9 มี.ค. 2022 เวลา 10:06 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิกฤติเงินเฟ้อ “ตรึงราคาสินค้า” ทางออกที่ไม่ยั่งยืน
สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน เป็นปมร้อนนำไปสู่สถานการณ์สินค้าแพงขึ้นทั่วโลก มองไปทางไหนก็เจอแต่ของแพง ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และราคาวัตถุดิบต่างๆ ก็พร้อมขยับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุสินค้าตพาเหรดขึ้นราคาส่วนทางรัฐบาล เพราะแรงกดดันน้ำมันในตลาดโลกปรับสูงขึ้น เกิดผลกระทบเป็นห่วงโซ่ กระทบต้นทุนค่าขนส่ง และต้นทุนการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ธัญพืชโลกปรับตัวสูงขึ้น โรคระบาดอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) โดยขณะนี้มีผู้ผลิตสินค้าประกาศปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง
ประเด็น “ของแพง” จึงเป็นปมร้อนที่เขย่ารัฐบาลในช่วงนี้ การแก้ปัญหาด้วยวิธีตรึงราคาสินค้า ความคิดเห็นของนักวิชาการส่วนใหญ่มองว่า เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นๆ จะส่งผลไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้
มาตรการตรึงราคาไม่ได้ช่วยอะไร แต่จะกดดันไม่ให้เอกชนผลิตสินค้าออกมา และผู้ประกอบการก็อาจจะต้องปรับตัวจัดการต้นทุน นำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยเหลือ เพราะหากจะทำรายได้ด้านราคาก็อาจจะทำไม่ได้ในภาวะเช่นนี้
แนะนำบรรเทาความเดือดร้อนแบบเจาะจง เช่น กลุ่มรถบรรทุกที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน มาตรการคนละครึ่งเจาะจงผู้ที่เดือดร้อน ขยายสาขาทำร้านธงฟ้าให้ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ เป็นต้น
“ของแพง” ปัญหาแทงใจดำ ของภาครัฐ ทางออกที่ดีต้องมีมุมมองในการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เสริมการรับมือจากปัญหาภายนอกที่ส่งผลต่อไทยได้ในอนาคต หากไม่มองจุดนี้ส่งผลให้ความต้องการในการฟื้นเศรษฐกิจทำได้ยากยิ่งขึ้น
ฉะนั้น ต้องรอลุ้นกันว่า สถานการณ์เช่นนี้ จะออกไข่ของมาตราการอะไรออกมาเป็นการวัดฝีมือของรัฐบาล หากนำข้อเสนอแนะนี้มาปรับใช้ ถือว่าเป็นการบูรณาการทางออกที่ซับซ้อนนี้ได้อย่างยั่งยืน ... แถมได้ใจประชาชนไปเลย สู้ๆ นะครับ
โฆษณา