9 มี.ค. 2022 เวลา 07:52 • คริปโทเคอร์เรนซี
“มาเลเซีย” อนาคตใหม่ของศูนย์กลางด้านคริปโต?
เมื่อนักการลงทุนทางด้านการเงิน ผู้คนจะคิดถึงฮ่องกงหรือสิงคโปร์เป็นอันดับต้น ๆ ทั้งสองเมืองมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และแรงงานที่พูดภาษาอังกฤษ
หลายครั้งที่สิงคโปร์ถูกเรียกว่าเป็นศูนย์กลางของคริปโตเคอร์เรนซี เพราะธนาคารกลางแห่งประเทศสิงคโปร์ได้กำกับดูแลครอบคลุมไปถึงเรื่องการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลที่มีความซับซ้อน ในขณะที่ฮ่องกงเน้นการกระจายอำนาจการลงทุนไปยังแหล่งต่างๆ
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมองมาที่ประเทศมาเลเซียที่เคยอยู่ภายใต้จักรวรรดินิยมอังกฤษที่นำระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มาใช้ในการบริหารประเทศไม่อาจถูกแทรกแซงได้ง่ายอย่างฮ่องกง หรือมีชายหาดที่ดีกว่าและค่าครองชีพที่ถูกกว่ากว่าสิงคโปร์
1
ปัจจัยใดที่ทำให้ "มาเลเซีย" ได้เปรียบกว่าประเทศอื่น ๆ
🏛 ด้วยระบบศาลและหลักทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีที่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบที่ให้ความมั่นคงในการเป็นเจ้าของ (Torrens System) มรดกตกทอดมาจากเครือจักรภพที่ไว้ใจที่จะให้ดูแลทรัพย์สินผ่านการสำรวจและลงทะเบียนจากส่วนกลางของรัฐที่ไม่บิดเบือน
รวมถึงตัวกฎหมายที่เรียกว่าคอมมอนลอว์ที่มีอำนาจในการยึดถือคำตัดสินของศาลเป็นสำคัญเป็นปัจจัยระดับต้นที่นักลงทุนคำนึงถึง
นอกจากนี้บริษัทด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีชื่อเสียงอย่าง Fusang ที่ตั้งอยู่ที่ ลาบวน (Labuan Territory) ตั้งแต่ปี 1990
ยกตัวอย่างถึงความเอื้ออำนวยอย่างมากถ้ามาเลเซียเป็นศูนย์กลางการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีที่บริษัทได้ปรับโมเดลธุรกิจในหุ้นดิจิทัลและการเสนอขายพันธบัตร
โดย ซีอีโอ อย่าง Henry Chong กล่าวว่าการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิตอลมีความน่าสนใจมาก ๆ มาเลเซียหรือแม้แต่ในกัวลาลัมเปอร์ไม่มีความซับซ้อนในเรื่องตลาดทุนอย่างในฮ่องกง หรือแม้แต่ CoinGecko ไม่ใช่รายแรกที่มาตั้งในมาเลเซีย
แต่ยังมี CoinMarketCap ที่เข้ามาลงทุนและขยายกิจการในมาเลเซีย ในขณะเดียวกันก็ขยับขยายไปที่สิงคโปร์
💡 ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของมาเลเซียที่จะกลายเป็นศูนย์กลางในการลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีคือการที่ยังไม่มีระบบการเก็บภาษีกำไรจากเงินลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล
🌎 แรงงานในตลาดมาเลเซียจำนวนมากสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างดีเยี่ยม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะดึงดูดนักลงทุนที่มองหาการลงทุนในอุตสาหกรรมเงินแบบไร้ศูนย์กลาง
ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ระบาดอย่างรุนแรงในฮ่องกงเป็นเหมือนแผลร้ายให้กับฮ่องกงแต่ในทางกลับกัน มาเลเซียกำลังได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงแหล่งลงทุน
ในทางสถิติในช่วงการล็อคดาวน์ที่เข้มงวน เดือนมีนาคม 2020 จำนวนคนมากกว่า 76,000 คนได้ย้ายออกจากฮ่องกง จำนวนมากย้ายกลับไปยังยุโรป และอีกจำนวนไม่น้อยเดินทางมายังประเทศไทย และมาเลเซียเพื่อดำเนินกิจการธุรกิจเดิม
นี่เป็นคำถามสำคัญว่า คนที่ย้ายออกจากฮ่องกงจำนวนมานี้จะเดินทางกลับไปฮ่องกงหรือไม่ และธุรกิจหลังโควิดนี้จะทำให้เกิดอุตสาหกรรมแบบไร้ศูนย์กลางอย่างที่เคยเป็นมาหรือไม่?
🚀 ติดตามสาระน่ารู้ และข่าวสารเกี่ยวกับ Digital Asset ได้ที่
1
โฆษณา