5 มี.ค. 2022 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
เรื่อง : อุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่รุนแรงที่สุดในโลก!
6
ระยะเวลาที่ใช้ในการอ่านโดยประมาณ : 10 นาที
Part 1 : เกริ่นนำ
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1996 สายการบิน Saudi Arabian Airlines เที่ยวบินที่ 763 ซึ่งเป็นเครื่องบินBoeing 747 ระหว่างทางจากกรุง Delhi ประเทศอินเดีย ไปยังเมือง Dhahran ประเทศซาอุดีอาระเบีย และเที่ยวบินของสายการบิน Kazakhstan Airlines เที่ยวบินที่ 1907 ใช้เครื่องบินรุ่น Ilyushin Il-76 ระหว่างทางจากเมือง Chimkent ประเทศคาซัคสถานไปยังกรุง Delhi เกิดเหตุชนกัน แถวบริเวณหมู่บ้าน Charkhi Dadri ประมาณ 100 กิโลเมตรทางตะวันตกของกรุง Delhi อุบัติเหตุดังกล่าวคร่าชีวิตผู้คนไปทั้งหมด 349 คนบนเครื่องบินทั้งสองลำ เป็นการปะทะกันกลางอากาศที่รุนแรงที่สุดในโลก และเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย
1
Part 2 : เริ่มเรื่อง
ท่าอากาศยาน Indira Gandhi เป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีความวุ่นวายมากที่สุดในโลก ในปี 1990 รัฐบาลอินเดียได้ทำข้อตกลงเปิดน่านฟ้ากับนานาประเทศ ทำให้สายการบินต่างชาติสามารถลงจอดที่อินเดียได้สะดวกขึ้น ซึ่งนโยบายนี้ทำให้การจราจรบนน่านฟ้าของกรุง Delhiหนาแน่นขึ้นเป็นอย่างมาก
Arabian Airlines เที่ยวบินที่ 763(ต่อไปผู้เขียนจะขอเรียกว่าเครื่องบิน 763) ซึ่งเดินทางออกจากท่าอากาศยาน Indira Gandhi โดยมีกำหนดการที่จะลงจอดที่เมือง Dhahran ทางตะวันออกของประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยใช้เครื่องบินแบบ Boeing 747-100 ในขณะเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินลำนี้มีอายุการใช้งาน 14ปี มีผู้โดยสารบนเครื่องบิน289คน และลูกเรืออีก23คน ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ซึ่งกำลังเดินทางไปทำงาน หรือไปแสวงบุญที่ซาอุดีอาระเบีย และมีชาวต่างชาตินอกเหนือจากอินเดียและซาอุดีอาระเบียด้วย 17คน
1
Boeing 747-100 ที่ใช้ใน Arabian Airlines เที่ยวบินที่ 763
Kazakhstan Airlines เที่ยวบินที่ 1907(ต่อไปผู้เขียนจะขอเรียกว่าเครื่องบิน 1907) เดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติในเมือง Chimkent ทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน มายังกรุง Delhi โดยใช้เครื่องบิน Ilyushin Il-76 ขณะเกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีอายุการใช้งานเพียง 4ปี มีผู้โดยสารบนเครื่องบิน27คน โดยมี 13คนเป็นชาวคีร์กีซสถาน และลูกเรืออีก10คน ซึ่งเที่ยวบินนี้เป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำโดยมีบริษัทเสื้อผ้าแห่งหนึ่งในประเทศคีร์กีซสถานเป็นผู้เช่า
1
Ilyushin Il-76 โดย Kazakhstan Airlines เที่ยวบินที่ 1907
Part 3 : ช่วงเวลาเกิดเหตุ
12 พฤษจิกายน 1996 เวลา 18 นาฬิกา เครื่องบิน 1907 ใกล้เดินทางถึงสนามบินปลายทาง Indira Gandhi พวกเขาจึงได้แจ้งต่อหอบังคับการบินเพื่อเตรียมลงจอด โดยเจ้าหน้าที่ได้สั่งให้พวกเขาลดระดับความสูงลงมาที่ 15,000ฟุต ในขณะเดียวกันนั้น เครื่องบิน 763 ได้ขึ้นบินจากสนามบิน และมุ่งหน้าไปยังเส้นบินเดียวกันในทิศทางตรงกันข้ามกับเครื่องบิน 1907 โดยมีกัปตัน Khalid Al-Shubaily เป็นผู้ควบคุมเครื่อง และ Nazir Khan ผู้ช่วยของเขาคอยติดต่อกับหอบังคับการบิน
ตามปรกติเมื่อเครื่องบินได้ออกบินพ้นจากรันเวย์ไปแล้ว การควบคุมการจราจรทางอากาศจะถูกส่งต่อจากหอบังคับการบินไปยัง Approach Control ซึ่งจะคอยดูแลการจราจรทั้งขาเข้าและขาออกในระยะ 56-110 กิโลเมตรจากสนามบิน และผู้ดูแลในวันนี้คือ VK DUTTA ซึ่งในขณะนั้นเขากำลังดูแลเครื่องบินถึง 5 ลำพร้อมกัน บางลำกำลังออกเดินทาง บางลังกำลังลงจอด หน้าที่ของเขาคือดูแลความปลอดภัยของเครื่องบินแต่ละลำให้มีระยะห่างต่อกันอย่างเหมาะสม
VK DUTTA เจ้าหน้าที่ Approach Control ที่ดูแลเครื่องบินทั้ง 2ลำในวันนั้น
Approach Control ดูแลการจราจรของเครื่องบินขณะที่ออกจากรันเวย์ไปแล้ว และขณะที่กำลังจะถึงสนามบินปลายทาง
หลังจาก เครื่องบิน 763ออกเดินทาง เจ้าหน้าที่ได้สั่งให้พวกเขาไต่ระดับไปที่ความสูง 14,000 ฟุต แต่เมื่อถึงความสูงที่กำหนด ทางนักบินได้ขอให้เพิ่มระดับการบินอีกครั้งไปที่ระดับ 15,000 ฟุต แต่ว่า Dutta กังวลเกี่ยวกับเครื่องบิน 1907 ที่กำลังมาจากคาซัคสถานที่กำลังลดระดับความสูงมาที่ 15,000 ฟุตพอดี จึงสั่งให้ทั้ง 2 เครื่องรักษาระดับการบินเอาไว้ก่อน โดยเขาตั้งใจว่าจะให้เครื่องบินทั้ง 2ลำนี้บินผ่านกันไปก่อน แล้วค่อยปรับระดับการบินกันอีกครั้ง
1
ระดับความสูงที่ควรจะเป็นของทั้ง2เที่ยวบิน
เครื่องบิน 1907 เมื่อลดระดับมาถึง 15,000 ฟุต ก็ได้รายงานต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมการบิน เจ้าหน้าที่จึงได้เตือนทางเครื่องบิน 1907ไปว่า กำลังจะมีเครื่อง Boeing 747 กำลังมุ่งหน้าสวนทางกัน ที่ระดับความสูงต่างกัน 1,000 ฟุต ในระยะ 8ไมล์ ซึ่งในขณะนั้นเครื่องบินทั้ง 2 ลำไม่ได้มีเรดาร์ที่จะทำให้มองเห็นเครื่องบินลำอื่นในบริเวณใกล้เคียงได้ พวกเขาจึงต้องเชื่อคำพูดของเจ้าหน้าที่ควบคุมการบินเมื่อเครื่องบินบินอยู่ใกล้กัน แต่หลังจากการแจ้งเตือนได้ไม่นาน เครื่องบินทั้ง 2ลำกลับพุ่งชนกัน เกิดระเบิดเสียงดังสนั่นกลางอากาศ
กัปตัน Timothy J. Place นักบินของกองทัพอากาศสหรัฐถึงกำลังขับเครื่องบินลำเลียง C-141ตรงไปสู่ถ้าอากาศยาน New Delhiได้แจ้งว่าเขามองเห็นแสงสว่างสีส้มภายในก้อนเมฆ ก่อนที่แสงสว่างนั้นจะแยกออกเป็นลูกไฟ 2ลูกและแผ่ขยายออกเป็นวงกว้างเมื่อเครื่องบินทั้ง 2ลำตกถึงพื้น โดยชาวบ้านที่อยู่ในเมือง Charkhi Dadri ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือจากนิวเดลีประมาณ 80 กิโลเมตรมองเห็นแสงไฟสว่างวาบบนท้องฟ้า และได้ยินเสียงที่ดังยิ่งกว่าฟ้าผ่า
2
กัปตัน Timothy J. Place
ซากเครื่องบินในกี่เกิดเหตุ
เครื่องบิน 763 ตกลงไปในไร่ในเมือง Charkhi Dadri ก่อให้เกิดหลุมขนาดยาว 55 เมตร ลึก 4.5เมตร ส่วนเครื่องบิน 1907 ตกลงห่างจากเครื่องบิน 763 ประมาณ 10กิโลเมตร ชาวบ้านในระแวกนั้นได้พบผู้โดยสาร 3คนจากเครื่องบิน 763 ที่ยังไม่เสียชีวิตแต่บาดเจ็บสาหัส แต่อย่างไรก็ตามผู้รอดชีวิตดังกล่าวทนพิษบาดแผลไม่ไหว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา และจากเหตุการณืนี้ ไม่มีผู้เสียชีวิตนอกจากผู้โดยสารและลูกเรือในเครื่องบินทั้ง2ลำเลย โดยผู้เห็นเหตุการณ์เชื่อว่านักบินพยายามหักเลี้ยวเครื่องบินไม่ให้ตกลงในเขตชุมชน เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตนอกเหนือจากบนเครื่องบิน
1
ชาวบ้านบริเวณนั้นช่วยกันนำผู้เคราะห์ร้ายที่ยังไม่เสียชีวิตออกมา
เจ้าหน้าที่ควบคุมการบินไม่ทราบว่าเครื่องบินทั้ง2ลำนั้นชนกัน จนกระทั้งเจ้าหน้าที่พยายามติดต่อไปยังเครื่องบินทั้ง2อีกครั้ง แต่ไม่มีสัญญาณตอบกลับมา และสัญญาณเรดาร์ซึ่งที่บอกตำแหน่งของเครื่องบินทั้ง2ลำนั้นได้หายไปด้วย โดยการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ทำให้ Dutta ตกเป็นเป้าสอบสวนอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดในอินเดีย
Part 4 : เริ่มการสืบสวน
กล่องดำถูกเก็บกู้ได้ตั้งแต่วันแรกที่เครื่องบินทั้ง2ลำเกิดอุบัติเหตุ พวกมันถูกส่งเข้าไปถอดรหัสในทันที โดยกล่องดำจากเครื่องบิน 763 ถูกส่งไปที่สำนักงานสืบสวนอุบัติเหตุทางอากาศ ในสหราชอาณาจักร และกล่องดำจากเครื่องบิน 1907 ถูกส่งไปที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย โดยใช่ช่วงเริ่มแรกของการสืบสวน ทีมสืบสวนได้มุ่งประเด็นไปที่การสนทนาระหว่างเครื่องบินทั้ง2ลำ กับเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ พวกเขาต้องการรู้ทุกอย่างที่ Duttaทำในวันเกิดเหตุ เขาจึงถูกเชิญตัวมาสอบสวนโดยทันที นอกจากนี้จากการตรวจสอบยังพบว่า เรดาร์ที่ศูนย์ควบคุมการบิน ไม่สามารถบอกระดับความสูงของเครื่องบินได้ เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรจึงต้องใช้การบันทึกข้อมูลลงกระดาษโดยอาศัยการรายงานของนักบินแทน ซึ่งนั่นเป็นวิธีเดียวที่ผู้ควบคุมจะติดตามความสูงของเครื่องบินที่พวกเขารับผิดชอบได้
1
เรดาร์ซึ่งไม่สามารถระบุความสูงของเครื่องบินได้
เจ้าหน้าที่จดรายละเอียดของเครื่องบินลงบนกระดาษ
จากการตรวจสอบอย่างละเอียดกับศูนย์ควบคุมการบิน ทีมสืบสวนพบว่าการทำงานของ Duttaนั้นสมบูรณ์แบบ แต่เนื่องจากเรดาร์ไม่สามารถระบุความสูงของเครื่องบินได้ พวกเขาจึงไม่มีทางรู้เลยว่า นักบินนั้นได้ทำตามคำสั่งอย่างถูกต้องหรือไม่ ทีมสืบสวนเชื่อว่า Duttaไม่ได้ทำอะไรผิด แต่น่าจะมีเครื่องบินลำใดลำหนึ่งอยู่ผิดที่ผิดทาง ทีมสืบสวนจึงกลับไปที่จุดเกิดเหตุ พวกเขาหวังว่าจะได้พบกับอุปกรณ์วัดความสูงจากเครื่องบินทั้ง2ลำ บางทีความผิดพลาดของอุปกรณ์อาจทำให้เครื่องบินลำใดลำหนึ่งอยู่นอกเส้นทางที่ควรจะเป็น
2
โดยปรกติแล้วอุปกรณ์วัดความสูงจะหยุดทำงานทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ทำให้ทีมสืบสวนสามารถทราบได้ว่าพวกเขาอยู่ที่ความสูงใดขณะเกิดเหตุ และจากการตรวสอบเครื่องวัดความสูงจากเครื่องบิน 1907 ก็ทำให้เจ้าหน้าที่แปลกใจเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องวัดความสูงทั้ง 2เครื่องที่อยู่บนเครื่องบิน 1907นั้นแสดงผลไม่ตรงกัน โดยแสดงผลห่างกันถึง 300 ฟุต ซึ่งโดยปรกติแล้วเครื่องวัดความสูงทั้ง 2เครื่องควรจะรายงานระดับความสูงตรงกัน ในขณะที่เครื่องวัดความสูงจากเครื่องบิน 763 นั้นได้รับความเสียหายจนไม่สามารถอ่านค่าได้ นอกจากนี้ทีมสืบสวนยังพบว่า หางของเครื่องบินเครื่องบิน 1907 เจาะเข้าไปยังปีกซ้ายของเครื่องบินเครื่องบิน 763 ซึ่งมันถูกตัดหายไปถึง 5.5เมตร
3
เครื่องวัดระดับความสูงทั้ง2เครื่องที่ได้จากเครื่องบิน 1907
ภาพจำลองตำแหน่งการชนของทั้ง 2เที่ยวบิน
หลังจากเกิดเหตุได้ 3 เดือน กล่องดำก็ถูกกู้ข้อมูลขึ้นมาได้ จากการตรวจสอบเสียงบันทึกในห้องนักบินแสดงให้เห็นว่า นักบินของเครื่องบิน 763 ได้รับคำสั่งอย่างชัดเจนในเรื่องความสูง และเมื่อประกอบกันกับเส้นทางการบินที่กล่องดำบันทึกไว้ก็พบว่า เครื่องบิน 763 รักษาความสูงที่ระดับ 14,000 ฟุตได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
แต่เมื่อทีมสืบสวนกู้ข้อมูลกล่องดำจากเครื่องบิน 1907 ก็พบว่าเครื่องบินลดระดับลงมาต่ำกว่า 15,000 ฟุต ที่เจ้าหน้าควบคุมการบินได้กำหนดไว้ โดยมันอยู่ต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ถึง 1,100 ฟุต และอยู่ต่ำกว่าเครื่องบิน 763 เพียง 10ฟุตเท่านั้น
ทีมสืบสวนจึงพุ่งเป้าไปที่สภาพอุปกรณ์วัดความสูงของเครื่องบิน 1907 แต่ก็พบว่าเครื่องวัดความสูงในห้องนักบินทั้ง2เครื่องยังทำงานได้ตามปรกติ แต่สาเหตุที่เครื่องวัดความสูงอ่านค่าได้ไม่ตรงกันเกิดจากแรงกระแทกขณะชนกันกลางอากาศ ทำให้เรื่องคุณภาพของเครื่องวัดความสูงถูกตัดทิ้งไป และเมื่อทีมสืบสวนฟังเสียงที่บันทึกได้จากห้องนักบินก็เริ่มเห็นถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เครื่องบิน 1907 ลดระดับลงมากกว่าที่ควรจะเป็น
เครื่องบิน 1907 มีเจ้าหน้าที่ 3คน โดยมีกัปตันและผู้ช่วยคอยควบคุมเครื่องบิน และมีนักบินที่3ควบคุมวิทยุ เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศได้สั่งให้พวกเขารักษาระดับความสูงไว้ที่ 15,000 ฟุตและแจ้งว่ากำลังมีเครื่อง Boeing 747 มุ่งหน้ามาทางพวกเขาที่ระดับ 14,000 ฟุต นักบินที่3ก็ได้พูดตอบกลับทางเจ้าหน้าที่ควบคุมการบินไป แต่ทั้งกัปตันและผู้ช่วยกลับเข้าใจผิดคิดว่าทางเจ้าหน้าที่ควบคุมการบินสั่งให้พวกเขาลดระดับลงเหลือที่ 14,000 ฟุต พวกเขาจึงลดระดับลงเรื่อยๆ จนกระทั้งนักบินที่ 3ได้เห็นถึงความผิดปรกติ จึงได้แจ้งต่อกัปตันและผู้ช่วยว่าให้รักษาระดับการบินที่15,000 ฟุต และไม่ทันการ เครื่องบิน 763 ได้อยู่ตรงหน้าพวกเขาแล้ว และก็เกิดการชนกันกลางอากาศในที่สุด
Part 5 : บทสรุป
จากการสืบสวนทีมงานสืบสวนสาเหตุจึงได้บทสรุปว่า “การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน และความผิดพลาดอย่างง่ายๆของเครื่องบินจากสายการบิน Kazakhstan Airlines เที่ยวบิน1907 ทำให้เกิดเหตุหายนะคร่าชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือรวม 349 คน”
หลังการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ ทางท่าอากาศยานอินเดียจึงเร่งแก้ไขเทคโนโลยีการควบคุมการจราจรทางอากาศที่ล้าสมัยของพวกเขา ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น พวกเขาเร่งติดตั้งระบบเรดาร์รอง ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศทราบถึงตำแหน่งความสูงของเครื่องบิน ซึ่งก่อนเกิดอุบัติเหตุที่สนามบินแห่งนี้มีเพียงเรดาร์หลักเท่านั้น ซึ่งเรดาร์หลักสามารถทำได้แค่รับส่งสัญาณวิทยุเพื่อบอกตำแหน่งของเครื่องบินเท่านั้นแต่ไม่สามารถบอกระดับความสูงได้ ในขณะที่เรดาร์รองนั้นทำงานต่างออกไปโดยมันสามารถจับระดับความสูงของเครื่องบินและแจ้งกลับมายังภาคพื้นดินได้ ซึ่งจะช่วยเจ้าหน้าที่สามารถแก้ปัญหาอย่างในกรณีนี้ได้ทัน
3
ภาพแสดงเรดาร์หลักและเรดาร์รอง
นอกจากนี้ทางการอินเดียยังกำหนดให้เครื่องบินทุกลำที่จะบินผ่านน่านฟ้าของพวกเขาติดตั้งระบบ Traffic Collision Avoidance หรือ TCAS เพื่อป้องกันการชนกันกลางอากาศ ซึ่งระบบนี้จะถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องบินและจะคอยเตือนนักบินหากพบว่ามีเครื่องบินลำอื่นบินเข้าใกล้มากเกินไป รวมถึงยังช่วยคำนวณเส้นทางการหลบหลีกที่เหมาะสมให้แก่นักบิน อีกทั้งสนามบินอินเดียยังกำหนดให้มีช่องทางการบินสำหรับเครื่องบินพาณิชย์เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งก่อนเกิดอุบัติเหตุช่องการการบินส่วนใหญ่จะมีไว้สำหรับทหาร โดยมีช่องทางเดียวสำหรับการขึ้นและลงของเครื่องบินพาณิชย์
1
TCAS ช่วยป้องกันอุบัติเหตุการชนกันกลางอากาศของเครื่องบิน
ปันจุบันสนามบิน Indira Gandhi มีนักท่องเที่ยวใช้บริการว่า 20ล้านคนต่อปี โดยตั้งแต่สนามบินได้ติดตั้งเรดาร์รองและเปิดเส้นทางการบินสำหรับเครื่องบินพาณิชย์มากขึ้น ก็ไม่มีอุบัติเหตุร้ายแรงที่สนามบินแห่งนี้อีกเลย
เรียบเรียงโดย
นายจอมโม้
4 มีนาคม 2022

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา