8 มี.ค. 2022 เวลา 02:58 • ศิลปะ & ออกแบบ
อาชีพนักออกแบบผลิตภัณฑ์ เริ่มเป็นที่พูดถึงตั้งแต่ช่วงปี 1800 แต่อาจจะไม่ชัดเจนมากนัก ในช่วงนั้นนักออกแบบจะมาในรูปของนักคิดนักประดิษฐ์ที่พยายามค้นหาหนทางที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองทั้งผู้บริโภค และตอบสนองเทคโนโลยีการผลิตไปพร้อมๆกัน หรือพูดง่ายๆคือ ออกแบบสินค้าที่มีประโยชน์และสามารถผลิตในจำนวนมากๆได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือหัวใจที่ทำให้เกิดความ “มั่งคั่ง” จากการขายสินค้าเหล่านั้น จึงมีนักคิดมากมายที่พยายามลงมาหาวิธีสร้างสรรค์สินค้าและออกแบบอะไรใหม่ๆอยู่เสมอ
ในช่วงแรกๆจะเน้นไปที่การทำอย่างไรให้ผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในจำนวนมาก เช่นการคิด standard part ของ Eli Whitney ที่พยายามคิดให้ปืนถึงแม้จะถูกผลิตจากคนละบริษัทแต่ยังสามารถใช้ part ที่เป็น standard ร่วมกันได้ทำให้เวลาไปสงครามก็ไม่ต้องกลัว หาก part ใดเสียก็ไปหยิบปืนกระบอกอื่นๆ ถอด part ชิ้นส่วนนั้นออกมาใส่แล้วใช้งานต่อ หรือ เรื่องราวของ Frederick W. Taylor ที่วิจัยการทำงานของคนในสายการผลิตแล้วค้นหาวิธีที่จะทำอย่างไรให้มนุษย์สามารถผลิตสินค้าได้คุณภาพในเวลาที่ลดลง ซึ่งเป็นที่มาของการลดต้นทุนแรงงานมนุษย์ และการตอกบัตร ที่ McDonal นำมาใช้ในการผลิต hamburger หรือ Henry Ford ที่คิดระบบสายพานการผลิตรถยนต์ ทำให้การผลิตรถ 1 คันใช้เวลาลดลงมหาศาล ลดต้นทุนการผลิตรถ model T จาก $800 usd มาเหลือเพียง $300 usd และทำให้ Ford มั่งคั่งร่ำรวยมากในยุคนั้น เนื่องจากต้นทุนที่ลดลง ทำให้กำไรมากขึ้นตาม
วันนี้ Class A Solution จะขอเล่าถึง Jonathan Ive นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยชุบชีวิต Apple ให้กลับมายิ่งใหญ่ ร่วมกับ Steve Jobs เรามาลองดูแนวความคิดที่อยู่เบื้องหลัง iMac iPod iPhone iPad หรือ Apple Watch ที่ใครหลายๆคนต่างก็อยากเป็นเจ้าของไม่ว่าจะชื่นชอบจากดีไซน์ หรือระบบปฏิบัติการของ Apple ก็ตาม
คลิ๊กรูปเพื่ออ่านต่อ
สนใจบทความเกี่ยวกับงานออกแบบอื่นๆสามารถไปอ่านต่อที่ : https://www.class-a-solution.com/blog
Jonathan Ive หรือ Jony Ive (จอนนี่ ไอฟ์) บุคคลผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Apple อดีตประธานฝ่ายการออกแบบของบริษัท Apple และเป็นผู้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ของ Apple จำนวนมากไม่ว่าจะเป็น iphone,ipod,ipad,apple watch และอีกมากมาย
Johny Ive ฉายแววความเป็นสุดยอดนักออกแบบมาตั้งแต่เรียน Industrial Design ที่ Newcastle Polytechnic เป็นนักศึกษาเพียงคนเดียวที่ออกแบบแม้กระทั่ง น๊อต หรือ สกรู ที่จะต้องเอามาใช้ ใน ผลิตภัณฑ์ที่เค้าออกแบบ การใส่ใจในรายละเอียดขั้นสุด ทำให้เค้าโดดเด่นกว่าเพื่อนนักออกแบบในรุ่นเดียวกันอย่างมาก จนกระทั่ง ได้ร่วมงาน กับ Apple ในช่วงปี 92 หลังจากที่ Apple ยกเลิกสัญญากับ Frog Design แล้วตั้งทีม Apple Industrial Design Group ขึ้นมาเองโดยช่วงนั้น Apple เชื่อว่าการมีทีมนักออกแบบเป็นของบริษัทเองจะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ตรงโจทย์กว่าและดีกว่าการใช้ Studio ออกแบบจากข้างนอก
ในช่วงแรกของ Ive ต้องเจอกับอุปสรรคมากมายในทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ Apple ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดจาก team engineer ที่หลีกเลี่ยงที่จะทำอะไรใหม่ๆ หรือ การที่ผลิตภัณฑ์ของ Apple ยังคงผูกอยู่กับ Snow White Design language ที่สร้างโดยทีม Frog Design จนทำให้ Ive คิดที่จะลาออกจากบริษัทอยู่หลายครั้ง จนกระทั้ง Steve Jobs กลับมา
อย่างที่เรารู้กันว่า Jobs ได้เปลี่ยนโฉม Apple ทันทีที่กลับมาและให้ความสำคัญกับ Design Team เป็นอย่างมาก หนึ่งใน Activity แรกๆที่ Jobs ทำเลยคือ การให้ทุกคนใน Apple เอา โปรดักที่ตัวเองกำลังพัฒนาหรือ R&D มา Pitch ให้ Jobs ฟังแล้ว Jobs ก็ฟันธงทันทีว่าโปรดักไหนควรหยุดและโปรดักไหนควรไปต่อทันทีแบบไม่ให้เสียเวลา เรียกได้ว่ารื้อโครงสร้าง SKU ของ Apple กันใหม่แบบพลิกกระดาน Jony Ive เริ่มเป็นเหมือน Designer คู่กายให้ Jobs โดย Jobs จะทุ่มเวลาส่วนใหญ่ให้กับทีมพัฒนาโปรดัก เพื่อให้แน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ Apple ที่ปล่อยสู่ตลาด จะต้องดี และต้องเป็นที่ต้องการของทุกคน
ในช่วงนั้น Jony Ive ได้เสนอ Design Language ใหม่ทันที โดยเล่นกับความโปร่งใสและโปร่งแสงแทนที่จะยึดติดกับ Show White แบบในช่วง 80s และแน่นอน ภายใต้การนำของ Jobs การทำอะไรใหม่ๆที่ท้าทายตลาดเป็นสิ่งที่ Jobs ให้ความสำคัญเสมอ
ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ออกจากการทำงานร่วมกันระหว่าง Jobs และ Design team คือ iMac G3 เรียกว่าเป็นการฉีกผลิตภัณฑ์ของ Apple และวงการ IT ในยุคนั้นอย่าง ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ ที่สดใสขึ้น วัสดุกึ่งใส translucent โพลีคาร์บอเนท ที่เป็นวัสดุชนิดเดียวกับไฟหน้ารถยนต์ภายใต้สี "Bondi Blue" ที่ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกแบบหา Snow White กันไม่เจอเลยทีเดียว และ ที่สนุกที่สุดเป็นครั้งแรก ที่เอา “ที่จับ” ไปใส่ไว้ให้คอมพิวเตอร์ เหมือนตระโกนดังๆให้ทุกคนได้ยินว่า “มาจับฉันสิ” เป็นมุมมองการออกแบบที่เชิญชวนให้ User อยากจะสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ แบบที่โลก IT ไม่เคยทำมาก่อน และแน่นอน มัน Friendly ขึ้นทันที บอกลาคอมพิวเตอร์ ทึบๆตันๆเก๊กๆ ไปเลยทีเดียว
ในความใสนี้ มันท้าทายมากในมุมของนักออกแบบ ที่จะต้องออกแบบ อุปกรณ์ วงจร สายไฟ คอนเนคเตอร์ ที่อยู่ภายในตัวเครื่องให้ดูดีด้วยเช่นกัน แน่นอน Ive ก็ได้จัดเต็ม และโชว์พลังของนักออกแบบให้โลกใด้รับรู้กับ iMac G3 แต่ที่เราไม่ควรมองข้ามคือ การที่ Jobs ให้ความสำคัญกับงานออกแบบไม่แพ้งานฝั่ง engineer จึงทำให้เกิดผลงานชิ้นนี้ได้เช่นกัน เพราะการที่จะทำให้วงจรข้างในดูดีได้ Engineer ก็ต้องยินยอมที่จะทำงานร่วมกับ นักออกแบบ อย่างไม่มีข้อแม้ และพัฒนาไปพร้อมๆกัน หากมองย้อนกลับไป การตัดสินใจ สร้างทีมออกแบบ in House ของ Apple ก็มาให้ผลตอบแทนที่คุ้มค้านี้ จากธุรกิจที่ต้องไปกู้เงินมาเพื่อฟื้นฟูกิจการ สู่ยอดขาย iMac G3 5 ล้านเครื่อง ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่อยู่ในท้องตลาด
ตั้งแต่ iMac G3 Ive กับ Jobs ได้ปล่อยผลิตภัณฑ์เปลี่ยนโลกอย่าง iPod เครื่องเล่นเพลงแบบพกพาที่แทบจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างใน Apple เลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ทาง Jonathan Ive ยังบอกไว้อีกว่าดีไซน์ของ iPod ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากวิทยุพกพา Braun T3 pocket radio ที่ออกแบบโดย Dieter Rams แถมเขายังนับถือ Rams เป็นไอดอลของเขาอีกด้วย
ซึ่งแน่นอนการฉีกกฏ Design Language เดิมที่ตัวเองสร้างไว้กับ iMac มาเป็น Design ที่แฝงไปด้วยปรัชญาการออกแบบสุด minimal ของยุคสมัย “Less but Better” หากลองจินตนาการว่าคุณกำลังเดินไปบอกทีมการตลาดว่าให้เลิกผลิตสินค้าขายดี (iMac G3) เลิกใช้สีสันสดใส กับวัสดุโปร่งแสง แล้วลองหันมาทำอะไรเรียบๆ เพลนๆ ทึบๆ คุณคิดว่าจะมีบริษัทไหนกล้าเสี่ยงกับคุณ แต่ Apple ภายใต้ Steve Jobs ไม่เป็นอย่างนั้น iPod ภายใต้ Design Language ใหม่ก็พิสูจน์ตัวเองทันทีโดยการพลิกวงการเครื่องเล่นวิทยุพกพาไปตลอดการ
อ่านบทความเกี่ยวกับ Dieter Ram ได้ที่ link นี้ : https://www.blockdit.com/posts/61c872adb2ac56873687b5c6
หลังจากที่สร้าง iPod ขึ้นมามากมาย Ive ก็ยังรู้สึกว่า ยังอยากได้ดีไซน์ที่เรียบหรูและทันสมัยกว่านี้อีก! iPhone สมาร์ทโฟนเครื่องแรกก็ถือกำเนิดขึ้น การออกแบบที่เหมือนไม่ได้ออกแบบ ก้อนสี่เหลี่ยมสีดำที่มีปุ่มเพียงปุ่มเดียวก็มาเขย่าวงการโทรศัพท์มือถือ ทันที ลองนึกย้อนกลับไปในช่วงเวลานั้น โทรศัพท์ต้องมีปุ่มมากมายแต่ iPhone กลับออกมาแล้วบอกว่าปุ่มนั้นมันไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้วก็เอามันออกจากมือถือทันที การนำสัจจะวัสดุมาใช้ หรือ ปรัชญาของ Dieter Ram ที่ “Good Design is Honest” กระจกเป็นกระจก โครงสร้าง Aluminum ก็เผยความเป็น Aluminum ให้ User ได้เห็นและสัมผ้สโดยไม่ต้องมีสีมาขั้นวัสดุ ก็เกิดขึ้น ฉีกกฎการพยายามลดต้นทุนของทุกค่ายมือถือ ด้วยการที่ iPhone ใช้พลาสติกเป็นส่วนน้อย หน้าจอสัมผัสพร้อมกับระบบ ios ของ Apple ได้เริ่มต้นเปลี่ยนโลกทันทีและยังคงอยู่ในโลกของเรา ณ เวลานี้
ในส่วนของงานออกแบบ industrial design iPhone gen1 ภายใต้ความเรียบง่ายที่เราเห็น แฝงไปด้วยการแก้ปัญหาเรื่อง form อย่างลึกซึ้ง ชิ้นส่วน Aluminum ด้านหลังของมือถือที่เหมือนจะเป็นการลบมุมธรรมดาๆ นั้นเกิดจากการใช้ technique ในการ ขึ้น 3D ที่เรียกว่า Tangency ที่ถูกใช้ในการเชื่อมต่อพื้นผิวของผลิตภัณฑ์ ให้ smooth และเกิด Highlight หรือเส้นแสง ที่เชื่อมต่อกันแบบไม่มีกระตุก
หากเรานำ iPhone ไปส่องกับไฟ highlight จะวิ่งรอบผิวของ iPhone โดยไม่มีการกระตุกเกิดขึ้นเลย ซึ่งจะเป็น Standard เดียวกับการทำ 3D ในวงการรถยนต์ ดีไซน์เนอร์ 1 คนใน team ของ Apple จะมี 3D โมเดลเลอร์ ประกบเสมออย่างน้อย 2 คน เพื่อคอยช่วยแก้ปัญหาเรื่อง Surface กับ form อยู่ตลอดเวลา และ technique tangency ที่ใช้นี้ ทำให้ iPhone สามารถดูบางลงได้ด้วยเช่นกัน ซึ่ง โมเดลเลอร์ที่จะเข้าไปอยู่ใน iPhone ได้ต้องผ่านการทดสอบ ใน skill การทำ Tangency และการเชื่อม surface บน 3D program (Alias Studio)
ก่อนที่ Steve Job จะเสียชีวิต 1 ปี ทาง Apple ก็ได้เปิดตัว iPad ออกมาในปี 2010 ด้วยรูปทรงที่เพรียวบาง มาพร้อมกับหน้าจอสัมผัสขนาด 9.7 นิ้ว เป็นแท็บเล็ตที่เรียกว่า ปฏิวัติวงการอีกครั้ง แม้กระทั่งในปัจจุบันถ้าเราอยากได้แท็บเลตหน้าจอใหญ่ๆ สำหรับทำงานและพกพาสะดวก ก็คงมีเจ้า iPad อยู่ในลิสต์รายการที่อยากได้แน่ๆ
หลังจากที่ Jobs เสียชีวิตสักพัก Ive ได้ผันตัวมาดูแลในส่วนของ user interface ให้กับ Apple หรือการออกแบบหน้าตาของซอร์ฟแวร์ ควบคู่ไปกับงานออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้วยการทำดีไซน์ให้โมเดิร์นขึ้นและใช้โทนสีสบายตา ระบบปฏิบัติการ ios7 เปิดตัวเมื่อปี 2013 จะเห็นได้ว่า user interface หรือส่วนที่ผู้ใช้ใช้งานไม่ว่าจะเป็น หน้าจอ แพลตฟอร์ม เมนู ปุ่ม แป้นพิมพ์ ขนาดตัวอักษรและอื่นๆ ภายใน ios7 ที่มีความงามมากขึ้นและเป็นต้นแบบให้กับการดีไซน์ user interface ของ Apple ชิ้นอื่นๆต่อมา
ปิดท้ายด้วย Apple Watch ที่สามารถเชื่อมต่อกับ iPhone เพื่อควบคุมการใช้งาน หรือบอกข้อมูลชีพจรได้บนข้อมือเรา ซึ่ง Jony Ive ยังบอกอีกว่า การทำ Apple Watch เป็นการทำงานที่ยากที่สุดตั้งแต่เข้ามาทำงานกับ Apple
หากมองผิวเผิญเราจะเห็นสี่เหลี่ยมลบมุมและหน้าปัดที่มีขอบโค้ง คนทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นการขึ้น 3D กล่องสี่เหลี่ยม แล้วกดลบมุมง่าย ๆ ในความเป็นจริงแล้วกลับไม่เป็นอย่างนั้น Apple Watch สร้างเส้น กรอบสี่เหลี่ยมลบมุมด้วยพื้นฐาน Tangency ก่อนที่จะมาปิดผิว Surface ที่แทบจะมองไม่เห็นรอยกระตุกของ Highlight หรือเส้นแสงเลย ผ่านการทำ Prototype เพื่อลองผิดลองถูกกับ การลบมุมด้วย เทคนิค tangency อย่างนับไม่ถ้วน เพื่อให้อุปกรณ์ electronic ถูกแปลงร่างเป็นสินค้า luxury เช่น นาฬิกาข้อมือได้อย่างสมศักดิ์ศรี และเจ้า interface ที่แทบจะต้องรื้อระบบใหม่ทั้งหมด ก็ทำให้ทีม Developer ไม่ต้องหลับไม่ต้องนอนกันเป็นปีๆ กว่าที่ Apple Watch จะเปิดตัวสู่ตลาด
ปัจจุบัน Ive ได้แยกทางกับ Apple แล้วมาตั้ง Design Firm ชื่อ LoveFrom ในปี 2019 เราคงอาจจะได้เห็นผลงานของ Ive ต่อๆไปเร็วๆนี้
สามารถติดตามและอ่านบทความเกี่ยวกับการออกแบบได้ที่: https://www.class-a-solution.com/blog
โฆษณา