ์และความรู้สึกที่ใช้ขณะทำการสื่อสาร หรือจริง ๆ แล้ว Pathos อาจจะเป็นสิ่งที่แสดงถึง “ความหวังดี” ว่าเราต้องการจะมอบสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้
Logos คือการที่ข้อมูลและสิ่งที่ผู้โน้มน้าวกำลังนำเสนอนั้นเป็นเหตุเป็นผล น่าเชื่อถือ ไม่ใช่ไร้ตรรกะรองรับ เช่นเดียวกับการอธิบายให้สามารถเข้าใจได้
ย้อนตำรา Rhetorical สู่คอนเทนต์ในปัจจุบัน
เราอาจจะสงสัยว่า ทำไมเราทำคอนเทนต์ ทำคลิป, เขียนบทความ อะไรไปแต่ก็ไม่มีใครสนใจหรือมองว่าสำคัญสักที แย่ไปกว่านั้นคือ โดนว่า โดนรีพอร์ต ซึ่ง อริสโตเติลได้เขียนโมเดลนี้มาเพื่อสอน 3 สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถโน้มน้าวผู้ฟังให้หันมาสนใจหรือเชื่อถือเรื่องของเราได้
ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่บล็อกเกอร์หรือ Youtuber แต่ละคนจะพยายามสร้างเครดิต หรือความน่าเชื่อถือให้กับตัวเองอยู่เสมอ
เรียกว่าการ Build Profile หรือ ทำ Personal brand ให้ตัวเอง คือ การทำ Ethos ซึ่งอาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่ทุกวันนี้มันก็สามารถพิสูจน์ได้จากช่องทาง โซเชียลต่างๆว่าทำได้จริงและสร้างรายได้จริง
มันเป็นเพียงการบอกว่าเราเป็นใคร เรารู้อะไร และมีเหตุผลอะไรที่เขาจะต้องเชื่อเรา วิธีเช็คความน่าเชื่อถือง่าย ๆ เลยก็คือ ลองเอาชื่อเว็บ, ชื่อเรา ไปค้นหาในกูเกิลดูว่าเจออะไร หรือถามจากผู้ติดตามโดยตรงก็ได้ ว่ามองเราเป็นอย่างไร สุดท้ายถ้าเราไม่รู้ระดับความน่าเชื่อถือของตัวเองคือเราก็ต้องหากระจกสะท้อนตัวเรา
ส่วน Pathos อาจจะเป็นสิ่งที่แสดงถึง “ความหวังดี” ว่าเราต้องการจะมอบสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้
และสุดท้าย Logos คือเรื่องของตรรกะ อาจจะมองว่าสิ่งนี้เป็นศัตรูของวงการคอนเทนต์เมืองไทยเลยก็ได้ เพราะบางเว็บไซต์จะเขียนบทความอ้างอิงงานวิชาการแค่ไหน แต่สุดท้ายก็แพ้ Forward ที่ส่งกันใน LINE อยู่ดีซึ่ง Logos หมายถึงการอ้างอิง, การใช้เหตุผลต่าง ๆ เข้ามาประกอบกับสิ่งที่เราพูด ยกตัวอย่างเช่น การยกตัวอย่างประสบการณ์ของตัวเอง หรือ เล่าเรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กรฯีศึกษาต่าง ๆ การนำงานวิจัย หรือบทความมาอ้างอิง มีการตั้งจุดโต้แย้งต่าง ๆ เพื่อแสดงความเป็นเหตุและผล
ความหมายในภาษาอังกฤษ
Ethos:
“Anyone who wishes to improve their literary skills should read the Hyperbolit blog, because it is written by an Oxford English graduate who’s passionate and knowledgeable about literature.”
Pathos:
“Ever pulled a painful all-nighter to write an essay on a poem you have no clue about? The frustration of not being able to identify poetic devices, the confusion of not knowing how to structure your writing, and the panic of facing a looming deadline that’s only intensified by the ticking of the clock – we’ve all been there. But fear not, because with the Hyperbolit blog, you’ve got a trusty resource to fall back on.”
Logos:
“Contrary to popular belief, mastering literary skills isn’t all that hard. One should be an avid reader of different literary forms, genres and works, as increased exposure to a variety of writing familiarises us with how words can be used in different ways to convey various meanings. One should also make it a habit to read the Hyperbolit blog, as it provides a wealth of quality materials on skills in literary appreciation and analysis.”
Ref:
1. The hyperbolit blog
3. Aristotle’s Rhetoric
First published Thu May 2, 2002; substantive revision Mon Feb 1, 2010
โฆษณา