4 มี.ค. 2022 เวลา 12:50 • ไลฟ์สไตล์
มาสร้าง self esteem กันเถอะ
หลายคนอาจจะเข้าใจความหมายของ self esteem เป็นอย่างดี บางคนอาจจะเคยผ่านๆ ตาเท่านั้น
คำนี้ในเชิงจิตวิทยาหมายถึง การประเมินคุณค่าของตัวเอง หรือการมองและรู้สึกกับตัวเองอย่างไร
ซึ่งการให้คุณค่ากับตัวเองนี้ อาจหมายถึงตัวตนโดยรวมทั้งหมด หรือแง่มุมหนึ่งแง่มุมใดของตัวเราก็ได้
self esteem เป็นรากฐานสำคัญของการสื่อสารภายในของเรา ซึ่งความสัมพันธ์ภายในนี้
จะส่งผลออกไปในหลายๆ แง่มุมของชีวิต ถึงแม้จะมีงานวิจัย ที่แสดงให้เห็นว่า ในช่วงชีวิตคนเราจะมี
ระดับของ self esteem ที่ค่อนข้างคงที่ แต่ถ้าหากเราต้องการเพิ่ม self esteem ก็ยังพอที่จะทำได้
ทำไมเราจึงควรมี self esteem อย่างเหมาะสม
เนื่องจากการมี self esteem ต่ำ จะก่อให้เกิดความรู้สึกกระวนกระวาย เศร้าสร้อย และสิ้นหวัง ซึ่งอาจจะพัฒนาไป
เป็นโรคอื่นๆ ต่อไปได้ (เช่น โรคซึมเศร้า)
ทีนี้เราลองมาสังเกตดูกันว่า ลักษณะของ low self esteem เป็นอย่างไร
ต้นตอที่อาจนำไปสู่ภาวะ self esteem ต่ำ
* คิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า
* รู้สึกว่าตนเองไม่ดีพอ
* มองเห็นแต่ด้านที่เลวร้าย
* เห็นเฉพาะความผิดพลาด
* คิดกับตัวเองในด้านลบ (เราเป็นคนน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ เป็นต้น)
สัญญาณที่บ่งบอกว่า อาจมีภาวะ self esteem ต่ำ
* มักตัดสินตัวเอง (แน่นอนว่าเป็นด้านลบ)
* อ่อนไหวต่อการวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น
* เห็นเฉพาะความผิดที่เกิดขึ้น
* แยกตัวออกจากสังคม
* มองโลกแง่ร้าย (เสมอๆ)
หลายปัจจัยมีผลกับ self esteem แต่อะไรบ้างล่ะ ที่น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ self esteem ต่ำ
* ประสบการณ์ในวัยเด็ก
การถูกล่วงละเมิด โดนรังแก หรือถูกละเลย ย่อมมีผลกับเด็กที่ผ่านประสบการณ์เลวร้ายเหล่านี้
เด็กๆ จะคิดว่าตนเองไม่ดีจึงได้รับการกระทำเช่นนั้น
* ความคาดหวังจากบุคคลอื่น
เมื่อคุณไม่สามารถทำตามความคาดหวังจากบุคคลรอบข้างได้ (เช่น พ่อ แม่) คุณจึงคิดว่าคุณล้มเหลว
โปรดจำไว้ว่า ความคาดหวังและความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
* ขาดความรัก ความอบอุ่น
หากคุณไม่ได้รับการชมเชย หรือสนับสนุนในวัยเยาว์ ก็เป็นไปได้ว่า คุณจะเติบโตมาโดยคิดว่า
คุณยังดีไม่พอ
 
อ่านมาถึงตรงนี้ สำรวจตนเองแล้ว เราคิดว่าเราควรสร้าง self esteem ให้เพิ่มขึ้นอีก เราจะทำได้อย่างไรล่ะ
ลองฝึกทำตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ดูนะ
* อยู่อย่างมีสติ
ใช้ชีวิตกับปัจจุบัน อย่างมีสติรู้เท่าทัน ไม่ต้องกังวลกับทั้งอดีตและอนาคต
* ฝึกการยอมรับตัวตนของเรา
ยอมรับในสิ่งที่เราเป็นทุกแง่มุม อย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อทำผิดพลาด ก็ให้อภัยตัวเองได้
* ฝึกการรับผิดชอบต่อตัวเอง
ยอมรับผลในทุกๆ การกระทำ และการตัดสินใจของเราเอง
* ฝึกการมีจุดยืนของตัวเอง
คือการสามารถแสดงความต้องการของเรา ให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างเหมาะสม ไม่ใช่เรื่องผิดซะหน่อย
ที่คุณจะเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง (บ้าง)
* ใช้ชีวิตอย่างมีจุดหมาย
คุณจะตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง เมื่อคุณตั้งจุดมุ่งหมายไว้ภายใน วางแผน และใช้ชีวิตเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น
* มีมโนธรรมประจำใจ
การให้คุณค่ากับคุณธรรมใดๆ และยึดถือเป็นแนวทางการใช้ชีวิต เมื่อนั้นชีวิตจะเป็นของคุณอย่างจริงแท้
และจะมีจิตใจที่หนักแน่นอย่างแท้จริง
 
มันย่อมเป็นเรื่องดี ที่เราจะฝึกมองตัวเองในแง่มุมที่จะช่วยพัฒนา self esteem ขึ้นมาได้
และมันจะเปลี่ยนชีวิตคุณไปในทิศทางที่สดใสขึ้นอย่างแน่นอน
เรียบเรียงจาก How to Build Your Self-Esteem
by Tchiki Davis, Ph.D.
References
Branden, N. (1995). The six pillars of self-esteem. Bantam Doubleday.
Mruk, C. (1995). Self-Esteem: Research, Theory, and Practice. Springer.
Orth, U., & Robins, R. W. (2014). The development of self-esteem. Current directions in psychological science, 23(5), 381-387.
Rosenberg, M., Schooler, C., Schoenbach, C., & Rosenberg, F. (1995). Global self-esteem and specific self-esteem: Different concepts, different outcomes. American Sociological Review, 141-156.
โฆษณา