7 มี.ค. 2022 เวลา 13:55 • หนังสือ
#ห้อเงเรียนนักเขียน
“ออกทะเลทำยังไงดี” เรื่องชวนปวดหัวของนักเขียน
#อาการออกทะเลเป็นยังไง
อาการออกทะเลคือ การบรรยายไปเรื่อย ๆ โดยหาจุดสิ้นสุดของเรื่อง หรือหาจุดจบให้แต่ละตอนไม่ได้ ฉากที่ใส่ลงไปมีการบรรยายเยอะเกินไป หาเนื้อไม่เจอ​ เจอแต่น้ำ นอกจากทำให้นักอ่าน อ่านแล้วเบื่อ ไม่มีความรู้สึกร่วม อาจจะทำให้นักเขียนเองหมดไฟไปได้ง่าย ๆ เช่นกัน
#เกิดเพราะอะไร
อาการนี้จะเกิดก็ต่อเมื่อเราไม่มีการวางโครงเรื่อง ซึ่งการวางโครงเรื่องเราไม่จำเป็นต้องวางละเอียดมากก็ได้ และไม่จำเป็นต้องดำเนินตามโครงเรื่องทั้งหมด แต่ย่างน้อยการมีโครงเรื่องจะทำให้เราไม่หลงทาง
การวางโครงเรื่องง่าย ๆ อาจจะแค่มี ธีม โทนเรื่อง ตัวละคร สถานที่ จุดเริ่มต้น จุดจบ ทรีทเม้นต์ (แบบหลวม ๆ ก็ได้ อย่างน้อยเพื่อให้เรามีแนวทางในการดำเนินเรื่อง)
เช่น เราบอกว่า เราอยากไปเที่ยวจัง ถ้าเราพูดแค่นี้แล้วขับรถออกไป รู้ไหมจะเกิดอะไรขึ้น เกิดการขับรถวนไปวนมา ว่าฉันควรจะไปที่ไหนดี เปลืองน้ำมัน เปลืองเวลาเพิ่ม สุดท้ายแล้วเราจะคิดว่ากลับบ้านดีกว่า
แต่ในทางกลับกันถ้าเราบอกว่าอยากไปเที่ยวทะเล เราก็จะรู้แล้วว่าที่ไหนมีทะเล ง่ายกว่ากันเยอะมากเลย สุดท้ายเราถึงจะคิดต่อได้ว่า ฉันมีเวลาแค่วันเดียว งั้นฉันไปใกล้ ๆ อย่างหัวหินก็พอ ไปเช้าหน่อย แล้วเย็น ๆ ค่อยกลับ
พอพูดมาถึงตรงนี้เราจะเห็นความต่างตัวอย่างแรกและตัวอย่างที่สองได้ชัดเจนขึ้น
นิยายเราก็เช่นกัน หากเราไม่วางโครงเรื่องบ้าง ออกทะเลยิ่งทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายกว่าการยอมวางโครงเรื่องเยอะมาก
#วิธีแก้
วิธีแก้ได้บอกไปคร่าว ๆ แล้วก็คือ การวางโครงเรื่องนั่นเอง วางแบบหลวม ๆ ก็ได้ หากนึกอะไรได้หรืออยากเปลี่ยนบทบางบท ก็จะไม่เป็นปัญหา เพราะเราได้วางโครงเรื่องไว้แล้ว เปลี่ยนส่วนไหน เพิ่มส่วนไหน กระทบส่วนไหน เราจะสามารถมองเห็นได้หมด
ถ้าไม่อยากออกทะเล ยอมแลกกับเวลาอีกสักนิดกับการวางโครงเรื่อง​ (ลองกลับไปดูข้อบนนะคะ​ เราไม่จำเป็นต้องวางละเอียด​ แต่ทุกข้อควรมีข้อมูล)​ รับรองว่าเรื่องที่ออกมาจะไม่ออกทะเล ไม่หมดไฟเขียน และอย่ากังวลถ้าไม่เป็นไปตามโครงจะทำยังไง เพราะถ้าเขียนจริงอารมณ์ไม่ถึงก็แค่เปลี่ยนส่วนบางส่วน แต่เราจะไม่หลงทางแน่นอน
ลองนำวิธีที่แนะนำไปปรับใช้กันนะคะ รับรองว่ามีประโยชน์ต่อทุก ๆ แน่นอน
เพื่อนๆ สามารถเข้ามาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในช่องทางอื่นๆ​ ได้ที่
.
โฆษณา