เพราะเพศสภาพไม่ใช่ตัวกำหนดความสามารถในบทบาทหน้าที่ของการทำงาน และในวันนี้ เราเริ่มเห็นผู้หญิงในตำแหน่งระดับสูง หรือมีอำนาจตัดสินใจอยู่ในระดับหัวแถวขององค์กรในหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยในโอกาส International Women’s Day หรือวันสตรีสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมนี้ Tech By True Digital จึงขอร่วมเชิดชูผู้หญิงทุกท่านที่ได้กรุยทาง ก้าวข้ามขีดจำกัด ต่อสู้กับมายาคติทางเพศที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สร้างเวทีสำหรับอนาคตให้ผู้หญิงด้วยกัน ทำให้เกิดความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อโลกที่ดีกว่า และเท่าเทียม ตามแคมเปญ #BreakTheBias ของวันสตรีสากลในปีนี้ โดยได้หยิบยกเรื่องราวของนักคิด นักพัฒนาหญิงเบื้องหลังความสำเร็จของเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราในแง่มุมต่าง ๆ 8 ท่าน ดังนี้
★
Fei-Fei Li - นักวิจัยและพัฒนา AI ผู้ขจัดอคติบนโลกปัญญาประดิษฐ์
1
Fei-Fei Li เป็นศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัย Standford สหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ระดับแนวหน้าของโลก โดยเป็นผู้สร้าง ImageNet (Image-Net.org) ที่เป็นฐานข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาหรือ ‘สอน’ ให้คอมพิวเตอร์สามารถจดจำภาพและแยกแยะวัตถุจากภาพ รวมถึงข้อมูลเชิงลึกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
เธอเคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายปัญญาประดิษฐ์ของ Google Cloud ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการซึ่งเป็นที่ยอมรับในแวดวง AI มากมาย อาทิ AutoML สำหรับใช้ในการเทรน AI ให้ทำงานเฉพาะทางได้อย่างง่ายดาย ก่อนจะลาออกเพื่อมาทำงานวิจัยและพัฒนาที่ Stanford Human Centered AI Institute โดยมีโปรเจกต์สำคัญคือ การสร้างอัลกอรึธึมที่ชาญฉลาดด้วยความไวเทียบเท่ามนุษย์ และที่สำคัญคือ การลดอคติใน AI ที่ถูกสร้างและถ่ายทอดโดยมนุษย์ ถือเป็นโปรเจกต์ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตมนุษย์ในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะในวันที่ AI เข้ามามีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา แม้ในมุมที่มองไม่เห็น
Fei-Fei Li เชื่อว่า AI กำลังกำหนดโลกของเรามากขึ้นทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตั้งแต่การตัดสินว่านักโทษประเภทไหนจะได้ผ่อนผันโทษ ควรส่งลูกเข้าโรงเรียนไหน ผู้สมัครคนใดควรถูกจ้างมาทำงานนี้ หรือแม้กระทั่งการจ่ายยาให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ใช้ AI เข้ามาช่วยทำงาน ซึ่งอคติบน AI นั้นมีอยู่จริง เพราะแม้อัลกอริธึมที่ขับเคลื่อนปัญญาประดิษฐ์อาจดูเหมือนเป็นกลาง แต่ข้อมูลและแอปพลิเคชันที่กำหนดผลลัพธ์ของอัลกอริธึมเหล่านั้นยังคงเป็นสิ่งที่มนุษย์ป้อนให้ และหากมนุษย์ที่ควบคุมมีภูมิหลัง ประสบการณ์และทัศนคติที่ไม่หลากหลายเพียงพอ การป้อนข้อมูลเพื่อกำหนดผลลัพธ์ของปัญญาประดิษฐ์ก็อาจเกิดความลำเอียงได้
อาทิ การอนุมัติสินเชื่อด้วย AI ที่ไม่เป็นธรรมกับคนผิวสี เพราะเกิดจากการฝึก Neural Network ใน AI ที่ออกแบบระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ให้เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ที่มีประสบการณ์จดจำใบหน้ามนุษย์ที่เป็นคนผิวขาวเท่านั้น ส่งผลให้เกิดการสร้างแบบจำลองที่ไม่เป็นธรรมกับคนผิวสี เมื่อทำงานกับคนผิวสี การตัดสินใจของ AI อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เป็นต้น
Joan Ball - ผู้บุกเบิกการแมตช์คู่ออนไลน์ก่อนที่เราจะได้ปัดซ้ายขวา
ก่อนจะมี Tinder, Bumble หรือ OkCupid ให้เราปัดซ้ายขวาเพื่อแมตช์คู่ของตัวเองนั้น บริษัท St. James Computer Dating Service ของ Joan Ball ในสหราชอาณาจักร มีบริการแมตช์คู่จากคอมพิวเตอร์แบบล้ำยุคล้ำสมัยมาตั้งแต่ปี 1964 แล้ว
Joan Ball ถือได้ว่าเป็นผู้คร่ำหวอดในวงการจัดหาคู่ เพราะเริ่มต้นการทำงานในบริษัทจัดหาคู่ ก่อนจะมาเปิดบริษัทเป็นของตัวเองในช่วงปี 1962 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชื่อเสียงของบริษัทจัดหาคู่ถูกพูดถึงไปในทางที่ไม่ดีนัก แต่ Joan Ball ก็ประสบความสำเร็จท่ามกลางชื่อเสียของอุตสาหกรรม และที่ St. James Computer Dating Service นี่เองที่ Joan Ball เริ่มต้นการแมตช์คู่ด้วยคอมพิวเตอร์ ก่อนจะขยับขยายและเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น Com-Pat ที่ย่อมาจาก Computerized Compatibility
mRNA ที่ถูกพัฒนามาอย่างยาวนานในห้องแล็บจนมาถึงวันที่ได้ใช้งานเพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้คนในช่วงเวลาที่ทั้งโลกต่างประสบภัยจากการระบาดของโควิด-19 นั้น จึงนับได้ว่าเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ที่มี Dr. Katalin Kariko เป็นผู้อยู่เบื้องหลังประวัติศาสตร์นี้
★
Elizebeth Smith Friedman - นักถอดรหัสหญิงผู้วางรากฐานการเข้ารหัสสมัยใหม่และการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
The Mother of The Internet ที่มักบอกใครต่อใครว่า ‘Don’t Call Me The Mother of The Internet’ ผู้เกิดและเติบโตมาในครอบครัววิศวกรที่ทำงานให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ พ่อของเธอเป็นวิศวกรเรดาห์ แม่เป็นนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ในเวลานั้นถูกเรียกว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ แต่แม้ว่าจะมีแม่เป็นโปรแกรมเมอร์ แต่เธอกลับมารู้จักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็เมื่อในช่วงมัธยมปลาย เมื่อโรงเรียนคัดเด็กไปเข้าเรียนกับหลักสูตรพิเศษของมหาวิทยาลัย เธอเริ่มเข้าสู่แวดวงคอมพิวเตอร์ และหาเงินได้จากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อเข้าเรียนที่ MIT ด้วยการเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ห้องแล็บ AI ของ MIT เขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์ระบบ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์
และต่อยอดเรื่อยมาจนได้สร้างผลงานที่ทำให้ใครต่อใครเรียกเธอว่าเป็น The Mother of The Internet ด้วยการพัฒนาอัลกอริธึมหลังบ้านของ Spanning Tree Protocol (STP) เมื่อครั้งทำงานให้กับ Digital Equipment Corporation ซึ่งพยายามแก้ปัญหาการแชร์ไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์ สิ่งที่เธอคิดค้นกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้อินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เกิดขึ้นจริงได้ ผลงานของเธอส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างใหญ่หลวงต่อการวางรากฐานการจัดระเบียบและย้ายข้อมูลของเครือข่ายด้วยตนเอง โครงสร้างพื้นฐานของการรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ และการใช้ Bandwidth อย่างเหมาะสม
Radia Perlman มองว่าอินเทอร์เน็ตไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาด้วยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เหมือนที่ว่าไม่มีเทคโนโลยีเดียวที่สามารถทำให้เกิดอินเทอร์เน็ตได้ แต่มีหลายอย่างประกอบกัน เธออาจเป็นเพียงผู้สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้กับอินเทอร์เน็ต แต่ก็ยังมีอีกหลายเทคโนโลยีและเวลาที่เหมาะสมที่ประกอบร่างให้เป็นอินเทอร์เน็ตได้ในทุกวันนี้ เธอจึงมักพูดเสมอว่าเธอไม่ใช่ The Mother of The Internet