7 มี.ค. 2022 เวลา 10:36 • การเมือง
วันสตรีสากล..สู้เพื่อความเท่าเทียม !!
8 มีนาคม วันสตรีสากลโลก (International Women’s Day; IWD) สัญลักษณ์แห่งพลังหญิง..สู้ด้วยสมอง สองมือ และสองขา !! เพื่อส่งเสริมสิทธิความเท่าเทียมทางเพศที่ดำเนินมากว่าหนึ่งศตวรรษ
นับตั้งแต่ ปี 1857 แรงงานหญิง ในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ลุกฮือ!! ประท้วงการถูกเอาเปรียบกดขี่ ขูดรีด ทารุณจากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิต และเหตุการณ์นี้มีผู้หญิงเสียชีวิตถึง 119 คน เพราะมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอชุมนุมกันอยู่ ในวันที่ 8 มี.ค. 1857 (พ.ศ. 2400)
จากนั้นปี 1907 (พ.ศ.2450) แรงงานหญิง ในโรงงานทอผ้า เมืองชิคาโก สหรัฐฯ เคลื่อนขบวนประท้วงนายจ้าง !! จะไม่ทนอีกต่อไป ๆ ที่ต้องทำงานหนักทุกวันโดยไม่มีวันหยุด ถึงวันละ 16 - 17 ชม. ท้องก็ถูกไล่ออก เจ็บป่วยเป็นอะไรขึ้นมาไร้สวัดิการคุ้มครอง
ความอัดอั้นนี้ทำให้ “คลารา เซทคิน” (Clara Zenkin) นักการเมืองหญิงแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่าแรงงานหญิง ด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มี.ค. พร้อมเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงาน ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย
แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ได้จุดประกายให้ผู้หญิงทั่วโลกเริ่มตระหนังถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น
คลารา เซทคิน, วิกิพีเดีย
ในที่สุดความพยายามนี้ประสบความสำเร็จ !! ปี 1910 “คลารา เซทคิน” เสนอแนวคิดให้มีวันสตรีสากล กลางที่ประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งมีผู้หญิงเข้าร่วม 100 คน จาก 18 ประเทศ
ทั้งหมดมีมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ กำหนดให้วันที่ 8 มี.ค.ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล พร้อมประกาศรับรองข้อเรียกร้องในระบบสาม 8 คือ
 
ให้ลดเวลาทำงาน เหลือวันละ 8 ชม.
ให้เวลาศึกษาหาความรู้พัฒนาศักยภาพตัวเอง อีก 8 ชม.
ให้เวลาพักผ่อน อีก 8 ชม.
ให้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย
ให้คุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็ก
การเฉลิมฉลอง “วันสตรีสากล” ครั้งแรกจึงมีขึ้นในปี 1911 และเป็นวันสำคัญประจำปีของโลก เมื่อองค์กรสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ร่วมฉลอง ขณะที่หลาย ๆ ประเทศกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดประจำชาติด้วย
 
มีการจัดกิจกรรมรำลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาค ความยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา
 
สำหรับประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกยูเอ็น ได้แสดงเจตนารมณ์และพันธสัญญาบนเวทีโลก มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพผู้หญิงในทุก ๆ ด้านทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ
แต่เอาเข้าจริง ๆ พอส่องนโยบายพรรคการเมืองที่เกี่ยวกับผู้หญิง..นาน ๆ ๆ ก็จะเห็นกันสักที
“เพื่อไทย” ชูนโยบายผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า (Free Pads for All) รับวันสตรีสากล พร้อมจัดงาน “นิทรรศกี : เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า”
ตั้งแต่วันที่ 8 - 31 มี.ค. 65 เวลา 10.00 – 18.00 น. บริเวณร้านกาแฟ Think Lab พรรคเพื่อไทย
ประกาศอย่างเป็นทางการ !! นำร่องศึกษาความเป็นได้ของนโยบายผ้าอนามัยฟรีฯ เศรษฐกิจปากท้องที่ผู้หญิง ๆ มิอาจเลี่ยงได้ !!
ภายใต้แคมเปญ #breakthebias #IWD2022 ทำลายอคติทางเพศ สร้างความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ
จึ้งมาก!! “ชานันท์ ยอดหงษ์” ผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ พรรคเพื่อไทย จิ้มเครื่องคิดเลขคำนวณรายจ่ายผู้หญิงที่ต้องจ่ายเงินซื้อผ้าอนามัยทุกเดือน
เคาะตัวเลขออกมาให้เห็นชัด ๆ โดยคิดจากค่าแรงขั้นต่ำ !??
อยู่ราว ๆ 331 บาทต่อวัน แต่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคกลับสูงขึ้นเรื่อย ๆ และผ้าอนามัยก็เป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือนของผู้หญิง เฉลี่ยอยู่ที่ 350 - 400 บาทต่อเดือน
โดยตัวเลขนี้คำนวณจากจำนวนผ้าอนามัยที่ควรเปลี่ยนทุก 4 ชั่วโมง ขณะที่ผู้หญิงเป็นประจำเดือน 3 - 7 วัน
นั่นหมายความว่า..ผู้หญิงจะต้องทำงานเพิ่มอีก 1 วัน เพื่อให้มีค่าแรงต่อเดือนเท่ากับผู้ชาย
และถ้าบวกค่าใช้จ่ายผ้าอนามัยทั้งชีวิต คนวัยประจำเดือนระหว่าง 10 - 50 ปี ต้องสูญเสียเงินออมสูงถึง 192,000 บาท
ทำให้ผู้หญิงที่มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงผ้าอนามัย เป็นปัญหาปากท้องรุนแรง หรือที่เรียกกันว่า Period Poverty !! --//--
สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดการนี้เลยค่ะ
เฟซบุ๊กพรรรคเพื่อไทย
.
ผ้าอนามัยฟรี..จึ้งมากแม่ !!
เรื่องและภาพ : WhoChillDay
7 มีนาคม 2565
ขอบคุณที่เข้ามาติดตามอ่านทุกเรื่องราว
และทักทาย WhoChillDay นะคะ
Credit
#WhoChillDay #breakthebias #IWD2022
#วันสตรีสากลโลก #เพื่อไทย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา