4 มี.ค. 2022 เวลา 01:43 • ความคิดเห็น
ผมว่ามันก็ดี ฝึกทําไว้ไม่เสียหายครับ แต่ถ้าเงินหมุนเวียนคุณในแต่ละวันมันไม่มาก หรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวแบบหวือหวาหรือไม่เป็นอะไรที่เยอะไปหมด ก็บันทึกไว้ในหัว ไม่ต้องมาเขียนลงบัญชีเป็นทางการก็ได้ วิธีบันทึกในสมองก็บันทึกรายจ่ายไว้ก่อนเลยว่ามีค่าอะไรบ้างในวันๆ ค่าขนม 100 ค่าอาหาร 500 ค่าเติมเกมส์ ค่าอะไรทั้งหลายแหล่ รวม fix cost ต่อเดือน เช่นค่าเน็ต ค่า Netflix สมมติรวมแล้วเฉลี่ยเดือนละ 20000 บาท คุณก็จะรู้ว่าเดือนหนึ่งคุณต้องจ่ายเท่าไร +- นิดหน่อย ด้งนั้นถ้าพ่อแม่คุณให้เงินเดือนคุณเดือนละ 25000 บาท คุณก็แค่คุมการใช้จ่ายให้ไม่เกิน 20000 ดังที่เคยทํา คุณก็อยู่ได้แล้ว
และกรณีที่คุณจะบริหารการเงินของคุณ ให้คุณเปิดบัญชีธนาคารสองบัญชี ออมทรัพย์ 1 บัญชี ฝากประจำ 1 บัญชี เอาเงินที่คุณใช้จ่ายประจํา ที่พ่อคุณโอนให้เข้าออมทรัพย์ ใช้จ่าย เบิกถอนในบัญชีนี้ ให้กระแสเงินสด 20000 บ.หมุนวนในบัญชีนี้ หากคุณประหยัดลดค่าใช้จ่ายได้ หรือพ่อคุณใจดีแจกอังเปา ให้เอาเงินส่วนเกินเก็บสะสมในบัญชีฝากประจํา และเก็บไว้กินดอกเบี้ย อย่าพึ่งไปถอน ให้เอาเข้าอย่างเดียวยกเว้นกรณีที่จำเป็นจริงๆ อย่าเปิดบัญชีเดียวและเก็บไปด้วย ใช้ไปด้วยเพราะคุณจะไม่รู้กระแสเงินสดและสภาพคล่องของตัวเอง มันจะปนกันไปหมด ทําอย่างที่ผมว่าคุณจะชื่นใจ ที่เห็นตัวเลขในบัญชีฝากประจำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี
หากคุณโตขึ้น เป็นเจ้าของธุรกิจพันล้าน การทําบัญชี งบดุล รายรับรายจ่าย กระแสเงินสด เงินทุนหมุนเวียนมีความสําคัญมาก และจําเป็นอย่างยิ่ง จะเป็นตัวชี้เป็นชี้ตายเลยว่าบริษัทจะรอดหรือไม่รอด แต่ณ. ตอนนี้ อยากลงบัญชีก็ทําได้ แต่ไม่ค่อยมีใครเขาทํากัน เพราะมันอยู่ในหัวอยู่แล้ว รู้ๆกันอยู่ อย่างคนหาเช้ากินค่ำเขาไม่มาลงบัญชีกัน แต่เขาใช้วิธีแบบที่คุณข้างล่าง comments มาว่าเขาเอารายจ่ายทั้งเดือนมาเฉลี่ยเป็นรายจ่ายเป็นวันๆ เช่น เขาจะขายอาหารในห้าง ค่าเข่าเดือนละ 30000 บ. เฉลี่ยต่อวัน เป็นค่าใช้จ่าย วันละ 1000 บ. และมีต้นทุนอื่นๆ อีกวันละ 1000 รวม 2000 บ. ต่อวัน ดังนั้นเขาจะต้องขายของให้ได้มากกว่า วันละ 2000 บาทจึงจะอยู่ได้ เป็นต้น
ทั้งนี้การหัดทําบัญชี ผมไม่ได้ว่าไม่ดี จริงๆดีมาก คนไทยเขาไม่ค่อยทํากัน อาจจะเป็นเพราะรายจ่ายมันมากกว่ารายได้มากๆ ทําไปก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะรู้กันอยู่ ยิ่งเห็นตัวเลขในบัญชีก็จะยิ่งตกใจ สู้เก็บเอาไว้ในใจดีกว่า
โฆษณา