Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Calmergie คาลเมอร์จี
•
ติดตาม
5 มี.ค. 2022 เวลา 22:53 • สิ่งแวดล้อม
กว่าจะมาเป็น T-VER Carbon Credit.
Carbon Credit
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เกิดขึ้นเนื่องจากการตื่นตัวและตระหนักในเรื่องสภาวะโลกร้อน (Global warming) อันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่องจนเกิดการสะสมในชั้นบรรยากาศ
จากการตระหนักในเรื่องนี้จึงเป็นที่มาของจัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change :IPCC) ในปี 1988 จากจุดเริ่มต้นนี้ ต่อมาจึงได้มีการรับรอง อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change) หรือ อนุสัญญา UNFCCC ในปี 1992 และได้มีการต่อยอดสร้างตราสารกฏหมายที่รับรองภายใต้อนุสัญญา แรก คือ พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในปี 1997
พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) กำหนดให้ประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้วร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ 5% ในช่วงแรก 2008-2012 เทียบกับปี 1990 และ 75% ภายในปี 2050 โดยมีกลไกยืดหยุ่นเพื่อให้กลุ่มประเทศดังกล่างบรรลุเป้าหมาย ดังนี้
กลไกการทำโครงการร่วม (Joint Implementation : JI)
ภายในกลุ่มประเทศ annex I สามารถร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกได้ โดยจะต้องทำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากสภาวะปกติ โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เรียกว่า ERUs (Emission Reduction Units)
Joint Implementation
กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM)
ประเทศในกลุ่ม annex I สามารถไปทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มประเทศนอก annex I ได้ หรือกล่าวว่าสามารถไปช่วยกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกได้ (ต้นทุนอาจจะน้อยกว่า) แต่โครงการนั้นต้องได้รับการรับรอง ที่เรียกว่า CERs (Certified Emission Reduction)
Clean Development Mechanism (CDM)
กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading :ET)
หากไม่สามารถลดได้ตามปริมาณที่กำหนดไว้ ก็ยังสามารถซื้อสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จากภายในกลุ่มประเทศ annex I ด้วยกันเองได้ สิทธิ์ในการปล่อยที่ซื้อขายได้นี้เรียกว่า Assigned Amount Unit (AAU) ซึ่งอาจจเหลือสิทธิ์การปล่อย จากการทำโครงการ JI หรือ CDM ซึ่งสิทธิ์การปล่อยที่เหลือนี้ เรียกว่า คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)
Emission Trading
แต่อย่างไรก็ดีพันธกรณีระยะที่สอง ตาม Doha Amendment นั้น ระยะผูกพันธ์ในช่วง 2013-2020 เท่านั้น อีกทั้งสภาวการณ์เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นในการประชุม COP21 ที่จัดตั้งขึ้นระหว่างเดือน พฤษจิกายน -ธันวาคม 2015 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จึงได้มีการเจรจารความตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่ เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเข้ามามีส่วนรวมมากขึ้นบนพื้นฐานของความสมัครใจ โดยไม่มุ่งเน้นเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม จึงเกิดเป็น "ความตกลงปารีส" (Paris Agreement) ที่มีผลบังคับใช้ในปีถัดมาคือ 2016 โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังนี้
ควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส (well below 2 C) เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และมุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 C
เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมภูมิต้านทานและความสามารถในการฟื้นตัว
ทำให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนที่มีความสอดคล้องกับแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาคาร์บอนต่ำที่มีภูมิต้านทานและความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
International Climate Regime timeline
จาก Article 6 ในข้อตกลงปารีส นี้เอง ทำให้แต่ละภาคีได้มีการจัดตั้งกลไกที่นำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกและการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของความสมัครใจ เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งผลของการลดก๊าซเรือนกระจกยังสามารถถ่ายโอนระหว่างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการมีส่วนรวมได้อีกด้วย โดยผลของการลดก๊าซเรือนกระจกนี้ก็คือ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) นั้นเอง
Carbon Credit
ณ ปัจจุบัน มีหลากหลายกลไกที่นำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจก อาทิเช่น Verra Carbon Standard, Gold Standard. ในส่วนของประเทศไทยเราเอง ทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก) ก็ได้มีการจัดตั้ง โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือ T-VER โดยเป็นกลไก ที่ ณ ปัจจุบันยังเป็นกลไกภายในประเทศ ที่สนับสนุนและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนภายในประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีการถ่ายโอนผลของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ คาร์บอนเครดิต ภายในประเทศ
ปริมาณคาร์บอนเครดิต ที่ T-VER ได้ให้การรับรองแล้วตั้งแต่ปี 2015 - 2022 ทั้งสิ้นประมาณ 9.56 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และรอการรับรองอีก ประมาณ 0.2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า แต่ที่น่าสนใจคือ ปริมาณการซื้อขายถ่ายโอนมีเพียง 0.88 ล้านตันล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เท่านั้น
T-VER Certified carbon Credit vs Trading Volume
ซึ่งจุดนี้ทำให้เห็นทั้งโอกาศและอุปสรรคอีกหลายๆ อย่างที่ต้องให้ทางภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันกระตุ้นและร่วมกันผลักดันให้ด้านอุปทาน (Demand) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ที่ว่า เราจะต้องบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภาย (Carbon neutrality) ในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2065
เยี่ยมชม
calmergie.com
www.calmergie.com - Carbon Credit
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เกิดขึ้นเนื่องจากการตื่นตัวและตระหนักในเรื่องสภาวะโลกร้อน (Global warming)
2 บันทึก
5
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย