4 มี.ค. 2022 เวลา 14:09 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
ซีรีส์เกี่ยวกับอาชีพของญี่ปุ่น
บทความที่แล้วได้พูดถึงซีรีส์ญี่ปุ่นที่เริ่มจะผลิตออกมาแบบเน้นขายแฟนต่างชาติตรงๆอย่าง Fishbowl Wives ไป ก็นึกขึ้นได้อีกเรื่องที่ผู้เขียนก็ตะหงิดๆมาสักพักและอยากจะเขียนถึงมานานแล้ว นั่นก็คือ
ซีรีส์เกี่ยวกับอาชีพของญี่ปุ่น
ในช่วงเวลาหลักเดือนที่ผ่านมา ผู้คนในอินเตอร์เนทต่างกล่าวชื่นชมซีรีส์เกาหลีเรื่องหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ โดยความชื่นชมดังกล่าวก็ไปในทางที่ว่า ดูสิ ซีรีส์เขาพูดถึงการทำงานจริงๆ พูดถึงอาชีพนั้นๆจริงๆ มีการหาข้อมูลเรื่องนั้นจริงๆ และอื่นๆที่เป็นไปในทางชื่นชมอีกมาก
ผู้เขียนเองได้ยินแล้วก็ได้แต่ทอดถอนใจแทนวงการซีรีส์ญี่ปุ่น ที่ทำสิ่งเหล่านี้มาก่อนเกาหลีมานานมาก เพียงแต่ผลงานทางฝั่งญี่ปุ่นนั้นไม่แมสเท่า ผู้คนก็เลยพากันคิดว่าวงการซีรีส์เกาหลีนั้นเทพมากในเรื่องนี้
เรื่องความ "ไม่แมส" ของซีรีส์ญี่ปุ่นนี่อยากให้ได้ดูวิดีโอนี้ทางช่องของ Daisuki J Drama Plus ที่ได้มาคุยกันเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด ว่าทำมั้ย ทำไม ทำดีมาตลอดแต่คนทั้งโลกเค้าไม่รู้ ลองกดเข้าไปดูกันนะคะ
กลับมาที่เรื่องซีรีส์เกี่ยวกับอาชีพของญี่ปุ่น ผู้เขียนรู้สึกว่าอยากจะ defend ญี่ปุ่นในส่วนนี้มากๆเพราะว่า ถ้าพูดถึงซีรีส์อาชีพฝั่งญี่ปุ่น ต้องบอกว่าพี่เขาทำมาก่อน ทำมาตั้งแต่สมัยที่ซีรีส์เกาหลียังเป็นแบบรักรันทดที่ตัวเอกต้องตายด้วยโรคร้ายในตอนจบอยู่ แต่ทางญี่ปุ่นคือทำซีรีส์นักบิน อัยการ หมอ และอื่นๆจนพรุนแล้ว
เพียงแต่หลายๆเรื่อง ไม่มีโอกาสให้ชาวโลกได้เห็น เพราะไม่ได้ออกฉายบน streaming platform ที่เป็นอินเตอร์อย่าง Netflix หรือ Viu ถ้าเรื่องนั้นเรตติ้งดีหรือได้เอามาฉายแพลทฟอร์มอินเตอร์ต่างๆ มันก็หลังจากซีรีส์จบไปชาติหนึ่งแล้ว เราก็ไม่ได้มีโอกาสได้ดูและลุ้นแบบรีลไทม์เหมือนซีรี่ส์เกาหลี ที่ตอนนี้นอกจากแพลทฟอร์มหลักอย่าง Viu แล้ว ยังมีไปออนแอร์บน Disney+ อีกต่างหาก
1
ซีรีส์อาชีพของญี่ปุ่น นอกจากจะทำมานานแล้ว ยังทำละเอียดมาก แค่เรื่องเกี่ยวกับหมออย่างเดียวก็ซอยย่อยเป็นไม่รู้กี่หมอ
ไม่ว่าจะเป็นหมอผ่าตัดหัวใจ (Team Medical Dragon) ศัลยแพทย์ (Dr. X) ทีมแพทย์ฉุกเฉิน (Code Blue - ที่มียามะพี่ขวัญใจผู้เขียนเล่นด้วย ซึ่งเรื่องนี้ขณะออนแอร์ก็ทำให้มีผู้สมัครเข้าไปทำงานในหน่วยทีมแพทย์ฉุกเฉินในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก นี่ล่ะความปังสุดๆของเรื่องนี้ แถมตอนทำเป็นเวอร์ชั่นภาพยนตร์ในปี 2018 ก็ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในปีนั้น ด้วยรายได้ถึง 8.8 พันล้านเยนเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังมีหมอนิติเวช (Asagao Forensic doctor) หมอสูตินรีเวช (Dr. Storks) หมอที่ทำงานกับทีมกู้ภัย (Dr. DMAT) ที่ทำให้เข้าใจคือระบบการกู้ภัยและอุปกรณ์การช่วยเหลือของญี่ปุ่นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และยังมีเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับหมออีกมาก นี่แค่หมออย่างเดียวยังแตกแยกย่อยออกไปได้ขนาดนี้
1
ยังไม่นับอาชีพอื่นๆ ที่เอามาทำเป็นซีรีส์กันแบบไม่ซ้ำ ไม่ว่าจะเป็น อัยการ (Hero) ผู้จัดการดารา (ฺBeauty and the Fellow), บอดี้การ์ด (ฺฺBG), เชฟมิชลินสตาร์ (La Grande Maison Tokyo, พระ (From Five to Nine -ได้ยามะพีแสดงนำ), นักเขียนการ์ตูน (Himitsu no Hanazono) ทนาย (Legal V, Legal High), นักดำน้ำ (Deep Crime Unit)
เอาเป็นว่าไม่สามารถจะเรียกมาได้หมดทุกเรื่อง แต่น่าจะทำให้เห็นว่า ถ้าจะบอกว่าผู้นำการเอาอาชีพมาใส่ในละคร ก็ต้องบอกว่า ญี่ปุ่นนี่ล่ะ ผู้มาก่อนกาลจริงๆ แล้วหลายๆเรื่องแม้เนื้อหาจะเน้นเรื่องรักๆใคร่ๆอยู่ แต่ว่าก็ทำให้เราได้เห็นการทำงานแต่ละอาชีพแบบจริงๆของที่ญี่ปุ่นเลย บางอาชีพที่เราคิดว่ามันน่าจะสบายๆ เช่นดารา จริงๆแล้วลำบากมาก อย่างเรื่อง Beauty and the Fellow เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงการบันเทิงญี่ปุ่นและศิลปะการแสดงได้ดีมากๆ
บอกเลยว่า ชอบมากๆค่ะ และเลยต้องมาเขียนบทความนี้ปกป้องซีรีส์ญึ่ปุ่นสักเล็กน้อย
เพราะถ้าว่ากันตามจริง ซี่รี่ส์ญี่ปุ่นนี่ล่ะ ต้นแบบซีรีส์อาชีพของแท้
Credit:
โฆษณา