6 มี.ค. 2022 เวลา 12:44 • สุขภาพ
💗ยาที่เพิ่มความเสี่ยงทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด​ QT​ PROLONG
(เกิดการยืดออกของ QTc interval จนทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ)
♉Class A: High Torsadogenic Potency
QUINIDINE
♋Class B: Medium–High Torsadogenic Potency
DOMPERIDONE
DIPHENHYDRAMINE
CLARITHROMYCIN
ERYTHROMYCIN
AMITRIPTYLINE
♌Class C: Low Torsadogenic Potency
LITHIUM
KETOCONAZOLE
Itraconazole
FLUCONAZOLE
BACTRIM
AZITHROMYCIN
♎Class D: Torsadogenic Potential Not Clear
LORATADINE
🧚‍♂️บทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด
QT interval prolongation และ TdP
 If benefit > risk จำเป็นต้องใช้ยา ให้ติดตามผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด
 ก่อนใช้ยาควรตรวจคลื่นไฟฟ้า(ECG) เพื่อทราบ baseline
 ปรับขนาดยาตามค่าการทำงานของตับและไต เนื่องจากผลข้างเคียงนี้เป็น dose dependent effect
 หลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่นที่มีรายงานการเกิด QT prolongation หรือTdP ร่วมด้วย
 ควบคุมสมดุลย์เกลือแร่ (K,Mg) ให้อยู่ในค่าปกติ หากผู้ป่วยมีโรคหัวใจร่วมด้วย ควบคุมค่า K ~ 4mEq/dL, Mg ~ 2 mg/dL / HR ไม่ต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที
 หากหลังเริ่มยาพบ QTc interval > 500 milliseconds อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนยา
💓อาการใจสั่น เกิดจากการที่หัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ อาจเต้นเบาเกินไป หรือแรงเกินไป เต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ออกกำลังกายหนักเกิน มีความเครียด หรือแม้กระทั่งผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคได้ สาเหตุของอาการใจสั่น เกิดจากอะไรได้บ้าง?
💪การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้หัวใจของคุณจะเต้นเร็วขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ทัน ทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป เต้นแรงและเร็วขึ้น จนกระทั่งเกิดอาการใจสั่นที่ทำให้เรารู้สึกได้
💊การรับประทานยาบางชนิด
ยาบางชนิดทำให้เกิดอาการใจสั่นได้เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำหนัก หรือ ยาลดความดัน เป็นต้น ซึ่งหากรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกันก็อาจทำให้ใจสั่นได้
🤢ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
หากมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ร่างกายอาจมีอาการ มือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด ใจหวิวๆ เหมือนใจสั่นได้
😱ความเครียด วิตกกังวล โรคแพนิค
ทั้งสองปัจจัยนี้ มีผลเร่งการเต้นของหัวใจหลั่งออกมา เพื่อให้ร่างกายพร้อมที่จะเผชิญความกลัว แม้จะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายก็ตาม ส่งผลให้เกิดอาการ ใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก สั่น หายใจติดขัด และเจ็บหน้าอกได้ โดยอาการนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคหัวใจ แต่หากไม่แน่ใจว่าเป็นโรคใด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย
☕☕☕ได้รับคาเฟอีนมากเกิน
เพราะคาเฟอีนเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจทำให้ใจสั่นได้ นอกจากกาแฟแล้ว คาเฟอีนยังพบจากอาหารหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ได้อีก เช่น ชา ช็อกโกแลต โซดา เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ เป็นต้น
🤒มีไข้ ติดเชื้อ
การมีไข้มากกว่า 37.8°C เป็นหนึ่งในสภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยเมื่อคุณป่วย ทำให้ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วย หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้หัวใจสูบฉีดแรงและเร็วขึ้นได้
💓โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ Arrhythmia ภาวะที่หัวใจเต้นไม่ปกติ อาจเร็วไปหรือช้าไป โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด มีความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกัน
🤯โรคไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็น ส่งผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการใจสั่น เนื่องจากหัวใจเต้นเร็วเกินไป
👨‍⚕️หากมีอาการใจสั่นบ่อยๆอาจเกิดได้จากสาเหตุข้างต้น แต่หากสงสัยว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของอาการและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด
POSTED 2022.03.06
บทความอื่น
ยาที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ​ QT PROLONG
ยาที่กินแล้วน้ำนมไม่หด น้ำนมไม่ลด ไม่ส่งถึงลูก
💊ดอมเพอริโดน​ - Domperidone
👩‍👦การใช้ยาในหญิงให้นมบุตร
ยาที่ควรระวังในหญิงตั้งครรภ์​ เด็ก​ และผู้สูงอายุ
ยาห้ามใช้ในคนสูงอายุ​ BEER CRITERIA
โฆษณา