Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
7 มี.ค. 2022 เวลา 01:08 • ความคิดเห็น
จะให้ลูกไปเล่นบ้านที่มี “ปืน” หรือ “สระว่ายน้ำ” ดี?
"การเลี้ยงลูก" เป็นหนึ่งในงานที่ยากที่สุดในชีวิตของมนุษย์อย่างแทบจะไม่มีข้อโต้แย้ง เพราะคนเป็นพ่อแม่ ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ ทั้งเวลาและเงิน ทั้งความเอาใจใส่และการเปิดโอกาสให้เรียนรู้ เพื่อที่จะเลี้ยงเด็กสักคนให้โตขึ้นมาเป็นคนที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์
และเพื่อการนี้เอง หลายต่อหลายครั้ง คนที่เป็นพ่อและแม่ก็ตัดสินใจแทนคนเป็นลูก แต่บางการตัดสินใจที่เหมือนจะมีคำตอบชัดเจนอย่าง "ควรจะอนุญาตให้ลูกไปเล่นบ้านที่มีปืนหรือสระว่ายน้ำดี?" แท้จริงแล้วก็อาจจะไม่ได้ตอบได้ง่ายอย่างนั้น
📌 เมื่อข้อมูลขัดแย้งกับความรู้สึก
จากสถิติที่มีการเก็บกันไว้ครับ จะมีเด็กที่ถูกยิงเสียชีวิต 1 คน ต่อปืนทุก 1 ล้านกว่ากระบอก ซึ่งเท่ากับว่า ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีปืนอยู่ประมาณ 200 ล้านกระบอก จะมีเด็กตายจากปืนประมาณ 175 คนต่อปี
ซึ่งตัวเลขนี้ก็คงจะสร้างความตกใจให้กับหลายคนแล้ว แต่จะตกใจกว่านี้อีกเมื่อเห็นตัวเลขการเสียชีวิตของเด็กจากสระว่ายน้ำ
โดยจากสถิติที่มีเก็บไว้อีกเช่นกัน จะมีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำในสระว่ายน้ำส่วนตัว 1 คน ต่อสระว่ายน้ำส่วนตัวทุก 11,000 สระ ซึ่งเท่ากับว่า ในสหรัฐฯ ที่มีสระน้ำส่วนตัว 6 ล้านสระ ในแต่ละปีจะมีเด็กเสียชีวิตจากสาเหตุนี้ 550 คน!!
จากตัวเลขที่เราเห็นข้างต้น ชัดเจนมากว่า ถ้าต้องเลือกระหว่างให้ลูกไปเล่นบ้านที่มีปืนหรือสระว่ายน้ำ
การเลือกให้ไปบ้านที่มีปืนนั้นดูจะปลอดภัยมากกว่าพอสมควรเลย แต่ในความรู้สึกของคนที่เป็นผู้ปกครอง
ถึงแม้จะเห็นตัวเลขสถิติข้างต้นนี้ประกอบด้วยแล้ว พวกเขาก็อาจจะยังที่จะตัดสินใจให้ลูกไปบ้านที่มีสระว่ายน้ำมากกว่าอยู่ดี
📌 การให้น้ำหนักกับกรณีที่สุดโต่งมากกว่า
มีแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจ ที่นำมาอธิบายเรื่องนี้ได้ แนวคิดนั้น คือ การที่คนเรามักจะให้น้ำหนักกับกรณีสุดโต่งมากเป็นพิเศษ ไม่ว่ากรณีนั้นจะมีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม
ก็คือ ภาพในหัวของพ่อแม่จะจินตนาการความเลวร้ายของเด็กที่ถูกยิงเสียชีวิต รุนแรงมากกว่า การจมน้ำเสียชีวิตอย่างมาก ทำให้พวกเขาจะสูญเสียความสามารถในการประเมินความเสี่ยงที่ถูกต้องไปเลย
ซึ่งการประเมินความเสี่ยงที่ผิดพลาดแบบนี้ ยังเกิดกับเหตุการณ์อื่นๆ ในชีวิตประจำวันของคนอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว (หรืออาจจะรู้ตัวแต่ก็ยังยอมอยู่ดี)
เช่น การซื้อหวย ที่รู้ทั้งรู้อยู่แล้วว่า โอกาสจะถูกมันน้อยกว่าโอกาสที่จะถูกรางวัล แต่ยังไงก็ขอลุ้นหน่อยนะ รางวัลที่ 1 มันดึงดูดใจเหลือเกิน
(นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่คนรวยเล่นหวยน้อยกว่าคนจนด้วย เพราะ รางวัลที่ 1 สำหรับพวกเขาก็อาจจะไม่ได้ดูเป็นตัวเลขที่สูงจนเป็นกรณีสุดโต่ง)
หรือการเสียชีวิตจากการเดินทางประเภทต่างๆ ที่การเดินทางทางเครื่องบินเป็นของแขยงทางใจของหลายคน เพราะถ้ามีเหตุการณ์อุบัติเหตุขึ้นมาก็มักจะรุนแรงอย่างมาก และก็แทบจะไม่มีโอกาสรอดชีวิตเลย
แต่แท้จริงแล้ว ตัวเลขการเสียชีวิตต่อปีของมันน้อยกว่าการเดินทางทางรถยนต์พอสมควรเลย และน้อยกว่าแม้กระทั่ง การเดินทางทางเรือที่ดูจะปลอดภัยมากกว่าเช่นกัน
(รวมๆ กับการเสียชีวิตจากสระน้ำแล้ว น้ำกลายเป็นสาเหตุการตายที่น่ากลัวกว่าที่หลายคนคิดอย่างแน่นอน)
ดังนั้น คราวหน้าก่อนจะตัดสินใจอะไรก็ลองทบทวนดูอีกทีว่า กำลังถูกครอบงำโดยอคติแห่งความสุดโต่งนี่ไหม ยิ่งถ้าเป็นการตัดสินใจให้กับลูกด้วยก็อาจจะต้องคิดมากสักหน่อย เพราะ การตัดสินใจที่คิดแทนนั้นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ลูกต้องการก็ได้...
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
หนังสือ Freakonomics by Steven D. Leviti & Stephen J. Dubner
หนังสือ Thinking, Fast and Slow by Daniel Kahneman
เลี้ยงลูก
พ่อแม่
แม่และเด็ก
5 บันทึก
11
1
1
5
11
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย