Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ข่าวชายขอบ
•
ติดตาม
9 มี.ค. 2022 เวลา 14:13 • ข่าว
นักสิ่งแวดล้อมติง กพช. เห็นชอบซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแม่น้ำโขงเพิ่ม เชื่อเพียงแอบอ้างสิงคโปร์แต่คนไทยอ่วม เหตุไฟฟ้าสำรองไทยท่วม
transbordernews.in.th
นักสิ่งแวดล้อมติง กพช. เห็นชอบซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแม่น้ำโขงเพิ่ม เชื่อเพียงแอบอ้างสิงคโปร์แต่คนไทยอ่วม เหตุไฟฟ้าสำรองไทยท่วม
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 เพจ Energ
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 เพจ Energy New Center ของกระทรวงพลังงาน เผยแพร่เอกสารข่าวระบุคำให้สัมภาษณ์ของนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ที่ระบุถึงผลการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ว่ามีมติเห็นชอบอัตราค่าไฟฟ้าของโครงการหลวงพระบาง 2.8432 บาท/หน่วย กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบ (COD) เดือนมกราคม 2573 และโครงการปากแบง 2.9179 บาท/หน่วย กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบ (COD) เดือนมกราคม 2576 โดยอัตราค่าไฟฟ้าค่าไฟฟ้าดังกล่าวจะคงที่ตลอดอายุสัญญา
นายกุลิศกล่าวว่าได้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิดแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ลงนามในร่าง Tariff MOU โครงการหลวงพระบาง และโครงการปากแบง ที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว และให้ กฟผ. สามารถปรับปรุงเงื่อนไขในร่าง Tariff MOU ของโครงการหลวงพระบาง และโครงการปากแบง ในขั้นตอนการจัดทำร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้า
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบอัตราค่า Wheeling Charge ของไทยและหลักการร่างสัญญา Energy Wheeling Agreement (EWA) โครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปประเทศสิงคโปร์ ผ่านระบบส่งของประเทศไทยและมาเลเซีย (LTMS – PIP) ในอัตราเท่ากับ 3.1584 US Cents/หน่วย ระยะเวลาโครงการ 2 ปี โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้ กฟผ. ลงนามในร่างสัญญา EWA โครงการ LTMS – PIP ที่ผ่านการพิจารณาจาก อส. แล้ว ทั้งนี้ หาก อส. และ กพช. มีความเห็นให้แก้ไขร่างสัญญา EWA โครงการ LTMS – PIP ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญาเห็นควรให้ กฟผ. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้
ด้านนายมนตรี จันทวงศ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง กล่าวว่าโครงการรับซื้อไฟฟ้าไปยังสิงคโปร์ระยะเวลาโครงการ 2 ปีนั้น เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากสัญญาสัมปทานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ามีอายุถึง 29-30 ปี เท่ากับเป็นการใช้สิงคโปร์เป็นข้ออ้าง แล้วหลังจากนั้นไฟฟ้าที่เหลือหลังจาก 2 ปี ใครจะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้า ภาระนี้ใครจะรับผิดชอบ ซึ่งอาจเป็นภาระของเราประชาชนชาวไทย ซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้าต่อไป ปัจจุบันภาระค่าไฟฟ้าของผู้บริโภคก็อยู่ในระดับสูงมากแล้วเนื่องจากสัญญาการรับซื้อไฟฟ้าที่ผูกพันในระยะยาว นอกจากนี้การขยายสายส่งไฟฟ้าไปยังมาเลเซีย เป็นการใช้ที่ดินของประชาชนไทย เพื่อผ่านไฟฟ้าไปให้ประเทศอื่น จะยังเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นประโยชน์ของกฟผ. ความชอบธรรมนี้ควรได้รับคำอธิบาย
นางสาวเพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการรณรงค์ประเทศไทย องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวว่าโครงการเขื่อนปากแบง และเขื่อนหลวงพระบาง ไม่มีความจำเป็นในการก่อสร้างเนื่องจากปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศไทยอยู่ในปริมาณสูงมาก กำลังผลิตในระบบไฟฟ้าเดือนมกราคม 2565 เท่ากับ 46,136 เมกะวัตต์ (MW) ในขณะที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของเดือนเดียวกันอยู่ที่เพียง 26,688 เมกะวัตต์ เท่ากับว่าประเทศไทยมีปริมาณไฟฟ้าสำรองสูงมาก การรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในสถานการณนี้มีเหตุผลอื่นหรือไม่ เหตุใดกพช. จึงต้องเร่งรัดร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
“โครงการเขื่อนหลวงพระบาง กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำการศึกษาผลกระทบต่อเมืองมรดกโลก Heritage Impacts Assessment ตามข้อกำหนดของยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ นอกจากนี้มีความเป็นห่วงเรื่องผลกระทบซ้ำซ้อนด้านสิ่งแวดล้อมต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเขื่อนแม่น้ำโขง ได้ทำลายความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ปลา การประมง เศรษฐกิจท้องถิ่น และน้ำประปาของเทศบาลและเมืองต่างๆ ตลอดลำน้ำ” น.ส.เพียรพร กล่าว
แม่น้ำโขง
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย