9 มี.ค. 2022 เวลา 12:54 • การศึกษา
1. สติคือความระลึกได้ ทํางานคู่กับสัมปชัญญะ
2. สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว ความเข้าใจ ตระหนักชัดต่อสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้นว่ามีความมุ่งหมายอย่างไร เป็นอย่างไร จะทําเช่นไรโดยไม่หลงหเข้าใจผิด เป็นรูปแบบของปัญญาที่ใช้ตรวจสอบสติ
3. สมาธิคือความตั้งมั่น ( ของสติและสัมปชัญญะ )
4. ปัญญาคือความรอบรู้มี 3 ระดับ
- สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง การศึกษา
- จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดใตร่ตรอง
- ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา
สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา เป็นองค์ธรรมที่มีความสําคัญเท่ากันหมด ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้ จะทํางานร่วมกัน จึงจะเกิดปัญญาได้ สติจะคอยระลึกถึงสิ่งที่สนใจ มีความรู้สึกตัวต่อสิ่งที่ระลึกและจะคอยตรวจสอบสิ่งนั้น พิจารณาจนเกิดเป็นปัญญาในที่สุด โดยอาศัยกําลังของสมาธิเพิ่มความตั้งมั่นของสติและสัมปชัญญะ เพื่อให้เกิดปัญญาอย่างแจ่มแจ้ง โดยไม่มีข้อสงสัย โดยเฉพาะภาวนามยปัญญา
1
ถ้าขาดความสมดุลของ 4 สิ่ง ปัญญาก็ไม่เกิด ตัวอย่างเช่น
- ถ้ากําลังของสติอ่อน ก็ไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ปัญญาก็ไม่เกิด ( ลืมนึกไม่ออกว่าคิดอะไรอยู่ ขาดสติ )
- ถ้ากําลังสัมปชัญญะอ่อน สติก็จะระลึกถึง แต่ไปไม่ถึงเป้าหมายเพราะขาดความรู้สึกตัว เช่นจะขับรถไปรังสิต แต่ไม่รู้สึกตัวว่าไปผิดทาง
- ถ้ามีสัมปชัญญะนําสติ เช่น ระลึกได้ว่าปวดฉี่จะไปห้องนํ้า แล้วเดินไปถึงห้องนํ้ากลับนึกถึงเรื่องอื่นแทน
- ถ้ามีสตินําสัมปชัญญะ เช่น ระลึกว่าจะไปห้องนํ้าแต่ระหว่างเดินกลับไปห้องนอน
- ปัญญามากไปขาดสติ จะฟุ้งซ่าน เช่นรู้มาก รู้ดีแต่ไม่สามารถเรียบเรียงความคิดให้นําไปใช้ประโยชน์ได้ จะคิดเรื่องอื่นสลับไปมา
- ถ้ากําลังสมาธิอ่อน สติและสัมปชัญญะก็เกิดชั่วคราว ไม่ตั้งมั่น รู้ประเดี๋ยวประเดี๋ยวประด๋าวไม่ต่อเนื่อง
โฆษณา